ผู้เขียน หัวข้อ: มหันตภัย "30 บาทรักษาทุกโรค"  (อ่าน 2425 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
มหันตภัย "30 บาทรักษาทุกโรค"
« เมื่อ: 14 สิงหาคม 2012, 23:38:52 »
   เมื่อวานนี้ได้อ่านข่าวว่า”วิทยาเพิ่มสิทธิประชาชน เปลี่ยนสถานพยาบาลได้ปีละ 4 ครั้ง”(1) และในรายละเอียดของข่าวบอกว่า จะเริ่มให้ประชาชนร่วมจ่าย 30 บาทในวันที่ 1 เดือนกันยายน แต่ก็จะมีการยกเว้นประชาชนที่ไม่ต้องร่วมจ่ายอีก 21 ประเภท ซึ่งประเภทหลลังสุดนี้ จะเป็นใครก็ได้ที่ไม่อยู่ใน 20ประเภทข้างต้น แต่ไม่ขอจ่ายเงิน

การสั่งการของรมว.สาธารณสุขนั้น สั่งการในตำแหน่งประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ทราบว่าเป็นมติของที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่? เพราะถ้าไม่ใช่มติของคณะกรรมการหลักประกัน คำสั่งนี้ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การสั่งให้ประชาชขนร่วมจ่ายเงิน 30 บาท มีข้อยกเว้นมากมาย คงจะทำให้เจ้าหน้าที่การเงินของโรงพยาบาลมีความลำบากและสับสนวุ่นวาย เสียเวลาชี้แจงกับประชาชน และคงจะเป็นแค่คำสั่งที่ไม่มีคนปฏิบัติตาม เพราะประชาชนที่ยากจนก็คงไม่มีเงินจ่ายอยู่แล้ว ส่วนประชาชนที่ไม่ยากจน แต่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ที่จะไม่จ่ายเงินตามข้อยกเว้นที่ 21 ก็คงจะไม่ยอมจ่ายเงินซะเป็นส่วนมาก

เพราะฉะนั้นคำสั่งของนายวิทยา บุรณะศิริ ก็คงเพื่อ “รักษาหน้าของตัวเองไว้” เพราะเคยประกาศในตอนหาเสียงว่าพรรคเพื่อไทยจะนำระบบการเก็บเงิน 30 บาทมาใช้อีก ก็เลยต้องสั่งว่าให้เก็บ 30 บาท แต่กลัวจะเสียคะแนนเสียง ก็เลยยกเว้นคนที่จะไม่ต้องจ่ายทุกคนไว้ด้วย

นอกจากนั้นในข่าวยังบอกว่า ให้เพิ่มสิทธิให้ประชาชนเปลี่ยนหน่วยบริการได้ปีละ 4 ครั้ง แปลว่าอะไร? แปลว่าโรงพยาบาลไหนบริการดีมากเอาใจประชาชนดี ไม่มีปากมีเสียง ก็จะมีประชาชนแห่ไปใช้บริการมาก แล้วระบบการจ่ายเงินให้รพ.นั้น สปสช.จะตามไปจ่ายเงินให้รพ.ตามเวลา หรือจะให้รพ.ตรวจผู้ป่วยไป แต่ไม่มียาจ่าย เพราะไม่มีเงินซื้อยา หรือจะให้รพ.ใช้เฉพาะยาขององค์การเภสัช จะได้ติดหนี้ได้ เพราะเป็นหน่วยงานราชการเหมือนกัน?

   ที่สำคัญก็คือในข่าวบอกว่า บริการไม่มีหยุดพักเที่ยง” แปลว่าอะไร? แปลว่าบุคลาสกรที่ทำงานในโรงพยาบาลทุกคน เป็นเครื่องจักรหรือเป็นอิฐหินดินทราย ที่ไม่มีความเหนื่อยล้า ความหิว และไม่มีชีวิตจิตใจ ผู้เขียนเข้าใจว่านายวิทยา บุรณศิริ คงสั่งการในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้บุคลากรภายใต้การบังคับบัญชาของท่าน ทำงานบริการประชาชนโดยไม่ต้องพักผ่อน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดกฎเกณฑ์ของการทำงานของมนุษย์ทั่วไป แม้แต่เครื่องจักรหรือวัวควายที่เขาใช้ไถนา ก็ยังต้องมีเวลาหยุดพัก แล้วบุคลากรสาธารณสุขไม่จำเป็นต้องหยุดพักเลยหรือไร? หรือจะให้ตีความแบบศรีธนนชัยว่า ตอนเที่ยงไม่ต้องพัก ให้ไปพักตอนบ่ายโมงแทน?

และขอถามนายวิทยา บุรณศฺริว่า รัฐมนตรีล่ะมีเวลาพักเที่ยงไหม? ไม่อยากจะถามปลัดกระทรวงสธ.ว่า ไม่บอกรัฐมนตรีหรือว่า สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น บุคลากรของโรงพยาบาลก็ต้องดูแลรับผิดชอบตลอดเวลา 24 ชั่วโมงใน 366วันตลอดปีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมาโฆษณาหาเสียงกับประชาชนหรอกว่า “ผม(รัฐมนตรี เป็นคนสั่งให้พวกมันทำงานตลอดเวลาไม่ต้องพักเที่ยง”

   ในข่าวยังบอกอีกว่าให้รพ.ทุกแห่งพัฒนาความพร้อมให้บริการที่ดีขึ้นทุกด้าน  แต่ไม่คิดว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีหน้าที่ “สร้างสุขภาพ ป้องกันโรค และป้องกันอุบัติเหตุ” เพื่อจะได้มีสุขภาพแข็งแรง จะได้ลดจำนวนคนป่วยที่ต้องมาพึ่งพาการ”ซ่อม”สุขภาพจนล้นโรงพยาบาล และก็เพิ่มแต่สิทธิการรักา ตามใจประชาชนอยากจะมาเอายาเมื่อไรก็ได้ ไปรักษาที่ไหนก็ได้ จะจ่ายเงินค่ายาหรือไม่ก็ได้ ขอยาไปเยอะๆ เพื่อจะได้เก็บยาที่เหลือไว้มาแลกไข่ไปกินเวลาไม่มีกับข้าวกินก็ได้

  ส่วนปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้ที่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุขมานาน ก็ไม่เคยบอกรัฐมนตรีเลยหรือไรว่า การทำเช่นนี้จะทำให้บุคลากรจะแบกรับภาระงานมากขึ้น เห็นในข่าวว่ารัฐมนตรีจะจัดให้มีแพทย์ในรพ.ชุมชนอย่างน้อย 2 คน เพื่อจะได้ทำงานโดยไม่ต้องพักเที่ยงตามการสั่งการของรัฐมนตรีได้

ผู้เขียนโชคดีที่เกษียณอายุราชการก่อนที่จะต้องตกอยู่ใต้การบังคับบัญชาของ “เจ้าขุนมูลนาย” แบบรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงสธ. ถ้าผู้เขียนยังต้องทำงานราชการสธ.อยู่ ก็คงต้อง”ขอมติจากข้าราชการสธ.เพื่อ”สั่ง“ รัฐมนตรีให้ทำงานโดยไม่ต้องพักเที่ยง และสั่งให้ปลัดกระทรวงลองไปรับหน้าที่หมอในรพ.ชุมชน 2 คน ที่ต้องรักษาผู้ป่วยวันละ 300 คน โดยไม่ต้องพักเที่ยงบ้าง คงจะได้รู้รสชาติความเหนื่อยและความหิวบ้าง จะได้คิดทบทวนแก้ไขคำสั่งไม่ให้พักเที่ยงนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นการสั่ง”มนุษย์” บ้าง

  ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็ไม่เคยบอกคณะกรรมการหลักประกันเลยหรือไรว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่ตามมาตรา 18(13)แห่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ที่จะต้อง”จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี”

  ตั้งแต่มีพ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาเป็นปีที่ 11 แล้ว ปรากฏว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังไม่เคยจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจาก “ผู้ให้บริการเลยแม้แต่ครั้งเดียว และไม่เคยรับฟังเสียงท้วงติงใดๆจากผู้ให้บริการทั้งสิ้น ถือว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายจากการที่ไม่มีการปรับปรุงการให้บริการที่เหมาะสมและมีมาตรฐานแก่ผู้ป่วย

  แต่ประชาชนจะรู้ไหมว่า  ระบบ30 บาทรักษาทุกโรคนี้ กำลังก่อให้เกิดมหันตภัยอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชน และมาตรฐานการแพทย์ไทย ดังนี้

1.   รพ.ไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานได้ ทั้งนี้เนื่องจากงบประมาณแผ่นดินใส่เข้าไปเท่าไรก็ยังไม่ทำให้ประชาชนได้รับการรักษาตามมาตรฐานการแพทย์ที่ดีที่สุด เนื่องจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ “จำกัดรายการยา” ให้แพทย์ไม่สามารถสั่ง”จ่ายยา”ได้ตามดุลพินิจทางวิชาการแพทย์เฉพาะทาง(ไม่ต้องเปรียบเทียบกับรพ.ชุมชนหรือรพ.ตำบลที่ส่วนใหญ่แล้ว ต้องการใช้แค่ยาสามัญประจำบ้านขององค์การเภสัชกรรม เพราะใช้รักษาโรคง่ายๆ(ที่ประชาชนก็อาจจะรักษาตัวเองได้ เช่นปวดหัว ตัวร้อน ท้องผูก ท้องเดิน  ฯลฯ)

การจำกัดรายการยาของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงถือเป็นการ”ละเมิดสิทธิผู้ป่วย” และเป็นการ “ละเมิดสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการแพทย์” ซึ่งจะส่งผลกระทบแก่คุณภาพการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยไม่ทุเลาจากอาการป่วย กลายเป็นโรคเรื้อรัง และอาจตายโดยยังไม่สมควรตาย

2.   ประชาชนอาจไม่ได้รับยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษา นอกจากคณะกรรมการหลักประกันฯจะ “จำกัดรายการยา”ไว้เป็นบางชนิดแล้ว ต่อไปประชาชนอาจจะไม่ได้รับยาที่เหมาะสมกับการเจ็บป่วยของตน เนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีเงินซื้อยาไว้รักษาผู้ป่วย เนื่องจากสปสช.จ่ายเงินให้รพ.ล่าช้า และจ่ายเงินไม่ครบตามต้นทุนที่โรงพยาบาลใช้ในการรักษาผู้ป่วย ไม่คุ้มต้นทุนในการรักษาผู้ป่วย ทั้งๆที่งบประมาณแผ่นดินที่จ่ายไปเป็น”กองทุนหลักประกันสุขภาพ” ตั้งแต่พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน เพิ่มจาก 27,612 ล้านบาท มาเป็น107,814 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2555 เพิ่มมากขึ้น 3 เท่าตัวหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 288.35

  ทั้งๆที่งบประมาณแผ่นดินต้องให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมากมายมหาศาลเช่นนี้  แต่หน่วยบริการประชาชนคือโรงพยาบาลและสถานบริการต่างๆ กลับได้รับเงินงบประมาณไม่พอที่จะทำงานได้ มีภาระหนี้สินเป็นจำนวนมากหลายร้อยโรงพยาบาล (2) ต่อไปโรงพยาบาลอาจไม่มียาที่เหมาะสมในการจ่ายให้ผู้ป่วยอีกแล้ว หรืออาจจะต้องจ่ายเฉพาะยาพารา หรืออาจไปเอายาเก่า(ที่แลกกับไข่กลับคืนมาจากประชาชน) มาจ่ายให้ผู้ป่วยแทน ?

3.ประชาชนเสี่ยงอันตรายจากความผิดพลาดของบุลากรทางการแพทย์มากขึ้น เนื่องจากประชาชนไปโรงพยาบาลปีละ 200 ล้านครั้ง แต่แพทย์ที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วยมีไม่ถึง 10,000 คน ที่เหลือก็ไปทำงานบริหาร งานนโยบาย กันหมด แพทย์ที่รักษาผู้ป่วยในรพ.สธ.ต้องทำงานสัปดาห์ละ 90-120 ชั่วโมง โดยเฉพาะศัลยแพทย์ต้องอดนอนยืนผ่าตัดตลอดคืน แต่ในตอนเช้ามีผู้ป่วยฉุกเฉินต้องผ่าตัดอีก ญาติผู้ป่วยจะกล้าเสี่ยงให้แพทย์คนนี้ผ่าตัดอีกหรือไม่? หรือจะเสี่ยงพาผู้ป่วยไปรักษาที่รพ.อื่นที่ห่างกันอีก 100 กม.?

 หรือแพทย์อยู่เวรตรวจรักษาผู้ป่วยมาทั้งคืนแล้ว ตอนเช้ายังต้องมาตรวจรักษาให้บริการผู้ป่วยอีกโดยไม่หยุดพักเที่ยง แล้วจะทำหน้าที่ได้ดีหรือไม่?อาจมีการโมโหหิวกันบ้าง ทำให้พูดจาไม่เข้าหูผู้ป่วย ถูกฟ้องร้องกันอีก แล้วก็อาจจะถูกแพทย์บางพวกที่ไม่ต้องรักษาผู้ป่วยแล้ว กล่าวหาว่าเป็นแพทย์ที่ไม่มีหัวใจความเป็นมนุษย์อีก  ประชาชนทราบบ้างไหม?

และประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่สวมหมวก 2 ใบ ควบ 2 ตำแหน่ง ก็เอาใจประชาชนโดยการให้เลือกว่าจะจ่ายเงินหรือไม่ก็ได้ จะย้ายโรงพยาบาลไปไหนๆตามสะดวกก็ได้ จะไปหาหมอเวลาพักเที่ยงก็ต้องได้ตรวจรักษา โดยพวกหมอไม่ต้องพักเที่ยง มีการ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ประชาชนมากมาย ซึ่งน่าจะได้เสียงจากประชาชนมาก แต่ประชาชนจะได้รับบริการดีมีมาตรฐานหรือไม่ก็ไม่กล้ารับรอง เพราะหมอและพยาบาลเปรียบเหมือนรถเก๋ง แต่นายวิทยา ให้ทำงานแบบรถบรรทุก 10 ล้อที่บรรทุกเกิน 30ตัน และขับตะบึงทั้งวันทั้งคืน

 แต่นายวิทยา ในฐานะรัฐมนตรี เคยคิดจะแก้ไขปัญหาโรงพยาบาลขาดบุคลากร ขาดอาคารสถานที่ขาดเตียงรองรับผู้ป่วย(ต้องปูเสื่อนอนตามระเบียงบ้าง หน้าห้องส้วมบ้าง ) ขาดงบประมาณในการซื้อยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยและจำนวนโรคที่หลากหลายยุ่งยากเพิ่มขึ้นทุกวันไหม? มีแต่เพิ่มภาระงานให้มากๆขึ้นๆ  “โดยที่ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาและไม่ช่วยจัดหาและพัฒนาทรัพยากร (เงิน คน สิ่งของ)ในการทำงานให้เหมาะสมเพื่อบริการประชาชน “

 ผู้เขียนก็จะเฝ้าดูว่า ลาที่ต้องทำงานหนักจะรับน้ำหนักฟางเส้นสุดท้ายได้หรือไม่ หรือยอมก้มหน้าให้เขา “บังคับขับไส”ต่อไป?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
14 สิงหาคม 2555


เอกสารอ้างอิง
1. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099318
2. http://thaipublica.org/2011/09/commission-report/เปิดรายงานกรรมาธิการสาธารณสุข30 กันยายน 2011

mildkoid

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
Re: มหันตภัย "30 บาทรักษาทุกโรค"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2012, 12:53:19 »
ประวัติบาคาร่าในฝรั่งเศส
แม้ว่าต้นกำเนิดที่แท้จริงของบาคาร่าจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่แต่เป็นที่ แน่ชัดแล้วว่ารูปแบบและลักษณะของเกมบาคาร่าที่ใช้เล่นในปัจจุบันมีต้นกำเนิด มาจากประเทศฝรั่งเศส บาคาร่านั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชนชั้นสูงของฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 16 – 17 จากนั้นก็เริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมีการเล่น บาคาร่า ทั้งในบ้านและราชวัง ในช่วงการปกครองของพระเจ้านโปเลียน (Napoleon) มีการเล่นบาคาร่าในคลับการพนันนอกกฎหมายหลายแห่ง แต่ในปัจจุบันการเล่นบาคาร่าในบ่อน คาสิโน กลายเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายไปแล้วที่ประเทศกัมพูชา มีเกมต่างๆที่ได้รับความนิยมแนะนำให้ผู้เล่นได้เลือกเล่นมากมายและด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยผู้เล่นสามารถเล่นผ่านออนไลน์หรือผ่านทาง GclubIphone ได้ที่ Gclub iphone มีเกม คาสิโนออนไลน์ ที่พร้อมให้เล่นได้ตลอด 24 ชม. มีทั้งเกม บาคาร่าออนไลน์แบ่งเป็น Baccarat และ Baccarat Online ที่มีกติกาการเล่นคล้ายกับเกม ป๊อกเด้งออนไลน์ เกม Gclub Online แม้ว่าผู้เล่นจะพิมพ์คำว่า Gclub  ,G club, G club Online ก็สามารถเล่นGclub ได้เพราะเป็นเกมเดียวกัน แต่อาจจะมีเป็นบางครั้งที่ เล่นสล็อตไม่ได้ผู้เล่นก็สามารถเปลี่ยนมาเล่น เกม คาสิโนออนไลน์ แบบอื่นๆแทนได้ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 บาคาร่าเป็นเกม G club ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในคาสิโนเมืองริเวียร่า (Riviera) ของฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีเกมบาคาร่าด้วยกันสองรูปแบบ คือ เชอแมงเดอเฟร์ (ChemindeFer) และ บาคาร่าอันบาค (En-Banque) ข้อแตกต่างของบาคาร่าทั้งสองรูปแบบอยู่ที่ผู้แจกไพ่และจำนวนผู้เล่นในเกม ในบาคาร่าแบบ เชอแมงเดอเฟร์ ผู้เล่นที่วางเดิมพันสูงสุดจะเป็นผู้แจกไพ่และเป็นเจ้ามือ ผู้เล่นที่วางเดิมพันสูงสุดรองลงมาจะเป็นตัวแทนของผู้เล่นที่เหลือในการเล่น แข่งขันกับเจ้ามือ ส่วนในบาคาร่าอันบาค บ่อนจะเป็นเจ้ามือเองและมีดีลเลอร์ทำหน้าที่แจกไพ่ให้ผู้เล่น ลักษณะของโต๊ะเล่นบาคาร่าจะเป็นโต๊ะคู่ที่ออกแบบให้มีที่นั่งสำหรับผู้เล่น ด้านซ้ายและด้านขวาของเจ้ามือฝั่งละห้าคน ผู้เล่นหนึ่งคนจากฝั่งซ้ายและอีกหนึ่งคนจากฝั่งขวาจะเป็นตัวแทนผู้เล่นแต่ละ ฝั่งที่จะเล่นแข่งกับเจ้ามือ  กฎการเรียกไพ่และการอยู่ แต้มทั้งฝ่ายเจ้ามือและผู้เล่นจะเหมือนกันในเกมบาคาร่าทั้งสองแบบ

ขอขอบคุณ http://www.thaihospital.org ที่ให้ความกรุณาในการเผยแพร่