ผู้เขียน หัวข้อ: เผย “ยารักษาเซ็กซ์เสื่อม-ยานอนหลับ” พบมีปลอมแปลงมากเหตุราคาสูง  (อ่าน 899 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
 อย.แจง ยาปลอมไทยส่วนใหญ่ เป็นยากลุ่มรักษาเซ็กซ์เสื่อม และยานอนหลับ เหตุมีราคาแพง และต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ส่วนยาเบาหวาน ยามะเร็ง ผู้ป่วยได้รับสิทธิจากรัฐอยู่แล้ว ไม่ค่อยซื้อเอง ชี้ ปัญหายาปลอมเกิดจากยาแพงเข้าถึงยาก
       
       จากกรณีที่มีการจับกุมยาปลอมที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง ที่ประเทศเพื่อนบ้านนั้น นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า มาตรการปราบปรามยาปลอม เป็นสิ่งที่ อย.ได้ทำอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2554 สามารถจับกุมได้ 20 ราย กลุ่มยาส่วนใหญ่ที่มีการปลอมแปลง จะเป็นยาราคาแพง เข้าถึงได้ยาก ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นยารักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และยานอนหลับ เนื่องจากราคาแพงและต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ทำให้มีความต้องการซื้อจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยาเบาหวาน และยามะเร็ง ที่มีข่าวว่า มีการปลอมและจับได้นั้น พบว่า ที่ผ่านมา ยากลุ่มดังกล่าวเป็นยาที่ประชาชนไม่ซื้อเอง เพราะอยู่ในสิทธิการรักษาพยาบาลทั้ง 3 กองทุนอยู่แล้ว ส่วนยามะเร็งถือเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น โอกาสที่จะหายากลุ่มนี้จึงเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นไปได้บ้าง เช่น การจัดซื้อโดยสถานพยาบาลเอกชน แต่ อย.ได้เตือนไปก่อนหน้านี้แล้ว ว่า สถานพยาบาลควรจัดหายากับผู้จัดจำหน่ายที่ไว้ใจได้ และต้องไม่เลือกยาที่มีราคาถูกจนผิดสังเกต เพราะอาจเป็นยาปลอมได้ ซึ่ง อย.ได้มีมาตรการในการตรวจสอบจับกุมอย่างสม่ำเสมอ
       
       นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับยาปลอมมีความหมายกว้าง ทั้งยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ยาเลียนแบบทั้งบรรจุภัณฑ์ เม็ดยา หรือยาที่ไม่ผลิตในสถานที่ตามที่จดแจ้ง ก็ถือว่าเป็นยาปลอมทั้งสิ้น ซึ่งกระบวนการขึ้นทะเบียนยา ถือเป็นมาตรฐานในการพิสูจน์ว่าเป็นยาที่ได้คุณภาพจริง ทำให้เมื่อตรวจสอบยาปลอม จะพบว่า มีคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน มีทั้งตัวยามากเกินไป น้อยเกินไป หรือไม่สามารถวัดประสิทธิภาพของตัวยาได้เลย ทั้งนี้ การแก้ปัญหายาปลอมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการทำให้ยาราคาถูกลง การทำให้ประชาชนเข้าถึงยาได้ แต่ยาที่ต้องได้รับการเข้มงวดในการใช้ ก็ยังจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรับการประเมินก่อนใช้ยาเช่นเดิม
       
       “กลุ่มยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ถือเป็นยาที่พบว่ามีการปลอมมากที่สุด เพราะมีราคาแพง เช่น ยาไวอะกร้า 1 กล่อง มี 4 เม็ด ราคา 2 พันบาท และข้อบ่งขี้ยังต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ เนื่องจากยามีผลข้างเคียง โดยในอนาคตองค์การเภสัชกรรม จะมีการผลิตกลุ่มยาซิลดีนาฟิล ซึ่งจะมีราคาถูกลงเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความเข้าใจของสังคม ว่า โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นเรื่องปกติ ที่ปรึกษาแพทย์ได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น ก็จะทำให้สามารถแก้ปัญหาของยาปลอมลงได้” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
       
       นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับวิธีสังเกตยาปลอม คือ 1.ดูทะเบียนและเอกสารกำกับยา 2.สังเกตฉลากตัวกล่อง ว่ามีความลบเลือนของตัวหนังสือหรือไม่ 3.ซื้อยาในสถานที่ที่ได้มาตรฐาน เช่น คลินิก ร้านขายยา ส่วนร้านค้าประเภทแผงลอย หาบเร่ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นยาปลอม ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนทั้งหมด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 สิงหาคม 2555