ผู้เขียน หัวข้อ: ปปท.ฟ้องทุจริตยา-โพสท์ทูเดย์ 23 สค 2553  (อ่าน 1626 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ปปท.ฟ้องทุจริตยา-โพสท์ทูเดย์ 23 สค 2553
« เมื่อ: 26 สิงหาคม 2010, 11:49:27 »
ป.ป.ท. ลากไส้กระบวนการทุจริตยา เตรียมส่งหลักฐานฟ้องผู้อำนวยการโรงพยาบาล 23 แห่ง จ่อคิวไล่ตรวจบัญชีข้าราชการที่ซิกแซ็กเบิกค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 1 หมื่นราย

ความคืบหน้าการตรวจสอบการทุจริตยาในแวดวงข้าราชการ มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่กรมบัญชีกลางกำลังสอบสวน เนื่องจากมีข้าราชการร่วมกับโรงพยาบาลเบิกเงินเกินจริงนั้น

นายภิญโญ ทองชัย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยว่า หลังถึงความคืบหน้าการตรวจสอบการทุจริตยาในแวดวงข้าราชการมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยล่าสุดหารือกับกรมบัญชีกลางเพื่อรวบรวมหลักฐานการทุจริตยา เพื่อเตรยมเตรียมจะยื่นฟ้องระดับผู้อำนวยการโรงพยาบาล 23 แห่ง และแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทุจริตการเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ

“ขณะ นี้ปปท.หารือกรมบัญชีกลางที่จะสรุปการทุจริตและเสนอรัฐบาลกำหนดแนวทางการ ป้องกัน รวมทั้งดำเนินคดีทั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาล หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ซึ่งมีครบทุกกลุ่ม ซึ่งจะยื่นฟ้อง 23 แห่ง ซึ่งโรงพยาบาลที่จะถูกดำเนินคดีเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐ ทั้งนี้ถ้าตรวจสอบเจอปปท.สามารถที่จะร้องทุกข์ดำเนินคดีได้เพราะเป็นหน้าที่ ของปปท.ที่จะดำเนินคดีกับรข้าราชการที่ทุจริต แต่จะให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้ฟ้องร้องก็ก็ได้เพราะเป็นผู้เสียหายโดยตรง หรือโรงพยาบาลก็ร้องทุกข์ได้ จะสรุปผลให้ได้ในเดือน ก.ย.นี้เพราะข้อมูลหลักฐานเริ่มที่จะครบแล้ว ในเบื้องต้นกรมบัญชีกลางเป็นเจ้าภาพในการฟ้องร้องเพราเป็นผู้เสียหายโดยตรง” นายภิญโญ กล่าว

นอกจากนี้ ป.ป.ท.กำลังตรวจสอบว่าคณะกรรมการที่พิจารณาการขึ้นบัญชียาแต่ละโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับบริษัทยาอย่าง ไรถ้าตรวจสอบรายละเอียดชัดเจนจะทำให้เห็นโครงสร้างกระบวนการทุจริตได้ครอบ คลุมมากขึ้น และ และากพบว่าคณะกรรมการ รพ.ของรัฐมีความสัมพันธ์กับบริษัทยาก็เป็นการขัดแย้งผลประโยชน์จะทำให้มี หลักฐานเชื่อมโยงได้ชัดขึ้น

ใน ขณะเดียวกันปปท.อยู่ก็ระหว่างการขอข้อมูลข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรมบัญชีกลาง มีผู้ได้สิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลข้าราชการและรัฐวิสาหกิจประมาณ 4 ล้านคน ว่ามีจะขอดูว่าข้าราชการที่ที่เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลมากที่สุดที่ติด 1 ใน 1 หมื่นคน ที่เบิกเงินสูงสุดผิดปกติ หรือ มีคนที่เบิกบ่อยมากที่สุด เพื่อมาหาร่องรอยการทุจริต และสรุปทำรายงานกรมบัญชีกลางและเสนอรัฐบาล แนวทางการแก้ไขต่อไป หลังจากก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีไปแล้ว 8 ราย ซึ่งมีการเบิกยารายละ 16 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ ป.ป.ท.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบร้านขายยาข้างโรงพยาบาล ซึ่งพบว่ามีบุคลากรของโรงพยาบาลนำไปขายให้ในราคาถูก 60-70% และตรวจสอบการซื้อขายยาในเว็บไซต์เพื่อสาวหาต้นตอว่ามีการลักลอบเอายาไปขายได้อย่างไร

นายภิญโญกล่าวว่าจากการตรวจสอบภาพรวมใหญ่ที่มีการทุจริตมากที่สุด คือ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และบริษัทยา โดยมีมูลเหตุจูงใจสำคัญ คือ ค่าคอมมิชชันประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทปปท.ประมาณว่าค่าคอมมิชชั่นประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทคิดเป็น 30 % จากราคายาที่มีการซื้อขายกันทั้งหมด 4-5 หมื่นบาท และค่ายาส่วนใหญ่ 4 หมื่นกว่าล้านบาท จะกระจายอยู่ในโรงพยาบาลหลักๆ คือ รพ.ระดับศูนย์ รพ.มหาวิทยาลัย มีประมาณ 100 แห่ง ซึ่งรพ.ระดับชุมชนไม่มีปัญหาเพราะจะใช้ยาในบัญชียาหลัก ส่วน ยานอกบัญชียาหลักซึ่งส่วนใหญ่เป้นยานอกประเทศที่มีราคาแพงไม่ค่อยได้ใช้ เพราะว่าถ้าคนไข้เป็นโรคที่ซับซ้อนรพ.ชุมชนก็ส่งมารักษาที่รพ.ขนาดใหญ่ รพ.ศูนย์หรือ รพ.มหาวิทยาลัย เช่นรพ.ศิริราช รพ.จุฬา รพ.รามาธิดีเป็นต้น