ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดนวัตกรรมวัคซีนเข็มเล็ก กันหวัดใหญ่ ฉีดผ่านผิวหนัง ลดเสียว กระตุ้นภูมิต้านทาน  (อ่าน 1087 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

       “หมอประเสริฐ” ชี้ “ไข้หวัดใหญ่” ยังอันตรายในกลุ่มทีมีภาวะแทรกซ้อน เตือนแม้สถานการณ์ในไทยยังปกติ แต่ไม่ควรประมาท หนุนประชาชนรับวัคซีนป้องกันโรค ขณะซาโนฟี่ เปิดนวัตกรรม “วัคซีนเข็มเล็ก”ชนิดฉีดเข้าในผิวหนัง เป็นทางเลือกสำหรับคนกลัวเข็ม
       
       วันนี้ ( 10 ก.ค.) ที่โรงแรมเรเนซองส์ กทม.ศ.นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวในการแถลงข่าว “สถานการณ์และแนวโน้มของโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยและทางเลือกใหม่ของการป้องกันไข้หวัดใหญ่-ด้วยวัควีนชนิดฉีดเข้าผิวหนัง ซึ่งเป็นวัคซีนเข็มเล็ก” ที่จัดโดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิกับ บ.ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ ว่า ขณะนี้ สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกในขณะนี้ถือว่ายังปกติ ส่วนในประเทศไทย ที่สำรวจโดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยแล้ว 13,677 ราย โดยกลุ่มที่ติดเชื้อมากที่สุด คือ วัยทำงานอายุระหว่าง25-34 ปี อาจเป็นไปได้ว่าคนกลุ่มดังกล่าวอยู่ในที่เดียวกันจะก่อให้เกิดการระบาดมากขึ้น รองลงมาเป็นเด็กเล็ก ส่วนมากจะติดต่อจากสถานศึกษาและมักเผยแพร่ให้คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด โดยเชื้อไวรัสที่พบบ่อยที่สุด คือ สายพันธุ์เอ เอช 1 เอ็น 1(A H1N1) ชนิดเอ เอช 3 เอ็น 2 (A H3N2) ขณะที่เชท้อไวรัสสายพันธุ์บี(B) มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยพบ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย โดยอาการของโรคไข้หวัดใหญ่นั้นไม่อันตรายมากนักแต่หากมีอาการแทรกซ้อนจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพมากกว่า เช่น อาการปอดบว กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ ก็อาจถึงชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันด้วยวิธีการฉีดวัคซีน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เองก็ถือว่าดำเนินการอย่างถูกทา งโดยทราบว่า ขณะนี้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องวัคซีนประมาณ 2-3 ล้านโดสก็น่าจะเพียงพอ แต่อยากเน้นย้ำว่า ควรที่จะมีการเร่งรัดเรื่องมาตราการการเข้าถึงวัคซีนให้มากขึ้น เพราะประชาชนบางรายบ้านไกลจากสถานบริการสาธารณสุข รวมทั้งควรเพิ่มจำนวนบุคลากรทางกาแพทย์ให้มีการซักประวัติเพิ่มเติมด้วย เพราะอาการของไข้หวัดที่น่ากลัว คือ พบแพทย์ล่าช้า ตรวจไม่ละเอียด ส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนตามมา และยิ่งในผู้ที่มีโรคประจำตัวก็ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อันตราย
       
       ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การเฝ้าระวังยังคงต้องเน้นที่ 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง มะเร็งที่กำลังรับเคมีบำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย และภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ 2.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 3.ผู้มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก. 4.ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 5.เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี 6.หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 7.บุคลากรทางการแพทย์เจ้าหน้าที่ที่ให้การดูแลรักษาผู้เจ็บป่วย และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสัตว์ปีก ซึ่งกลุ่มสุดท้ายช่วงแรกพบปัญหาไม่ค่แยรับบริการวัคซีน แต่ระยะหลังเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น
       
       พญ.สุเนตร ชื่นกิจมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บ.ซาโนฟี่ ฯ กล่าวว่า การฉีดวัควีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ได้ผล คือ ต้องฉีดทุกปี โดยที่ผ่านมาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ใช้กันอยู่จะเป็น ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular) ซึ่งปกติจะฉีดเข้าที่ต้นแขน แต่ในปัจจุบันด้วยความเจริญทางการแพทย์ ทำให้มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จากแบบเดิมนี้มาเป็นชนิดฉีดเข้าในผิวหนัง (intradermal) ด้วยการใช้นวัตกรรมของเข็มที่มีขนาดเล็กมาก(Micro Injection System) หรือ อาจเรียกได้ว่า “วัคซีนเข็มเล็ก” ซึ่งจากผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารวัคซีนเมื่อปี 2552 - 2553 ในผู้ใหญ่อายุ 18 - 60 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี จำนวนกว่า 7,000 คนในทวีปยุโรป  ผลภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ของผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนชนิดฉีดเข้าในผิวหนังพบว่าภูมิคุ้มกันสูงกว่าการฉีดเข้ากล้ามตามปกติ และสามาถสร้างภูมิได้เทียบเท่าวัคซีนแบบเดิมในผู้ใหญ่อายุ 18-60 ปี  โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานน้อยซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายขึ้น และเสี่ยงต่อการมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้มากขึ้น อีกทั้งการตอบสนองต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ยังลดลงอีกด้วย นอกจากนี้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนี้ยังช่วยลดอาการของคนกลัวเข็มได้ด้วย เพราะเจ็บไม่นานและมีขนาดเข็มสั้นกว่าสามารถรับได้ตั้งแต่ชั้นผิวหนัง ลดอาการเสียวกล้ามเนื้อที่หลายคนกังวล ///////////////