ผู้เขียน หัวข้อ: นำร่อง "รำผีฟ้ารักษาผู้ป่วย" สืบสานใช้สมุนไพรกับปราชญ์ท้องถิ่น  (อ่าน 1257 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
วันนี้(  6  ก.ค.)  ที่ห้องประชุมโรงแรมตักสิลา จ.มหาสารคาม  โดยคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร    สำนักวิทยาศาสตร์  ราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง  “การสัมมนาเพื่อสืบสานภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรไทยกับปราชญ์ท้องถิ่น  ครั้งที่  1 โดยมี  ศาสตราจารย์ ดร.สันทัด  โรจนสุนทร  อุปนายกราชบัณฑิตยสถาน  เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
           

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์  พิเชียรสุนทร  ราชบัณฑิต  เลขานุการสำนัก  วิทยาศาสตร์  ราชบัณฑิตยสถาน  กล่าวว่า  สำหรับการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร  สำนักวิทยาศาสตร์  เรื่องการสืบสานภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรกับปราชญ์ท้องถิ่นในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับปราชญ์ท้องถิ่นทางด้านสมุนไพร ของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่และจำนวนประชากรมากที่สุด  โดยการแพร่ความรู้แก่ผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการด้านที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย  การแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพรให้กับผู้ที่สนใจนั้น  ถือเป็นการสืบสานภูมิปัญญาการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้พัฒนาสืบสานภูมิปัญญาการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้พัฒนาสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างเข้มแข็ง และเกิดประโยชน์สูงสุด


รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์  พิเชียรสุนทร  ราชบัณฑิต  เลขานุการสำนักวิทยาศาสตร์  ราชบัณฑิตยสถาน  กล่าวว่า โครงการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร  สำนักวิทยาศาสตร์  เป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามพันธกิจของราชบัณฑิตยสถานให้ดียิ่งขึ้น  โดยเฉพาะด้านการให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชนในปีนี้  ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกของสำนักวิทยาศาสตร์ในประเภทวิชาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  อันได้แก่  สาขาวิชาแพทยศาสตร์  สาขาวิชาพฤกษศาสตร์  สาขาวิชาเภสัชศาสตร์  ได้เห็นสมควรนำความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับปราชญ์พื้นบ้านทางด้านสมุนไพร  เพื่อสืบสานความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทยในการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้พัฒนาสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างเข้มแข็ง  โดยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับปราชญ์ท้องถิ่นทางด้านสมุนไพร  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่และจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นภาคแรก  และจำนำข้อมูลความรู้ที่ได้จากการประชุมครั้งนี้  จัดพิมพ์เผยแพร่แก่ผู้ที่อยู่ในวงวิชาการด้านที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรไทยและประชาชนที่สนใจต่อไป


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานได้มี  การปาฐกถาเรื่อง  การแพทย์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  การอภิปรายเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพกับภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  เรื่องภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านอีสาน และการบรรยายเรื่อง  เอกสารโบราณด้านการแพทย์พื้นบ้านอีสาน  โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมบรรยาย


โดยนางก้าน สีหาตา  แม่หมอ บ้านหนองแสง ม.2 ต.สงเปลือยเขาวง จ.กาฬสินธ์ หนึ่งในผู้ร่วมบรรยาย เล่าว่า  ตนรำผีฟ้ารักษาคนมามาตั้งแต่สมัย ปู่ย่าตายาย ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีผู้ป่วยมารักษากับตนเองอยู่เรื่อยๆ โดยผู้ป่วยจะนำขัน 5 มาขอร้องให้ไปรักษา  โดยมีแม่หมอ หรือหัวหน้าผีฟ้า และบริวาร ก็เดินทางไปรักษาผู้ป่วย โดยทางผู้ป่วยจะต้องเตรียมตัว โดยมีผ้าขาว ง้าว ไข่ไก่ 2  ฟอง ข่าวสาร 2 ถัง  เงินลาด 3 อัน เหล้าขาว 1ขวด  น้ำอบ  เงิน 7 บาท หมอแคน  1 คน แม่หมอ 1 คน และ บริวารอีก4 คน แล้วแม่หมอก็จะเชิญผีปู่ย่าตายาย มาถามจะเสี่ยงทายว่ามีผีตนใดมาทำให้เราเจ็บป่วย จะเสี่ยงทายว่าจะหายหรือไม่   ถ้าคนป่วยรุกขึ้นมารำแสดงว่าคนป่วยหายแล้ว  เมื่อรักษาหายแล้ว แม่หมอไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายใด ๆ แล้วแต่ผู้ป่วยจะให้ หรือไม่ให้ก็ได้  โดยมากแล้วคนป่วยได้ไปรักษากับหมอแผนปัจจุบันแล้วหายจึงต้องหันมาพึ่งหมอผีฟ้าที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่กำลังจะสูญหายไป


รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์  พิเชียรสุนทร  ราชบัณฑิต  เลขานุการสำนักวิทยาศาสตร์  ราชบัณฑิตยสถาน  กล่าวอีกว่า การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีรำผีฟ้า อาจเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาของผู้ป่วย ที่มามาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตา ยาย ซึ่งเมื่อคนเราสุขภาพจิตที่ดีก็ทำให้สุขภาพดีด้วย ก็จะทำไม่เจ็บไข้ได้ป่วย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กำลังใจดีก็ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย