ผู้เขียน หัวข้อ: มติคณะทำงานพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธาร ณสุข พ.  (อ่าน 2158 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1282951726

มติคณะทำงานพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธาร ณสุข พ.ศ. …
วันที่ 27 สิงหาคม 2553 
ณ ห้องประชุม1 ชั้น 2 ( ชัยนาทนเรนทร) ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
 
1. ที่ประชุมพิจารณาเลือก  ศ.นพ. อาวุธ ศรีสุกรี เป็นประธาน
2. เลือก  นอ.(พ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ เป็น เลขานุการ
3. เลือก พล.อ.ต. นพ.การุณ  เก่งสกุล เป็น โฆษกเพื่อแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน 
    รองโฆษกประกอบด้วย นพ. อุสาห์  พฤฒิจิระวงศ์
         นาวาเอก โสภณ รัตนสุมาวงศ์
          พญ. สุธัญญา บรรจงภาค
4. ที่ประชุมมีมติให้แถลงต่อสื่อมวลชนดังนี้
     คณะทำงานฯมีความเป็นห่วงร่าง พรบ. ฉบับนี้เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เหตุผลคือ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ดูผิวเผินเหมือนจะดี แต่เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบทุกมิติแล้ว พบว่าได้ซ่อนเร้นข้อบกพร่องอันร้ายแรงไว้หลายประการ และสิ่งที่คณะทำงานฯเป็นห่วงมากคือ ในที่สุดแล้วการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนจะแพงขึ้นอย่างมหาศาลเพราะจะเส ียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการบริหารกองทุน และก่อให้เกิดความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ทั้งผู้ป่วย แพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขทั้งปวง ตัวอย่างคือกองทุนนี้มีเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ค่าบริหารที่ขอไว้คือร้อยละ ๑๐ เป็นเงินประมาณ ๑๐๐ ล้านบาทต่อปี   เงินจำนวนนี้ไม่ถึงประชาชนเพราะกรรมการนำไปใช้ในการบริหาร ซึ่งกลไกในการตรวจสอบการใช้เงินในร่างพรบ.ฉบับนี้ก็ไม่ชัดเจน คณะทำงานฯคิดว่าประชาชนควรได้ประโยชน์ที่แท้จริงมากกว่านี้ครับ   

จุดยืนของคณะทำงานฯชุดนี้คือแพทย์ พยาบาลและภาคีสาธารณสุขทุกภาคส่วนจะยืนเคียงข้างประชาชนเสมอ เราทราบดีถึงข้อกังวลของประชาชนในเรื่องเงินช่วยเหลือเมื่อท่านได้รับความเด ือดร้อน เรื่องนี้มีทางออกครับ คือปัจจุบันเมื่อประชาชนได้รับความเสียหายจากระบบบริการทางการแพทย์และสาธาร ณสุข ตามมาตรา ๔๑ ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถขอความช่วยเหลือได้อยู่แล้วอย่างรวดเร็ว คณะทำงานฯเสนอให้มีการขยายความคุ้มครองไปยังประชาชนทุกคนทุกสิทธิ์  เงินกองทุนนี้มีอยู่จำนวนมหาศาลและยังใช้ประโยชน์ให้ประชาชนยังไม่เต็มที่  เรื่องนี้กำลังดำเนินการครับ และอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการบริหาร สปสช. และรมต.สาธารณสุขโดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาไปออกกฎหมายใหม่อีก เพียงแต่ออกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เท่านี้ประชาชนทุกคนทุกสิทธิ์ก็จะได้ประโยชน์ทันทีอย่างเต็มที่  ขอเรียนอีกครั้งหนึ่งครับว่าเราอยู่เคียงข้างประชาชนเสมอ

ประเด็นต่อไปคือเรื่องนี้มีผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขทั้ง ประเทศ และมีแนวโน้มสูงที่จะก่อความเดือดร้อนให้กับผู้ป่วย แพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขทั้งปวง จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบอย่างถ่องแท้ ไม่ควรเร่งรีบ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะทำงานทั้งหมด 9 กลุ่ม ประกอบด้วย
 1. คณะแพทยศาสตร์และกสพท 
2. ผู้ตรวจราชการ สธ. 18 เขต 
3. กลุ่มสมาพันธ์แพทย์ รพศ/ รพท
 4. การแพทย์และการสาธารณสุข กทม. 
 5.  แพทย์ ๔ เหล่าทัพ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และ แพทย์ สตช.
 6. แพทยสมาคมฯ/รพ.เอกชน/คลินิกเอกชนต่าง ๆ
 7. แพทยสภาและภาคีวิชาชีพ
 8. คปส และภาคประชาชน
 9. สมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะทำงานแต่ละคณะไปจัดทำประชาพิจารณ์ ต่อประชาชนและบุ คลากรสาธารณสุขภายในกลุ่มและนำเสนอต่อคณะทำงานชุดใหญ่ ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาประมาณ ๑ เดือน และรวบรวมเป็นข้อสรุปในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อนำเสนอต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและนายกรัฐมนตรีต่อไป ขอเรียนว่าที่ต้องใช้ระยะเวลาศึกษาพิจารณ์นาน เพราะพี่น้องในระบบสาธารณสุขของเราทั่วประเทศมีจำนวนประมาณถึง ๓๐๐,๐๐๐ คนครับ และคณะทำงานฯต้องการความคิดเห็นที่แท้จริงทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเต็มที่ครับ 
 ขอเรียนอีกประการหนึ่งครับว่าครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันของแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด และบุคลากรสาธารณสุขทุกสังกัดทุกระดับจำนวนมากที่สุด อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยจุดยืนเดียวกันคือ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน และเพื่อเยียวยาระบบสาธารณสุขของประเทศไทย

คำถาม-คำตอบ
การทำประชาพิจารณ์ประมาณ ๑เดือน จะทันต่อการออกกฎหมายไหม?
ดังที่ผมได้กล่าวในเบื้องต้นไว้แล้วว่า พรบ.ฉบับนี้มีผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขทั่วประเทศอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มสูงที่จะทำให้ผู้ป่วย แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทุกระดับได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วหน้า และที่สำคัญมากคือยังไม่เกิดประโยชน์ที่แท้จริงและเต็มที่ต่อประชาชน จึงควรพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างยิ่งครับ ขั้นตอนในการออกกฎหมายก็คงต้องดำเนินต่อไป แต่ถ้าผู้เกี่ยวข้องเห็นแก่ประโยชน์สูงสุดของประชาชน ก็ควรชลอไว้ก่อนครับ ขอเวลาให้คณะทำงานได้ดำเนินการด้วยครับ  ผมคาดว่าในการประชุมครั้งต่อไปเราจะได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ ต่อประชาชนอย่างแท้จริง
 
การประชุมในวันนี้จะสรุปนำเสนอต่อปลัดกระทรวงและรมต.หรือไม่?
คงสรุปนำเรียนเป็นความก้าวหน้าของคณะทำงานฯครับ ถ้าเปรียบทางการแพทย์วันนี้เราได้การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นครับและได้แนวทางไ ปสืบค้นข้อมูลที่แท้จริงเพิ่มเติมอย่างเป็นระบบ แล้วนำมาสรุปเป็นการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย เพื่อประโยช์สูงสุดของผู้ป่วย ให้หายขาดจากโรคร้ายแรง ไม่ใช่หายชั่วคราวและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรังต่อไป

คณะทำงาน ๙ กลุ่มประกอบด้วยใครบ้าง?
 มาจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศครับ ครั้งนี้เราได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่อย่างไม่เคยมีมาก่อน พวกเราหลายท่านมีความเสียสละอย่างมากอย่างน่าชมเชย เหมือนการปิดทองหลังพระ มี๙กลุ่มดังนี้ครับ ตามลำดับ๑-๙
 
“ ในท้ายที่สุดนี้ผมขอกล่าวอีกครั้งหนึ่งครับว่าบุคลากรสาธารณสุขทุกคนทุกภาคส ่วน ยืนอยู่เคียงข้างประชาชนเสมอ ท่านสุขภาพแข็งแรงเราก็สบายใจ การจัดการระบบสาธารณสุขของประเทศเป็นเรื่องซับซ้อน มีทางเลือกหลายรูปแบบ และใช้เงินมหาศาลแบบถมไม่เต็ม กลไกในการบริหารกองทุนต่างๆในระบบสาธารณสุขมีช่องโหว่ของกฎหมายให้เกิดรูรั่ วได้มาก ดังที่ปรากฏกับกองทุนต่างๆ ซึ่งผมไม่ขอกล่าวในที่นี้  คณะทำงานฯพร้อมที่จะปกป้องดูแลประชาชนให้ได้รับประโยชน์สูงสุดครับ คำตอบจะอยู่ในการประชุมคราวหน้าซึ่งอาจจจะเร็วกว่า ๑ เดือนครับ ถ้าเครือข่ายของเราทั่วประเทศทำงานทัน”    ขอบคุณครับ และขออภัยที่ทุกท่านต้องรอนานในวันนี้ 
 
พล.อ.ต. นพ. การุณ เก่งสกุล  โฆษกคณะทำงานฯ      ผู้แถลงข่าว

เรียน เลขานุการคณะทำงานพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
ตามที่ท่านได้ส่งมติคณะทำงานมานั้น ทางสมาชิกกลุ่มที่ 9 ขอแจ้งให้ทราบว่า ชื่อกลุ่มที่ 9 นั้นไม่ถูกต้อง จึงขอแจ้งให้ทางเลขานุการคณะทราบ
และ
ขอให้แก้ไขชื่อที่ถูกต้องของคณะทำงาน
กลุ่มที่ 9 ให้ถูกต้องคือ "สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย" ชื่อย่อ "สผพท." ชื่อภาษาอังกฤษคือ " Federation of Healthcare Workforce of Thailand " FHWT"
ขอบคุณค่ะ
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.