ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยร่วมมือ WHO จัดประชุมเครื่องมือแพทย์นานาชาติหลังทั่วโลกเสียค่าโง่แพงหูฉี่  (อ่าน 2036 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 สิงหาคม 2553 

ไทยร่วมองค์การอนามัยโลก เตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมเครื่องมือแพทย์นานาชาติ 9 ก.ย.นี้ หลังพบทั่วโลกเสียค่าเครื่องมือแพงฉี่ ร่วมกว่า 6 ล้านล้านบาท ขณะไทย เสีย 2 หมื่น 5 พันล้านบาท ผู้แทน WHO หวังใช้เวทีนานาชาติเร่งหาทางแก้
       วันนี้ (27 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค สธ.แถลงข่าว "การประชุมนานาชาติ เรื่องเครื่องมือแพทย์ ครั้งที่ 1 (The first Global Forum on Medical Device ) ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุม ภายใต้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 9-11 ก.ย.นี้ ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินีโดย นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า เนื่องจากพบสถิติที่หลายๆ ประเทศต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านแพทย์ถึงปีละกว่า 6 ล้านล้านบาท โดยเป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยกว่า 25,400 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มีการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในเทคโนโลยีระดับสูง ขณะเดียวกัน ประเทศไทยเองก็ถือได้ว่าเป็นผู้ส่งออกเครื่องมือแพทย์ที่สำคัญ เช่น ถุงมือและถุงยางอนามัยเป็นมูลค่าสูงที่สุดในโลก ด้านสถานการณ์ในระดับนานาชาติ ขณะที่ประเทศอื่นๆ หลายแห่งกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็น รวมทั้งใช้อย่างไม่สมเหตุสมผล

นพ.สุวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์ด้านปัญหาของเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย คือ 1.การของเข้าถึงเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นในกลุ่มคนยากจนหรือรายได้น้อยที่ไม่สามารถจ่ายค่าบริการได้ 2.การใช้เครื่องมืออย่างไม่เหมาะสมใช้ โดยไม่จำเป็น ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น ใช้การตรวจเอ็กซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เกินความจำเป็น 3.คุณภาพของเครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้
       
       “เชื่อว่า การประชุมที่จะเกิดขึ้นจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเร่งหาทางในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ และเกิดการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขที่จะร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กับผู้ร่วมเข้าประชุมกว่า 300 คน จาก 90 ประเทศ” นพ.สุวิทย์ กล่าว
       
       ด้านดร.มัวรีน เบอร์มิงแฮม (Dr.Maureen Birmingham) ผู้แทนขององค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ของค่าใช้จ่ายในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ อาทิ ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจริงในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมือประจำสถานพยาบาล ปัญหาด้านบุคลากรที่ยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้เครื่องมือแพทย์ที่ถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลให้หน่วยงานสาธารณสุขหลายแห่งที่มีเครื่องมือแพทย์ดีๆ มีมาตรฐานแต่กลับไม่ใช้บุคลากรเชี่ยวชาญที่สามารถใช้เครื่องมือแพทย์ เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยได้ทั่วถึง และบางครั้งการให้บริการแบบผิดๆ ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ ดังนั้น การร่วมมือในการเร่งดำเนินการในเรื่องกรอบความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งคำตอบที่ดีจะต้องมาจากความคิดเห็นในเชิงนโยบายของเครือข่ายสาธาารณสุขทั่วโลก
       
       “แม้ทาง WHO จะไม่มีการจัดลำดับชัดเจนว่าประเทศใดที่ประสบปัญหาเรื่องเครื่องมือแพทย์มากที่สุด แต่ก็พอจะมองเห็นแนวโน้มได้ว่าในหลายๆ ประเทศย่อมมีปัญหาอย่างแน่นอน แม้แต่ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ในเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ” ดร.มัวรีน กล่าว
       
       ดร.มัวรีน กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ทีมแพทย์กำลังศึกษาว่า สารปรอทที่ใช้ในในเมอคิวรีปรอทวัดไข้นั้น อาจมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้เมื่อหมดอายุการใช้งาน ซึ่ง WHO ก็จะได้ใช้เวทีในการประชุมนานาชาติครั้งนี้ เพื่อหารือกันว่าในอนาคตอาจใช้เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์โรคอย่างเดียว ที่เรียกว่า ซีพีอาร์