ผู้เขียน หัวข้อ: ตามหาความหมายบุญกฐิน-สารคดี  (อ่าน 2509 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
ตามหาความหมายบุญกฐิน-สารคดี
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2010, 18:17:50 »
ตามตำนานในพระไตรปิฎกกล่าวว่า เมื่อครั้งพระสงฆ์ชาวเมืองปาฐา 30 รูปทราบ ข่าวว่าพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร จึงพากันรอนแรมมาเฝ้าแหนด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า แต่การ เดินทางมีอันต้องสะดุดลงกลางคันเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูพรรษาหน้าฝน ภิกษุเหล่า นั้นต่างพบว่าตัวเองอยู่ในสถานะแขกจรผู้ลำบาก ต้องอยู่ในพรรษาด้วยความร้อน ใจ ทันทีที่ออกพรรษา จึงรีบรุด เดินทางต่อ ทั้งๆที่ถนนหนทางเฉอะแฉะเป็นหล่มโคลน ครั้นพอถึงเชตวันจึงอยู่ในสภาพสกปรกมอมแมม พระพุทธองค์ทรงไถ่ถามทุกข์สุขตามธรรมเนียม เมื่อทรงสดับตรับฟังเรื่องราวทั้งหมด ก็ทรงวินิจฉัยตามเหตุผลว่า พระสงฆ์ที่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตลอดกาลพรรษา ควรมีผ้าใหม่ทดแทนของเก่าที่อาจเปรอะ เปื้อนเสียหายในช่วงฤดูฝน จึงตรัสอนุญาตแก่คณะสงฆ์ให้มีการ ”กรานกฐิน„ หรือการแสวงหาผ้าใหม่ โดยกำหนดให้เป็นสังฆกรรมหนึ่งแม้จะเป็นพุทธานุญาต พิเศษ แต่พระองค์ก็ทรงบัญญัติอย่างมีกฎเกณฑ์ จึงเป็นที่มาและจุดเริ่มต้นของ ประเพณีบุญกฐินในกาลต่อมา เรื่องของกฐิน ”ไม่ได้หมายถึงต้นไม้หรอกหรือ„ น้ำเสียงงงๆไม่แน่ใจของพัตนรี ชะตาถนอม พยาบาลสาวจากเมืองสุรินทร์ ที่เล่าว่า เธอได้ไปร่วมงานบุญอยู่บ่อยครั้ง แต่ ละครั้งก็ได้สรวลเสเฮฮา ร้องรำทำเพลงไปตามจังหวะเพลงพื้นเมือง มาก กว่าจะเข้าใจในแก่นสารสาระ นี่คือความเป็นจริงในหมู่ชาวพุทธรุ่นใหม่จำนวน ไม่น้อย ที่เข้าใจความหมายของบุญกฐินคลาดเคลื่อนไปจากคุณค่าและความหมายที่ แท้จริง ”กฐิน„ ในทางพระพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงพืชหรือชื่อต้นไม้ หากความหมายนั้น ถูกระบุไว้หลายนัย ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลตรงกันว่าหมายถึง ”กรอบไม้„ หรือเครื่องมือตัดเย็บที่เรียกว่า ”สะดึง„ และอีกนัยหนึ่งคือ ”ผ้า„ หรือ ”ผ้านุ่ง„ ของพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังหมายความถึงพิธีการและขั้นตอน ของการถวายและรับกฐิน หรือ”สังฆกรรม„ด้วย ส่วนคำว่า ”กรานกฐิน„ คือ การลาดไม้แบบหรือสะดึงลงไป แล้วเอาผ้าทาบเพื่อตัดให้ได้ขนาดตามแบบ ก่อน จะช่วยกันเย็บเป็นจีวรนักประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนาอธิบายว่าการกรานกฐิน เป็นพิธีกรรมว่าด้วยการจัดทำผ้านุ่งผืนใหม่ เริ่มแรกนั้นน่าจะทำกันเฉพาะใน หมู่สงฆ์ มีลักษณะกิริยาแบบลงแรง ลงขัน เพื่อช่วยกันผลิตผ้าขึ้นมาผืนหนึ่ง  ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ว่า พระสงฆ์ที่มา ร่วมนั้นต้องจำพรรษาครบ 3 เดือน และมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูปในการประกอบ พิธีกรรม ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน แม้จะเป็นเพียงผ้าแค่ผืนเดียว  แต่ด้วยปัจจัยจำกัดหลายอย่างในยุคนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ภิกษุแต่ละรูป ต้องช่วยกันอย่างแข็งขัน ทั้งการกรอด้าย ตัดเย็บ ย้อม และหากไม่ชำนาญ ก็ ย่อมต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นตามไปด้วย การทำผ้านุ่งของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลนั้นมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐาน ของข้อจำกัดที่เรียกว่า ”พระวินัย„ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เช่น ผ้า ที่ได้มานั้น ต้องบริสุทธิ์ ซึ่งไม่เพียงหมายถึงผ้าผืนใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผ้าเก่า  ถูกทิ้งเพราะขาดหรือสกปรก ไปจนถึงผ้าที่ใช้ห่อศพ หรือ ”ผ้าบังสุกุล„ นอกจาก นี้ คำว่า ”บริสุทธิ์„ ยังเน้นที่การได้มาเป็นสำคัญ ทั้งหมดเหล่านี้ วิจิตร  สมบัติบริบูรณ์ ระบุไว้ในหนังสือ ”กฐินทาน„ ว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่มีความ หมายมากกว่าการได้มาซึ่งผ้าผืนหนึ่ง เพราะเป็นข้อกำหนดที่แฝงไว้ด้วยคำสอน ทั้งเรื่องของการละกิเลส ความเสียสละ สามัคคี และพึ่งพาตนเองโดยไม่รบกวนผู้ อื่นส่วนผ้าที่เกิดขึ้นนั้นจะมอบให้แก่ภิกษุที่เห็นว่าสมควรเกิดจากความเห็น ชอบร่วมกันในหมู่สงฆ์ โดยขั้นตอนที่เรียกว่า ”สวดญัตติ„ ส่วนใหญ่ผู้ถูก เลือกมักเป็นผู้ที่ครองผ้าเก่าใช้การไม่ได้แล้ว หรือพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบตลอดช่วงเข้าพรรษา หรือเป็นพระที่มีอาวุโสสูงสุด กระทั่งต่อมา พระ พุทธองค์ทรงเริ่มอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าจากคหบดีหรือฆราวาสได้ ตามคำร้องขอ ของชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์ และประจำสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัด ออกไป ทานก็หลั่งไหลมาจากผู้มีศรัทธาทั่วทุกสารทิศ จึงช่วยแบ่งเบาภาระของ สงฆ์ในการเสาะหาและตัดเย็บจีวรได้อย่างมาก ส่งผลให้สงฆ์มีผ้ามากขึ้นจนต้อง จัดตั้งคลังผ้าขึ้น เพื่อจัดระเบียบการใช้ผ้าของพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมี เรื่องเล่าว่า ในสมัยแรกๆนั้นการตัดเย็บจีวรยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนเพียง ต่อเศษผ้าที่ได้รับบริจาคหรือหามาได้ให้เป็นผืนก็ถือว่าใช้ได้ พระพุทธองค์ ทรงเห็นว่าผ้านุ่งของพระสงฆ์นั้นหาเอกภาพไม่ได้ จึงทรงมอบหมายให้พระอานนท์ เป็นผู้ออกแบบเพื่อให้จีวรของพุทธสาวกเป็นไปในรูปแบบเดียว กัน พระอานนท์ออกแบบผ้าเป็นตารางสี่เหลี่ยม โดยได้แรงบันดาลใจจากผืนนาใน แคว้นมคธ จนกลายเป็นต้นแบบที่ใช้สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 700 ปีก่อน...กฐินบนแผ่นดินสยาม ตลอดระยะเวลากว่า 2,500 ปี นับจากครั้งพุทธกาลพุทธศาสนาแบบเถรวาทเผยแผ่เข้า สู่ลังกาและดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมๆกับการเสื่อมถอยไปจากชมพูทวีปพิธีกรรม ต่างๆสอดประสานไปกับวิถีชีวิตและประเพณีในท้องถิ่นสันนิษฐานว่าระยะแรกกฐิน ยังเป็นกิจกรรมที่ทำเฉพาะในหมู่สงฆ์ และพระพุทธองค์ได้กำหนดให้ดำเนินการภาย ในหนึ่งเดือน นับจากวันออกพรรษา คือ แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 12 เท่านั้นสำหรับในแผ่นดินสยาม หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงงาน บุญกฐิน ย้อนกลับไปถึงดินแดนรุ่งอรุณแห่งความ สุขนามสุโขทัย โดยมีบันทึกไว้ในหลักศิลาจารึกอย่างชัดเจนถึงศรัทธาปสาทะใน บวรพุทธศาสนา ตั้งแต่ผู้ปกครองจนถึงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ดังความว่า ”คนใน เมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้ง สิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อ พรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนม เบี้ยมีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้วญิบล้าน„นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า พิธีกรรม ทางพุทธศาสนา รวมทั้งงานบุญกฐินถูกสืบทอดเรื่อยมา นอกจากหลักฐานที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรแล้วยังมีประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆที่เชื่อมโยงกัน ด้วย ปัจจัยหลายด้าน ทั้งสภาพแวดล้อมและสถานการณ์บ้านเมือง ส.พลายน้อย ผู้รู้ทางไทยคดีศึกษา  กล่าวว่า บรรพบุรุษไทยเลือกชัยภูมิที่มีแม่น้ำลำคลองเป็นที่ตั้ง ในสมัยกรุง ศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีมีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้เรือรบในสงครามอยู่เนืองๆจน เกิดมีประเพณีการใช้กระบวนเรือในการพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินของพระมหา กษัตริย์ กฐินหลวงกับกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ประเพณีการถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทาง ชลมารคเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร แต่ในปีพุทธศักราช 2505 กระบวนเรืออัน วิจิตรอลังการก็กลับมามีชีวิตโลดแล่นอีกครั้ง หลังจากว่างเว้นไปกว่า 30 ปี  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเล็งเห็นว่าขนบประเพณีนี้ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ฟื้นฟู ขึ้น นับจากนั้นเป็นต้นมา ภาพกระบวนเรือ กลางลำน้ำเจ้าพระยา ที่มีพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามเป็นฉากหลังก็ติดตาตรึง ใจผู้คนทั่วโลกล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา มหานครอันจอแจอย่างกรุงเทพฯก็แทบจะหยุดนิ่ง และสายน้ำเจ้าพระยาได้หวนคืนสู่ ความเกรียงไกรอีกครั้ง เมื่อฝ่ายเตรียมงานได้ปิดเส้นทางเดินเรือชั่วคราว เพื่อประกอบพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม  เป็นการเสด็จพระ-ราชดำเนินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะจัดขึ้นเฉพาะในวาระพิเศษอัน เป็นมหามงคลเท่านั้น นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเดิมทีเรือเหล่านี้ถูกใช้ ในการศึกสงคราม แต่เมื่อบ้านเมืองว่างเว้นจากการศึก จึงมีการรวมพลเพื่อฝึก ซ้อม ซึ่งประจวบเหมาะกับช่วงเวลาของบุญกฐิน จึงได้มีการใช้กระบวนเรือรบแห่ ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ นำพาความรื่นเริงบันเทิงใจมา สู่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่มารอเฝ้าชมพระบารมี และอิ่มบุญที่ได้โดย เสด็จพระราชกุศล ตลอดสองฝั่งแม่น้ำ กฐินที่เป็นการเสด็จพระราชดำเนินโดยพระมหากษัตริย์จัดเป็น ”กฐินหลวง„ ทั้ง สิ้น ซึ่งรวมถึง ”กฐินต้น„ ด้วย ในส่วนกฐินหลวงนั้นจะมีพระอารามหลวงรวม 16  พระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์ เอง หรือทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือผู้แทนพระองค์ไปทอดถวาย โดยส่วนใหญ่อยู่ ในกรุงเทพมหานคร ในต่างจังหวัดมีเพียงจังหวัดนครปฐม (วัดพระปฐมเจดีย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วัดนิเวศธรรรมประวัติและวัด สุวรรณดาราราม) และจังหวัดพิษณุโลก (วัดพระศรีรัตน-มหาธาตุ) ส่วนการเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชประสงค์ที่จะ ถวายเป็นพิเศษ ไม่เจาะจงว่าเป็นพระอารามหลวงหรือไม่ จัดเป็น พระกฐินต้น และเนื่องจากเมืองไทยมีวัดหลวงอีกมากมาย จึงมีการเปิดโอกาสให้ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ องค์การ สมาคม มูลนิธิ บริษัท ห้างร้าน และประชาชนทั่วไป สามารถขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน ไปถวายได้ โดยมีหน่วยงานกลางคือ กรมการศาสนา เป็นผู้ประสานดูแล กฐินดัง กล่าวเรียกว่า ”กฐินพระราชทาน„ กฐินราษฎร์ ไกลออกไป 400 กิโลเมตรจากเมืองหลวง ชาวบ้านที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัด สุรินทร์ กำลังร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน พวกเขามารวมตัวกันในขบวนแห่เล็กๆ ที่มีข้าวของเครื่องใช้มากมาย ธนบัตรหลากสีสันและมูลค่าประดับตกแต่งเป็น ต้นไม้ และที่ขาดไม่ได้คือผ้ากฐินที่บรรจงวางไว้อย่างดี ประเพณีทอดกฐินของชาวบ้านที่นี่ก็ไม่ต่างจากท้องถิ่นชนบทอื่นๆ เพราะถือเป็น งานบุญประจำปีที่พวกเขาร่วมแรงร่วมใจกันจัด ศรัทธามากล้นนำพาให้เกิดงานบุญ เอิกเกริก วัดวาได้รับการปัดกวาด ประดับประดาไปด้วยธงทิวและดอกไม้ บรรยากาศ ครื้นเครงด้วยงานมหรสพรื่นเริง ลูกหลานทั้งที่อาศัยอยู่ในชุมชนและที่อพยพไป ทำงานต่างถิ่นพร้อมใจกันกลับบ้านเกิด หอบหิ้วของฝากและเงินทำบุญครอบครัวได้ อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา ส่วนหนุ่มสาวก็ถือโอกาสเที่ยวชมมหรสพทั้งคืน”แรกเริ่ม เดิมทีเจ้าภาพถวายผ้ากฐินคงมีเพียงรายเดียว„ อาภาอรเศรษฐสิทธากุล พุทธศาสนิกชนที่เคยเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐิน เล่า ”ต่อมา คงมีคนศรัทธาอยากทำบุญมากขึ้น เลยเปิดโอกาสให้เป็นเจ้าภาพร่วมกันกลายเป็น กฐินสามัคคี„ เธอเล่าต่อว่า การเตรียมงานบุญกฐินไม่ใช่ เรื่องยากเลย เมื่อปวารณาหรือจองกฐินไว้เรียบร้อยแล้วมีเพียงองค์กฐินหรือ ผ้ากฐินก็ถือว่าใช้ได้ แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มบริวารกฐิน เช่น อัฐบริขาร และ จตุปัจจัยไทยธรรมอื่นๆ ที่จัดเตรียมไปถวายวัดร่วมกับองค์กฐินด้วย”องค์กฐิน และบริวารไม่ว่าจะมาจากเจ้าภาพรายเดียวหรือหลายรายก็นับว่าเป็นมหากฐิน ค่ะ„ อาภาอรให้ความเห็นในฐานะคนใกล้วัด ส่วนการเพิ่มคำว่า ”มหา„ เข้าไปนัย ว่าเพื่อให้พึงระลึกถึงผลของบุญ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงกฐินอีกรูปแบบหนึ่งที่ว่ากันว่าทำยาก แต่ให้ผลบุญ หรืออานิสงส์สูง คือ ”จุลกฐิน„หรือ  ”กฐินแล่น„ ซึ่งนิยมทำกันในสมัยโบราณ เมื่อมีผู้เห็นว่าวัดบางแห่งยังไม่ได้ กฐิน และใกล้จะหมดกฐินกาลจึงต้องช่วยกันเตรียมผ้ากฐิน ตั้งแต่เก็บฝ้าย ปั่น ฝ้าย ทอผ้า ย้อม และเย็บ) ให้เสร็จและทอดภายในวันเดียวกัน การทำบุญกฐินแบบนี้จึง ต้องอาศัยคนหมู่มาก และเป็นไปอย่างไม่รีรอ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ”กฐิน แล่น„ซึ่งเรียกตามกิริยา คือ ”แล่น„ เป็นคำอีสาน ที่แปลว่า เร่งรีบ ต้องแล่น (วิ่ง) จึงจะเสร็จทันกาล กฐินอีกอย่างที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ ”กฐินโจร„ บางท้องถิ่นเรียก ”กฐินตก„) ที่ต้องรีบดำเนินการ โดยมากมัก เป็น วัดที่ตกค้างยังไม่ได้รับกฐิน และใกล้สิ้นหน้าทอดกฐินหรือกฐินกาลแล้วเช่น กัน แต่พิธีการไม่ยุ่งยากเท่าจุลกฐิน ที่เรียกว่ากฐินโจร สันนิษฐานว่ามักทำกันแบบไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆก็ไป ทอด ไม่บอกกล่าวให้ทางวัดรู้ล่วงหน้า
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
ตุลาคม 2551
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2010, 18:28:07 โดย pani »