ผู้เขียน หัวข้อ: สบส.นำหลักเกณฑ์ทางกฎหมายมาใช้ตรวจประเมินมาตรฐานสถานพยาบาล พร้อมปรับขั้นตอนออกใบอนุญาตให้เหลื  (อ่าน 1046 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
นายแพทย์สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกล่าวว่า "กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ" หรือ สบส.เป็นกรมในกลุ่มภารกิจด้านบริการสุขภาพที่เกิดจากการรวมภารกิจที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการสาธารณสุข และดำเนินภารกิจตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อการคุ้มครองให้ประชาชนผู้บริโภคในทุกระดับ ให้ได้รับบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานสาธารณสุข ยกระดับมาตรฐานประเทศไทยในการเป็นผู้นำด้านบริการสุขภาพที่เทียบเท่าระดับสากล

ทั้งนี้จากข้อมูลสายด่วน Cal Center 0-2193-7999 ของ สบส. พบว่าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึง พฤษภาคม 2555 มีเรื่องที่รับร้องเรียนทั้งหมด 104 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคลินิกที่กระทำผิดตาม พ.ร.บ.สถาพยาบาลฯ ถึง 45 เรื่อง และได้ทำการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดไปแล้วทั้งสิ้น 14 คดี นอกจากนี้จากการติดตามตรวจสอบมาตรฐานสถานพยาบาลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 - 2555 พบว่ามีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 รวมทั้งหมด 61 คดี มีทั้งคลินิกที่เปิดโดยไม่ได้รับอนุญาต การลักลอบทำศัลยกรรม ลักลอบทำแท้ง แพทย์ที่ทำการรักษาไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ ซึ่งคดีส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคลินิกที่เปิดโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยผู้ที่กระทำผิดในคดีนี้จะอ้างเหตุผลว่าการขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานพยาบาลใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนาน จึงส่งผลให้เกิดปัญหาไม่มีใบอนุญาตภายหลังการเปิดสถานพยาบาล

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกล่าวต่อว่าการตรวจประเมิน "มาตรฐานของบริการสุขภาพ" ถือเป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกของสบส. เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยด้านสุขภาพ โดย สบส. จะนำหลักเกณฑ์ทางกฎหมายมาใช้อย่างเหมาะสมในการตรวจประเมินมาตรฐานสถานประกอบการดังกล่าว เมื่อผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินแล้วจะได้ใบรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นสถานประกอบการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการ ตลอดจนเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและสุขภาพอีกทางหนึ่งด้วย

ส่วนกรณีการออกใบอนุญาตตั้งสถานพยาบาลล่าช้านั้น นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยสำนักพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะทำการปรับปรุงขั้นตอนการออกใบอนุญาตให้เร็วยิ่งขึ้น จากเดิมที่ใช้ระยะเวลา 3 เดือน ให้เหลือแค่ 1 เดือน โดยหลังยื่นขอใบอนุญาตแล้ว ผู้ยื่นขอต้องเตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบด้วย และถ้าพบสถานพยาบาลเอกชนที่เปิดบริการก่อนได้รับอนุญาต หรือสถานพยาบาลเอกชนนั้นๆ มีการโฆษณาเกินจริง ก็จะถือว่าสถานพยาบาลเอกชนเหล่านั้นมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ปัจจุบันนี้มีคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศทั้งหมด 19,149 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯ ถึง 4,161 แห่ง เพราะฉะนั้นสถานพยาบาลทั้งหมดจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาลฯ อย่างเคร่งครัด และห้ามเปิดก่อนได้รับอนุญาตเพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทย ในการที่จะเป็นผู้นำในด้านการให้บริการในด้านสุขภาพที่ได้มาตรฐานสากลและถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นการรองรับการค้าเสรีในด้านการให้บริการด้านสุขภาพในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้อีกด้วยอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกล่าวปิดท้าย.