ผู้เขียน หัวข้อ: ทัศนะน่าสนใจเกี่ยวกับการปฏิรูป สธ./การทบทวนการประชุมสภาปฏิรูปการสาธารณสุข ครั้งท  (อ่าน 2204 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ทัศนะน่าสนใจเกี่ยวกับการปฏิรูป สธ./การทบทวนการประชุมสภาปฏิรูปการสาธารณสุข ครั้งที่ 1-4
เขียนโดย นินิ   
29 ส.ค. 2010 08:10น.
http://www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=378&Itemid=45
ข่าวล่า ทบทวน นับตั้งแต่คณะกรรมการปฎิรูปการสาธารณสุข ได้จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เรียกว่า สภาปฏิรูปการสาธารณสุขไทย อันเป็นงานต่อเนื่องจากการประชุมวันที่ 17 มิถุนายน 2553 และได้จัดให้มีขึ้น เป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 กค 2553 ที่แพทยสภา มีการประชุมหารือ แลกเปลี่ยน ข้อมูล โครงสร้างกำลังคน ภาระงาน ของ สาขาเทคนิคการแพทย์ นำเสนอโดย รศ.ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ ทน.วัฒโนทัย ไทยถาวร ทน.ไพบูลย์ เอี่ยมขำ สาขาพยาบาล โดย ดร.ธีรพร สถิรอังกูร สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ สาขาเภสัชกรรม โดย ภกญ.พัชรี ศิริศักดิ์ สาขาเภสัชกรรม สาขาแพทย์ โดย นพ.อรุณ วิททยศุพร พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล และ สาขากายภาพบำบัด โดย นส.สาลิน เรืองศรี จะได้ทำการจัดทำข้อมูลเชิงลึกด้านกำลังคนสาธารณสุข เพื่อประกอบการนำเสนอในชั้นกรรมาธิการหลัง ร่าง พรบ.กสธ.เข้าสู่สภาแล้ว ผู้แทนสาขาเทคนิคการแพทย์ กล่าวถึงเทคนิคการแพทย์ที่มีสถานะเป็นลูกจ้าง มีจำนวนหลายพันคน มีสภาพการทำงานที่ไม่มั่นคง เสนอให้ปฏิรูป จัดตำแหน่ง บรรจุ นักเทคนิคการแพทย์ดังกล่าว โดยเห็นชอบกับการมี ก.สธ. อย่างไรก็ดี ได้นำเสนอปัญหาและการเพิ่มอัตราตำแหน่งเทคนิคการแพทย์ในส่วนคณะกรรมาธิการ รัฐสภาแล้ว และต่อมาได้มีการจัดครั้งที่ 3 ขึ้นที่สภาการพยาบาล และครั้งที่ 4จัดขึ้นที่ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร รวมความเห็นสำคัญ

1. รศ.ยุพา ฯ แถลงว่า นพ.มงคล ณ สงขลา และ นพ.อำพล จินดาวัฒนะสช.ได้นำเสนอในขณะนี้ว่า เป็นลูกจ้างก็มีความสุขได้ อาจารย์ไม่เห็นด้วย รศ.ยุพา เห็นเพิ่มเติมว่า การผลิตนักเทคนิคการแพทย์ต้องได้รับการจัดวางนโยบายด้านการผลิตที่มีคุณภาพ ในระดับประเทศ ควรที่กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันพระบรมราชชนก จะได้ยกเลิกการผลิตพนักงานต่างๆได้แล้ว ทั้งนี้เพื่อความมีมาตรฐานและความสามัคคีในวิชาชีพ

2.ดร.ธีรพร สถิรอังกูร สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ ให้ทัศนะว่าสายการพยาบาล เป็นสายงานที่ขาดแคลนสูงมาก มีพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุข จำนวนนับหมื่นที่อยู่ในสภาพไม่มีตำแหน่งบรรจุ ยังคงเป็นลูกจ้าง ทำให้ขาดความมั่นคงของวิชาชีพ และระบบงานด้านการพยาบาลผู้ป่วยในสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เห็นว่า ขรก.และบุคลากร สธ. ควรมุ่งมั่น ทำ ก.สธ. ออกจาก กพ. เห็นว่าเป็นเส้นทางหลักในการพัฒนากำลังคนด้านการพยาบาลได้ แนะให้นับเป็นเป้าหมายสำคัญ จัดวางกระบวนการ และ เตรียมข้อมูลด้านกำลังคนของทุกสาขาให้มีคุณภาพ รับจะประสานกับทีมสาขาต่างๆ เพือ่จัดทำข้อมูลด้านกำลังคน สธ. เน้นหนัก สายการพยาบาล โดยจะประสานกับ สายงานเทคนิคการแพทย์ สายงานแพทย์ สายงานนักกายภาพบำบัด และสายงานเภสัชกร พร้อมรับแบบเข้าชื่อ 50 ชุด เพื่อขยายผลในกลุ่มสาขาการพยาบาลต่อไป

3.ทีมงานสุขภาพ สาขากายภาพบำบัด โดย นส.สาลิน เรืองศรี ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพสิรินธร กรมการแพทย์ แถลงในวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 ว่า วิชาชีพกายภาพบำบัด มีลักษณะงานต้องใช้ดุลพินิจในวิชาชีพ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพให้ประชาชน ต้องการให้ การประสานสามัคคีในการเข้าชื่อ เสนอ ร่าง พรบ.ก.สธ. เป็นจุดเริ่มสำคัญของความเข้าใจในงานของกันและกันในทุกสาขา เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย และ วิชาชีพกายภาพบำบัด พร้อมทำงานกับ คณะทำงาน ก.สธ. รับแบบ ขก. 1 ไป ทำงานเข้าชื่อ 200 ชุด และ จะพิมพ์เพิ่มต่อ เพื่อให้สาขากายภาพบำบัดได้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ ปฏิรูป สธ.ร่วมกับวิชาชีพอื่นใน สธ.

4.ทน.ไพบูลย์ เอี่ยมขำ ซึ่งสป. ร่วมกับ ทีมงาน สธ.ราชบุรี รพศ. และ สอ. นำแบบเข้าชื่อ เสนอร่าง พรบ.ก.สธ. ร่าง พรบ.จัดบริการสาธารณด้านสาธารณสุข ร่าง พรบ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้ง 3 ร่าง ครบชุด และมีเอกสารแนบ คือ สำเนาทะเบียนบ้านที่หลายคณะทำงานต้องการอย่างมาก และนับเป็นเรื่องยากของการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เพราะทั่วไป เข้าใจเพียงว่า มีสำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการน่าที่จะใช้ได้แล้ว แต่ กรณีเสนอร่าง กม. ยังไม่เพียงพอ ต้องมีสำเนาทะเบียนบ้านด้วย และ รายงานว่า ขณะนี้ อจ.นพ.ประดิษฐ์ ฯ รพศ.ราชบุรี ได้รับเอกสารเข้าชื่อจาก ชาว สธ.ราชบุรีจำนวนมาก พร้อมส่งแจงนับแล้ว ยืนยันว่าด้านเทคนิคการแพทย์ชนบท ประสงค์ให้แยก เป็นก.สธ. ขณะนี้มีเทคนิคการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานใน สธ.ไม่มีตำแหน่งจำนวนมาก มีฐานะเป็นลูกจ้างชั่วคราวแบบถาวร

5. พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล กล่าวว่า เพื่อให้ก่อประโยชน์กับประชาชนที่จำต้องมีระบบบริการสาธารณสุขยามจำเป็น และที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งระบบบริการนั้นประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ เครื่องมือ และการบริหารจัดการงานบริการสาธารณสุขที่ดี แต่ปัจจุบัน ทั้ง 3 องค์ประกอบกำลังถูกคุกคามให้เสียหายด้วย ปัญหา 1.)กพ.จัดการงานบุคลากรด้าน สธ.อย่างไม่ถูกตามสภาพงาน 2.) งบประมาณด้านสธ.นั้น สปสช.นำไปจัดการอย่างรั่วไหลและไม่สอดรับกับการงานอันจำเป็นและงานคุณภาพ ด้านการบริการ สธ. ทำให้ก.สธ.ขาดงบประมาณในการดำเนินงาน ขาดเครื่องมือและสิ่งของอันจำเป็นในการทำงาน 3.) มีการจัดการงานด้านสาธารณสุขอย่างซ้ำซ้อน ขาดประสิทธิภาพ สร้างปัญหา และบางงานได้ละเลย ทำให้ประชาชนเดือดร้อน จำเป็นต้องปฎิรูประบบการสาธารณสุขด้วยการแก้ไขโครงสร้างต่างๆด้วยการแก้ไข กฎหมาย จึงมีการจัดทำยกร่าง 3 พรบ.ตามที่กำลังเข้าชื่อแล้ว
อย่างไรก็ดี ขณะนี้กำลังมีปัญหาเร่งด่วนในวงการสาธารณสุข คือกรณีรัฐบาลเสนอร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ... เข้าสู่สภา อย่างรีบด่วน และนักวิเคระห์ พร้อม องค์กรด้านสาธารณสุข ได้ทักท้วงแล้วว่าจะสร้างความล่มสลายต่อระบบบริการสาธารณสุขอย่างรุนแรง และประชาชน ประเทศชาติ จะเสียหายอย่างมาก และได้เข้าชื่อคัดค้านร่าง พรบ.ของรัฐบาล เพื่อให้ถอนร่างนี้ ออกมาประชาพิจารณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน จำเป็นที่ทีมงานต้องเพิ่มงานคัดค้านนี้ หรือ ชะลองาน 3 พรบ.ไว้ก่อน และเน้นงานคัดค้านขอให้รัฐาลถอนร่างพรบ.นี้ออกจากสภา

6. เภสัชกรหญิง พัชรี ศิริศักดิ์ กล่าวว่า สปสช.ได้สร้างระบบงาน ระบบการเงินด้าน สธ.ที่เป็นปัญหากระทบให้ขาดแคลนกำลังคน เนื่องจากเป็นงานที่ต้องมีการคีย์ข้อมูล ไปแลกกับเงินงบที่จะมาทำงาน และหลายงานเป็นงานลักษณะการวิจัยในมนุษย์โดยไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาทาง จริยธรรมในการวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องมีการแก้ขโดยเร่งด่วน

7. นพ.อรุณ วิทยศุภร สำนักวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ระบบการสาธารณสุขของประเทศในขณะนี้ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างการบริการ ควรจัดให้มีกลุ่มภารกิจในการบริการ ลักษณะคล้ายเขตบริการสาธารณสุข มีระบบเกื้อหนุน ส่งต่อ และบริหารจัดการเป็นเขตบริการที่ชัดเจน ไม่ไขว้กัน จะทำให้โครงสร้าง สธ.เข้มแข็งขึ้น และตอบสนองต่อความจำเป็นและคุณภาพงานบริการนี้ให้ประชาชนได้อย่างมคุณภาพ ภายใต้งบประมาณที่จำกัด เห็นควรยุบ สปสช. และโอนภารกิจงานในการส่งผ่านงบประมาณ ไปยังกองคลัง สป. ซึ่งจะใช้คนทำงานเพียง 4 คน ก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้คนระดับ 1 000 คน เช่นที่ สปสช. กำลังดำเนินการอยู่นี้ และงบ สธ.ขณะนี้ หากจัดการอย่างถูกตอ้ง ไม่ต้องเพิ่มงบประมาณใดๆ เพียงจัดการให้ถูกต้อง ก็จะมีงบพอที่จะจัดการด้านกำลังคน สธ.ให้มีคุณภาพและปริมาณสอดคล้องกับงานได้ในภารกิจที่ต้องแยกจาก กพ.

 
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( 29 ส.ค. 2010 21:24น. )