ผู้เขียน หัวข้อ: เผยล่าชื่อหมอเกิน 1 หมื่นเตรียมยื่นร่าง พ.ร.บ.ประกอบร่างฯ คุ้มครองผู้เสียหาย  (อ่าน 1528 ครั้ง)

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2553 

กลุ่มหมอ เผย ล่ารายชื่อเกิน 1 หมื่น แล้ว เตรียมยื่นร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ของ “หมอเมธี” เข้าประกบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ชี้ชัด กม.ใหม่เน้นคุ้มครองทั้งผู้รับ-ผู้ให้บริการสาธารณสุข ไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
       
       พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวว่า จากการที่ สผพท.ร่วมกับองค์กรด้านการแพทย์ต่างๆ อาทิ สหวิชาชีพทั้ง 6 แพทย์ในสังกัด กทม.การแพทย์ทั้งตำรวจ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) แพทยสมาคม ฯลฯ เพื่อดำเนินการรวบรวม 1 หมื่นรายชื่อของบุคลากรทางด้านสาธารณสุขนั้น เพื่อจะใช้ในการยื่นเสนอร่างกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎรนั้น (ส.ส.) ขณะนี้รายชื่อดังกล่าวมีกว่ากว่า 1 หมื่นรายชื่อแล้ว โดยคณะทำงานยกร่างกฎหมาย ที่มี นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุข ส.ส.เป็นประธานนั้นเห็นควรว่าจะเสนอร่าง “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ.....” ที่ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ประสาทศัลยศาสตร์ รพ.ราชวิถี เป็นผู้ยกร่าง
       
       พญ.อรพรรณ์ กล่าวอีกว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฉบับนี้เป็นฉบับผู้ปฏิบัติงานและประชาชน สามารถคุ้มครองทั้งผู้ให้และผู้รับบริการสาธารณสุข ซึ่งแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ....ฉบับรัฐบาล ที่เน้นเฉพาะผู้รับบริการเท่านั้น นอกจากนี้ พ.ร.บ.ที่จะยื่นเสนอเข้าประกบครั้งนี้ยังระบุให้มีแหล่งที่มาของเงินของกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข โดยรัฐจะต้องสนับสนุน และไม่เรียกเก็บจากสถานบริการ สำหรับสัดส่วนคณะกรรมการพิจารณาเงินคุ้มครอง จะประกอบด้วย ผู้แทนสภาวิชาชีพทั้ง 6 ด้วย ไม่ได้มีเพียงผู้แทนสถานพยาบาลแค่ 3 คน เหมือนร่างฉบับรัฐบาล
       
       “ตอนนี้ยังไม่แน่ชัดว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะสะดวกให้ทางบุคลากรดำเนินการเข้ายื่นร่าง พ.ร.บ.ได้เมื่อไหร่ ซึ่งถ้าได้กำหนดการที่ชัดเจนก็จะส่งผู้แทนผู้เข้าชื่อประมาณ 10-20 คน เพื่อเข้ายื่นรายชื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ.กฎหมายต่อประธานสภา อย่างไรก็ตาม การเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้เข้าไปประกบกับร่าง พ.ร.บ.ที่อยู่ในวาระรอการพิจารณาของสภานั้น เป็นเพียงมาตรการเสริม
สิ่งที่ต้องการมากที่สุดยังคงเป็นประเด็นของการถอนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯออกมาทำประชาพิจารณ์เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยทำมาก่อน มีแต่เพียงการจัดประชุมผู้มีส่วนผลักดัน 2 ครั้ง ครั้งละราว 100 กว่าคนเท่านั้น”พญ.อรพรรณ์ กล่าว