ผู้เขียน หัวข้อ: สมการใหม่ของวิกฤติคาร์บอน-สารคดี  (อ่าน 2029 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
สมการใหม่ของวิกฤติคาร์บอน-สารคดี
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2010, 18:22:43 »
ในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนขั้นแรกคือการคำนวณตัวเลข
   วิกฤติคาร์บอนมีสมการดังนี้ ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ชั้นบรรยากาศของโลกมีคาร์บอนไดออกไซด์ราว 280 พีพีเอ็ม (parts per million) ซึ่งเป็นจำนวนที่ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้หมายถึง "ที่เราเคยชิน" เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ดักจับความร้อนบริเวณผิวโลก ไม่ให้ลอยกลับสู่อวกาศ อารยธรรมต่างๆจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นในโลกที่กำหนดค่าตัวควบคุมอุณหภูมิไว้ เท่านั้น เท่ากับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอยู่ในราว 14 องศาเซลเซียส ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของเมืองทุกเมืองที่เราสร้างขึ้น พืชผลทุกชนิดที่เราปลูกและกิน แหล่งน้ำทุกแห่งที่เราพึ่งพาอาศัย กระทั่งการเปลี่ยนฤดูกาลในช่วงละติจูดที่สูงขึ้น ส่งผลต่ออารมณ์และสภาพจิตใจของเรา
   แต่ทันทีที่เราเริ่มเผาถ่านหิน แก๊ส และน้ำมันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ตัวเลข 280 ก็เพิ่มขึ้น เมื่อเราเริ่มวัดค่าใหม่ในปลายทศวรรษ 1950 ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงถึง 315 และ 380 ในปัจจุบัน หรือเพิ่มขึ้นคร่าวๆปีละ 2 พีพีเอ็ม แม้จะฟังดูไม่มากเท่าไร แต่ปรากฏว่า ความร้อนส่วนเกินที่คาร์บอนไดออกไซด์กักเก็บไว้ ซึ่งมีค่าเพียง 2 วัตต์ต่อตารางเมตรบนผิวโลก ก็ทำให้โลกร้อนขึ้นได้อย่างมาก และเราได้ทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงไปแล้วกว่าครึ่งองศาเซลเซียส เราไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า การเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะส่งผลกระทบใดได้อย่างแน่ชัด แต่ความร้อนที่เราได้เห็นจนถึงขณะนี้ก็เริ่มส่งผลให้องค์ประกอบที่เป็นน้ำ แข็งส่วนใหญ่บนโลกละลาย ฤดูกาลและวัฏจักรฝนแปรปรวน ระดับทะเลสูงขึ้น
    ไม่ว่าเราจะทำอะไรตอนนี้ ความร้อนก็ยังจะเพิ่มขึ้นต่อไปอีก เนื่องจากความร้อนที่มีในชั้นบรรยากาศต้องใช้เวลากว่าจะจางไป พูดง่ายๆก็คือเราไม่สามารถยุติภาวะโลกร้อนได้ ภารกิจของเรามีเป้าหมายไม่เร้าใจนัก เพราะเราทำได้เพียงจำกัดความเสียหาย ไม่ให้สถานการณ์แย่ไปมากกว่านี้ และนั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะก่อนหน้านี้เราไม่มีข้อมูลบ่งชี้จุดวิกฤติที่ชัดเจน แต่ตอนนี้เราเริ่มเห็นภาพชัดขึ้น เมื่อสองสามปีที่ผ่านมามีรายงานหลายฉบับบ่งชี้ว่า คาร์บอนไดออกไซด์ 450 พีพีเอ็มคือจุดวิกฤติ หากตัวเลขสูงกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หลายร้อยปีนับจากนี้จะเกิดปัญหาพืดน้ำแข็งในกรีนแลนด์และทางตะวันตกของแอ นตาร์กติกาละลาย ตามมาด้วยระดับทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างใหญ่หลวง ตัวเลข 450 พีพีเอ็มเป็นการคาดการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด (นี่ไม่รวมแก๊สเรือนกระจกอื่นๆที่มีปริมาณน้อยกว่า เช่น มีเทนและไนตรัสออกไซด์) แต่ตัวเลขนั้นควรเป็นเป้าหมายที่โลกพยายามหลีกเลี่ยง แต่เป้าหมายนั้นเปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว หากเรารักษาระดับการเพิ่มของคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ที่ปีละ 2 พีพีเอ็ม เราก็เหลือเวลาอีกแค่ 35 ปีเท่านั้น
    ตัวเลขนั้นไม่ซับซ้อน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่น่ากลัว ปัจจุบันมีเพียงยุโรปและญี่ปุ่นเท่านั้นที่เริ่มลดการปล่อยคาร์บอน และยังไปไม่ถึงเป้าหมายแสนต่ำที่ตั้งไว้ ขณะที่การปล่อยคาร์บอนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสี่ของโลก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอนต้นปี สหรัฐฯแจ้งองค์การสหประชาชาติว่า ในปี 2020 จะปล่อยคาร์บอนมากกว่าปี 2000 ถึงร้อยละ 20 ขณะที่จู่ๆ จีนและอินเดียก็ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากขึ้นด้วย หากคิดเทียบปริมาณต่อหัว (ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะมองปัญหานี้อย่างเป็นธรรม) ยังไม่มีใครปล่อยคาร์บอนมากเท่าสหรัฐฯ แต่ประชากรของสหรัฐฯมีจำนวนมากและเศรษฐกิจก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนทำให้การลด ปริมาณการปล่อยปริมาณคาร์บอนของโลกดูน่าเป็นห่วงกว่าเดิม ตอนนี้จีนสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินราวหนึ่งโรงต่อสัปดาห์ นั่นหมายถึงคาร์บอนจำนวนมหาศาล
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
ตุลาคม 2550