ผู้เขียน หัวข้อ: หมอหทัยจี้จับกุมโฆษณาแฝงบุหรี่ พบสินค้านำมาแปะกระตุ้นวัยรุ่นสูบ  (อ่าน 1131 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทยพบวัยรุ่นกลับมาสูบบุหรี่เพิ่ม เหตุเพราะสินค้าส่งเสริมการขาย เช่น เสื้อหมวก ไฟแช็กนำตราบุหรี่ไปใส่

กรุงเทพฯ * "หมอหทัย" ชี้ตัวเลขวัยรุ่นสูบบุหรี่กลับมาเพิ่มขึ้นอีก เหตุเพราะสินค้าส่งเสริมการขายล้นตลาด เช่น เสื้อ หมวก ที่ติดยี่ห้อบุหรี่ องค์การอนามัยโลกวิจัยพบเยาวชนที่เห็นสินค้าเหล่านี้มีโอกาสกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่สูง เตือนผู้ค้าที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีความผิดตามกฎหมาย
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พุธที่ 1 สิงหาคม 2555 00:00:55 น.
สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทยพบวัยรุ่นกลับมาสูบบุหรี่เพิ่ม เหตุเพราะสินค้าส่งเสริมการขาย เช่น เสื้อหมวก ไฟแช็กนำตราบุหรี่ไปใส่

กรุงเทพฯ * "หมอหทัย" ชี้ตัวเลขวัยรุ่นสูบบุหรี่กลับมาเพิ่มขึ้นอีก เหตุเพราะสินค้าส่งเสริมการขายล้นตลาด เช่น เสื้อ หมวก ที่ติดยี่ห้อบุหรี่ องค์การอนามัยโลกวิจัยพบเยาวชนที่เห็นสินค้าเหล่านี้มีโอกาสกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่สูง เตือนผู้ค้าที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีความผิดตามกฎหมาย


 
ที่โรงแรมสยามซิตี วันที่ 31 กรกฎาคมนี้ นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก 2550-2551 กล่าวในงานแถลงข่าว "สิ่งของเพื่อส่งเสริมบุหรี่มีขายเกลื่อนกรุงหวั่นเด็กไทยเป็นนักสูบเพิ่ม" ว่า จากการติดตามสถานการณ์การบริโภคยาสูบของคนไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มมีการออกกฎหมายและทำงานรณรงค์อย่างเต็มที่ ทำให้อัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องแต่พบว่าหลังจากปี 2550 สถานการณ์การบริโภคยาสูบเริ่มทรงตัว และอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-18 ปี พบว่า กลุ่มอายุ 15-18 ปี จากปี 2544 อยู่ที่ 6.44% เพิ่มเป็น 7.62% ในปี 2552 และกลุ่มอายุ 19-24 ปี จากปี 2547 อยู่ที่ 20.9% เพิ่มขึ้นเป็น 22.1% ในปี 2552 ทั้งนี้ พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้อัตราการสูบบุหรี่ในเยาวชนเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการจำหน่ายจ่ายแจกสิ่งของต่างๆ ที่มีสัญลักษณ์ของตราสินค้าบุหรี่ (cigarette  promoting  items :  CPI) เช่น ไฟแช็ก เสื้อ หมวก ฯลฯ ซึ่งมีทั้งแบบบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ทำแจกให้ร้านค้าปลีกและผู้ขายสินค้าอื่นๆนำตราสินค้าบุหรี่ไปใส่ในผลิตภัณฑ์อย่างไม่รู้เท่าทัน

"งานวิจัยจากองค์การอนามัยโลกซึ่งได้พิสูจน์เกี่ยวกับสินค้าประเภท  CPI พบว่า หากเด็กและเยาวชนซื้อหรือมีสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ของยี่ห้อบุหรี่ไว้ในครอบครอง จะมีแนวโน้มเป็นนักสูบหน้าใหม่มากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่มีสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ของยี่ห้อบุหรี่ ทำให้หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออกกฎห้ามมิให้มีการจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ของบุหรี่อย่างสิ้นเชิง โดยประเทศไทยมีกฎหมายที่ครอบคลุมเรื่องดังกล่าว แต่ขาดการบังคับใช้ ซึ่งจำเป็นต้องเตือนพ่อค้าแม่ค้าที่จำหน่ายและผลิตสินค้าต่างๆ แต่นำตราสัญลักษณ์ของบริษัทบุหรี่มาใช้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย" นพ.หทัยกล่าว

รศ.ดร.วันเพ็ญ แก้วปาน นักวิจัยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงผลการวิจัย เรื่องสิ่งของที่ส่งเสริมการขายบุหรี่ว่าคณะวิจัยได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจสิ่งของที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบที่วางจำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่าง เดือน ม.ค.-ก.พ.2554 บริเวณร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไป รวม 15 จุด ได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประตูน้ำ สยามมาบุญครอง สีลม สุขุมวิท จตุจักร ถนนข้าวสาร คิงเพาเวอร์ เซ็นทรัล สำเพ็ง คลองถม เยาวราช เขตบางแค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และสะพานพุทธ พบสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ 9 ชนิด คือ เสื้อยืด ที่จุดบุหรี่ กล่องใส่บุหรี่ หมวก สติ๊กเกอร์ เสื้อแจ็กเกต พวงกุญแจ แผ่นแม่เหล็ก แม็กเนต และ 3D puzzle โดยเป็นสินค้าประเภทที่ไม่ได้ทำโดยบริษัทผู้ผลิตยาสูบ สินค้าที่พบมากที่สุดคือ ที่จุดบุหรี่และกล่องใส่บุหรี่ และตราสัญลักษณ์ที่พบเป็นบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศโดยพวงกุญแจและแม็กเนตเป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย

"จากการสัมภาษณ์ผู้ขายพบว่า ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสินค้าส่งเสริมบุหรี่เหล่านี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังพบสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์เพื่อการโฆษณาส่งเสริมการขายที่บริษัทผู้ผลิตยาสูบเป็นผู้ผลิตและนำมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ค้าปลีก ซึ่งมีอยู่กว่า 500,000 ร้านทั่วประเทศด้วย เช่น นาฬิกาติดผนังร้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะติดอยู่ในร้านค้าปลีกและง่ายต่อการที่ผู้บริโภคจะมองเห็น" รศ.ดร.วันเพ็ญกล่าว

ด้าน รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มาตรการควบคุมสิ่งของเพื่อการส่งเสริมการขายบุหรี่สามารถทำได้ คือ 1.ให้ความรู้แก่ผู้ขาย และปราบปรามด้วยการใช้กฎหมาย เนื่องจากผู้ขายไม่ทราบว่าสินค้าของตนผิดกฎหมาย 2.การบังคับใช้กฎหมายโดย ตรวจตราและตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร และ 3.การจับกุมและปรับตามความผิด พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 มาตรา 8 มีโทษสูงสุดคือปรับไม่เกินสองแสนบาท.