ผู้เขียน หัวข้อ: สปส.แบะท่าไม่โอนสิทธิให้สปสช.  (อ่าน 896 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
สปส.แบะท่าไม่โอนสิทธิให้สปสช.
« เมื่อ: 06 สิงหาคม 2012, 23:15:58 »
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- จันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2555 00:00:49 น.
สาธารณสุข * สปส.ยังไม่ถ่ายโอนภารกิจรักษาพยาบาลผู้ประกันตนให้ สปสช. แย้มถ้าทำโครงสร้างให้สิทธิประโยชน์เสมอภาคเท่าเทียมกองทุนได้ ก็ไม่จำเป็นต้องโอน


 
นพ.สุรเดช วลีอิทธิพล รองเลขาธิการสำนัก งานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงการโอนสิทธิผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจำนวน 9 ล้านคน พร้อมงบประมาณจำนวน 2.3 หมื่นล้านบาทไปยังสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า เรื่องนี้คงต้องหยุดไว้ก่อนเพราะตอนนี้เราต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำเรื่องการสร้างความเสมอภาคของ 3 กองทุน คือ กองทุนข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งถ้าหากทำแล้วได้ผลดีไม่ว่างบประมาณนั้นจะอยู่กับใครก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะถือว่าประชาชนได้ประโยชน์ในการเข้าถึงสิทธิการรักษาได้อย่างเท่าเทียมกัน

รองเลขาธิการ สปส. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จากการรวมการบริหารจัดการกองทุนผู้ป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุนนั้น ต้องเรียนว่าเป็นนโยบายที่ช่วยชีวิตประชาชนได้จริงๆ ทำให้ชาวบ้านได้รับบริการอย่างทันท่วงที ซึ่งที่ผ่านมาก็ยังไม่พบว่ามีเรื่องร้องเรียนใดๆเข้ามา และจากผลการสำรวจของสำนักเอแบคโพลก็พบว่าเป็นนโยบายที่ได้ใจประชาชน และในการประชุมบอร์ด สปสช. ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคมนี้ จะมีการหารือกันถึงการรวมบริหารจัดการกลุ่มผู้ป่วยโรคไตและโรคเอดส์ด้วย ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการหารือกันแล้วหลายครั้ง ซึ่งบรรยากาศก็ค่อนข้างดี แต่อาจจะต้องมาปรับหลักเกณฑ์กันหลายอย่าง เช่น กรณีโรคเอดส์นั้น เคยนำเสนอนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปรอบหนึ่งแล้วว่า หลักเกณฑ์การได้ยาและการได้รับสูตรดื้อยาก็ต้องปรับให้เหมือนกัน แต่อาจจะต้องเน้นย้ำเรื่องการปกปิดข้อมูลผู้ป่วยระหว่างการถ่ายโอนข้อมูล ระหว่างสิทธิซึ่งกันและกัน

นพ.สุรเดชกล่าวต่ออีกว่า ส่วนการบริหารจัด การกลุ่มผู้ป่วยโรคไตนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ อย่างสิทธิตามหลักประกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ตามชนบทจำเป็นต้องล้างไตทางช่องท้อง เพราะเครื่องฟอกไตเทียมค่อนข้างมีจำกัดซึ่งถ้าจะไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำก็ต้องมาคุยกันอย่างรอบคอบอีกครั้ง

นอกจากนี้ที่ประชุมยังจะมีการหารือกันถึงความร่วมมือในการพัฒนาการเข้าถึงยาจำเป็น (ยาบัญชี จ.2) ของ สปสช.และ สปส. ซึ่งการหารือครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพราะว่ามีปัญหา เพียงแต่เราพิจารณาแล้วเห็นว่าถ้าร่วมกันต่อรองราคาจะทำให้ซื้อยาในราคาที่ถูกลง และทำให้ประชาชนเข้าถึงยาราคาแพงที่มีความจำเป็นมากขึ้น.