ผู้เขียน หัวข้อ: นับ ๑ แยกจาก ก.พ.-นัดรวมชาว สธ. ยื่นร่างกฎหมายจัดตั้ง ก.สธ.  (อ่าน 3175 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด


เวียนถึง/เรียน  พี่น้องสาธารณสุขเพื่อทราบและส่งต่อ


            ขณะนี้สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย       (สผพท.) ร่วมกับหลายองค์กร  รวมถึงตัวท่านหลายคน  ได้เข้าชื่อเสนอกฎหมายแยกตัวจาก ก.พ. จัดตั้ง ก.สธ.เพื่อการบริหารบุคลากรสาธาณสุขที่ดีกว่า    โดยใช้ฉบับยกร่างเบื้องต้นโดย พ.ญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล (หัวหน้าคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายเพื่อพัฒนาการสาธารณสุข) ได้จำนวน  112,502 รายชื่อ  และประธานสภาได้อนุญาตให้เข้าเสนอร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ.อาคารรัฐสภา ๑ ชั้น ๑  

            ในการนี้ สผพท. จะมี นายแพทย์ธงชัย ซึงถาวร ผู้ตรวจราชการเขต ๑๗ ( 081 3790940)ซึ่งเป็นผู้บริหารคนสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ความสำคัญกับชีวิตการทำงานของชาว สาธารณสุขทุกหมู่เหล่าจนเป็นที่ประจักษ์ชัดของคนทำงาน    เป็นผู้นำชาว สธ.ยื่นร่างกฎหมาย แยกตัวจาก ก.พ. หรือ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการและบุคลากรสาธารณสุข พ.ศ. .....

          จึงเรียนเชิญพี่น้องชาว สธ. และคนไทย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการแพทย์และการสาธารณสุขที่ดีกว่าเพื่อคนไทย  เข้าร่วมในวันประวัติศาสตร์นับ ๑ แยกตัวจาก ก.พ. / ปฏิเสธการบริหารแบบกดดันของ ก.พ.    พร้อมกันในวัน/สถานที่ดังกล่าว นัดรวมพล 10.00 น.(พบกันก่อนยื่นกฎหมาย)  แต่งกายชุดปฏิบัติงานหรือชุดสบายๆ พร้อมนำสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย


                            ประกาศ ณ.วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕

                    แพทย์หญิงเชิดชู  อริยศรีวัฒนา  ประธาน สผพท. 086 5659985

             แพทย์หญิงอรพรรณ์  เมธาดิลกกุล  หัวหน้าคณะทำงานเข้าชื่อฯ 083 2495151, 086 3635794

                นายแพทย์ฐาปนวงศ์  ตั้งอุไรวรรณ  หัวหน้า เครือข่าย คบส. 086 057284

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 สิงหาคม 2012, 23:33:23 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ข่าวแจก
จากสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
 
บุคลากรสาธารณสุขรวมพลังยื่นเสนอพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ. ....(พ.ร.บ.ก.สธ. พ.ศ. ....) ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแยกบุคลากรสาธารณสุขออกจาก ก.พ.  วันที่ 7 สิงหาคม 2555 เวลา 10.00น.

สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
และบุคลากรสาธารณสุขทุกสาขาวิชาชีพ จะเข้ายื่นสนอกฎหมาย พ.ร.บ.ก.สธ. พ.ศ..... เพื่อแยกบุคลากรสาธารณสุขออกจากก.พ.ทั้งนี้มีผู้ลงชื่อร่วมเสนอกฎหมายนี้ทั้งสิ้น 112,502 คน

   ทั้งนี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบหมายให้นายวิสุทธิ์ สุทธิมรรค รองประธานสภาเป็นผู้รับมอบร่างกฎหมายฉบับนี้ ที่สภาผู้แทนราษฎร ในวันที่7 สิงหาคม 2555 เวลา 10.00 น.ที่อาคารรัฐสภา 1 ชั้น1  โดยนพ.ธงชัย ซึงถาวร ผู้ตรวจราชการเขต 17 จะนำคณะบุลากรสาธารณสุขจากเขต17 และบุคลากรจากหลายจังหวัด มาร่วมในการยื่นเสนอกฎหมายนี้ในวันและเวลาดังกล่าว

เหตุผลในการยื่นพ.ร.บ.ก.สธ. พ.ศ..... นี้
ก็เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนตำแหน่งและอัตรากำลังของบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับและทุกสายงาน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มีจำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกประเภทและทุกระดับอย่างเหมาะสมต่อการทำงานบริการประชาชนอย่างมีมาตรฐานและปลอดภัย

  สภาพปัจจุบันนี้ ก็คือ จำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีน้อย ถึงแม้รัฐบาลบังคับให้บุคลากรสาธารณสุขทำงานชดใช้ทุนแต่ก็ไม่มีตำแหน่งบรรจุ  ซึ่งเรื่องประหลาดที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าบุคลากรสาธารณสุขขาดแคลน แต่ไม่มีอัตราบรรจุ ถ้าไปดูตัวเลขการขาดแคลนบุคลากรยังขาดอยู่อีกหลายหมื่นอัตราแต่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถบรรจุบุคลากรได้เองต้องไปร้องขอจากก.พ.ทุกปี แต่ขอตำแหน่งไปที่ก.พ.เป็นหมื่น อาจจะได้ตำแหน่งเพียงร้อยละ 10 ของที่ขอไป เมื่อไม่มีตำแหน่งงาน ทำให้บุคลากรทั้งหลายลาออกกันมากทุกปี

 แล้วบุคลากรลาออกไปไหนล่ะ? ก็ลาออกไปอยู่ รพ.เอกชนที่รัฐบาลเองก็สนับสนุนให้เกิด Medical Hub เพราะต้องการได้เงินจากชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากขึ้น รพ.เอกชนจึงต้องการบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขขึ้น จนเกิดปัญหาสมองไหลไปภาคเอกชนมาก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่เจ็บป่วยไม่ได้รับความสะดวกปลอดภัยในการไปรับการดูแลรักษาสุขภาพในโรงพยาบาลภาครัฐในประเทศของตนเอง

   แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้ก.พ.ลดตำแหน่งและอัตรากำลังของข้าราชการทั้งหมด (เป็นการตัดสินใจแบบรวบอำนาจจากส่วนกลาง) ทำให้มีผลกระทบต่อการขาดตำแหน่งและอัตรากำลังของบุคลากรต่างๆในกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องทำงานดูแลรักษาสุขภาพประชาชน ทำให้บุคลากรหลายหมื่นคนต้องทำงานในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ขาดสวัสดิการ ขาดความมั่นคงและความก้าวหน้าในวิชาชีพ(หรืออาชีพ) ส่งผลให้บุคลากรขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน และตัดสินใจลาออกจากการทำงานให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขในกระทรวงสาธารณสุข

การขาดแคลนบุคลากรที่เหมาะสมทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่เจ็บป่วย และไปรับการดูแลซ่อมแซมสุขภาพ
ใน รพ.ของกระทรวงสาธารณสุขได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรที่มีน้อยเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดและความเสียหายจากการไปรับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข

ถ้าสามารถแยกบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขออกจากก.พ.แล้ว คณะกรรมการข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งจะสรรหามาจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานในพื้นที่ก็จะสามารถกำหนดกรอบอัตรากำลังเพื่อบรรจุข้าราชการในสายงานต่างๆให้เหมาะสมกับภาระงานที่จะต้องรักษามาตรฐานให้ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ นับว่าเป็นการกระจายอำนาจการบริหารสาธารณสุขมาสู่บุคลากรที่รู้ปัญหาจริง เพื่อทำให้ประชาชนที่เจ็บป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างมีมาตรฐานและปลอดภัย

 โดยจะสามารถกำหนดตำแหน่งบุคลากรให้เหมาะสม มีตำแหน่งงานตามความเชี่ยวชาญที่รับผิดชอบ มีความก้าวหน้าในสายงานวิชาชีพ(อาชีพ) ทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจดี ไม่ลาออกไปทำงานในภาคเอกชนเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และประชาชนจะได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการไปรับการบริการด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขดีขึ้นกว่าเดิม

  สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)ได้ติดตามศึกษาปัญหานี้มายาวนาน และได้เริ่มรวบรวมรายชื่อบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป เพื่อเสนอพ.ร.บ.ก.สธ.นี้ ที่ได้ยกร่างโดยพญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล
และนายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ และได้ผ่านการพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ แพทยสภา ซึ่งได้เชิญบุคลากรสาธารณสุขจากหลากหลายสาขาวิชาชีพและอาชีพ มาพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างพ.ร.บ.ก.สธ. .... นี้ และได้มอบให้พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล เป็นหัวหน้าคณะทำงานรวบรวมรายชื่อผู้เสนอกฎหมาย โดยนพ.ธงชัย
ซึงถาวร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 17 จะเป็นผู้นำคณะบุคลากรสาธารณสุข ไปยื่นเสนอพ.ร.บ.ก.สธ. ....
ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้พิจารณาออกเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด