ผู้เขียน หัวข้อ: อุปกรณ์กำจัด "เสียงกรน"  (อ่าน 1039 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
อุปกรณ์กำจัด "เสียงกรน"
« เมื่อ: 10 สิงหาคม 2012, 22:03:02 »
updated: 09 ส.ค. 2555 เวลา 16:59:30 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ภาวะการนอนกรนนอกจากจะส่งเสียงรบกวน ผู้ร่วมห้องนอนแล้ว ยังเป็นสัญญาณอันตรายของโรคภาวะหยุดหายใจจากทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ซึ่งมีด้วยกันหลายสาเหตุจากเพดานอ่อนยาวเกินไป หรือลิ้นใหญ่ทำให้ช่องทางเดินหายใจตีบมากจนเกิดภาวะอุดตัน ขณะที่ร่างกายหลับอยู่นั้นจึงไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกว่าไม่หลับลึก


กรนแล้วหยุดสักพัก แล้วจึงกรนใหม่ จังหวะที่หยุดพักหรือมีเสียงเงียบสักพัก มักจะมีการหยุดหายใจชั่วขณะเกิดขึ้น


ผู้ป่วยจึงไม่สามารถหายใจได้ ถนัด อากาศที่สูดเข้าไปจึงน้อยลง ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจึงทำให้อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง ง่วงนอนในตอนกลางวัน เป็นอันตรายต่อผู้ที่ขับขี่ยวดยานเป็นอย่างมาก


นายแพทย์ปกป้อง อมรวิทย์ ทันตแพทย์ประจำคลินิกประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดลบอกว่า ที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ที่ป่วยเป็นโรค นี้ติดอันดับ 1 ใน 10 โรคที่เป็นกันมากที่สุดภาวะการอุดตันของทางเดินหายใจผู้ป่วยจะไม่รู้เรื่อง จะต้องมีคนที่คอยสังเกตเสียงกรนว่าดังหนวกหูหรือไม่



ทันตแพทย์ประจำคลินิกประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร อธิบายถึงผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้คือ เพศชาย มีอายุมากกว่า 50 ปี ดัชนีมวลกาย (body mass index) มากกว่า 30 และรอบคอกว้างกว่า 17 นิ้ว รวมทั้งมีความดันโลหิตสูง หากใครมีลักษณะหรืออาการดังต่อไปนี้ควรพบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม


การตรวจวินิจฉัยในโรคนี้มีหลายวิธีและวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การทำ sleep test หรือ Polysomnograhpy (PSG) ซึ่งการตรวจนี้ผู้ป่วยต้องติดเครื่องมือบันทึก ผลบริเวณรอบศีรษะและร่างกาย จะทำขณะนอนหลับอยู่ จึงนิยมรับการตรวจที่โรงพยาบาล และต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล 1 คืน การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้มีความปลอดภัยและแม่นยำสูงสามารถบันทึกคลื่นสมอง ลมหายใจ และปริมาณออกซิเจนในเลือด ทำให้แพทย์ประเมินการรักษาได้แม่นยำขึ้น


สำหรับแนวทางการรักษา นายแพทย์ปกป้องชี้แจงว่า การรักษาอาการ OSA นี้มีมากมายหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค การวินิจฉัยต่าง ๆ แพทย์จะจัดอันดับความรุนแรงของโรคและเลือกการรักษาได้หลายวิธี เช่น การฝังเข็ม บริเวณเพดานอ่อน การใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) ในการช่วยหายใจ รวมทั้งใส่เครื่องมือในช่องปากก็ยังเป็นทางเลือกในการรักษาอาการเหล่านี้ ด้วย

การใส่เครื่องมือในช่องปาก ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดใด ๆ ค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าวิธีอื่น ใส่ได้ง่าย สบายทำให้ใส่ได้ตลอดทั้งคืน


ทันตแพทย์จึงเริ่มมีบทบาทใน การรักษาอาการเหล่านี้ โดยหลังจากที่ผู้ป่วยได้ตรวจพบว่า เป็นโรค OSA แล้ว ทันตแพทย์จะพิมพ์ปากเพื่อทำเครื่องมือในช่องปาก



เครื่องมือชนิดนี้มีหลายแบบหลายรูปร่าง แต่หลักการทำงานเหมือนกันคือ ยึดขากรรไกรล่างให้เคลื่อนมาข้างหน้าโคนลิ้นจะถูกดันออกมาด้วย ทำให้ช่องคอเปิดออก และทำให้อากาศผ่านเข้าได้ง่ายขึ้น


แต่ข้อเสีย คือ จะต้องนอนคาบเครื่องมือกันกรนทั้งคืน แต่เมื่อชินแล้วก็จะช่วยให้หลับสบายมากขึ้น ทำให้ร่างกายได้นอนเต็มอิ่มแบบไม่ต้องหยุดหายใจชั่วขณะอีกต่อไป


การ รักษาด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของอาการตั้งแต่น้อยถึง ปานกลาง หากอาการรุนแรงมากความสำเร็จในการรักษาจะต่ำ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยการผ่าตัดจะมีความปลอดภัยกว่าทำง่ายกว่า และที่สำคัญราคาถูกกว่า จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น


ใครที่รู้ตัวว่าเริ่มมีอาการเหล่านี้สามารถไปพบแพทย์และทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือสามารถไปรับคำปรึกษาเบื้องต้นได้ที่คลินิกเฉพาะทางทันตกรรมเพื่อการนอน ณคลินิกประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร ชั้น 3 โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ได้ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 09.00-12.00 น.