ผู้เขียน หัวข้อ: หมอชนบทแฉจัดซื้อสธ.ส่อตุกติกเกินราคาจริง/บางรายการใช้งบฯสปสช.แต่ผู้ป่วยบัตรทองไม่มีสิทธิ์ใช้  (อ่าน 1054 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2555 00:00:25 น.
สาธารณสุข * แพทย์ชนบทแฉ สธ.ตั้งงบจัดซื้อเครื่องมือตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารด้วยคลื่นความถี่สูงเกินราคาจริงแถมยังซื้อเครื่องเลเซอร์พลังงานสูงรักษาต่อมลูกหมากโต ราคาแพง ใช้งบ สปสช. แต่ผู้ป่วยบัตรทองกลับไม่มีสิทธิ์ใช้บริการ เพราะอยู่นอกโครงการ



นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบทและอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ได้รับข้อมูลจากคนที่รักกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ส่งข้อมูลและรายการเครื่องมือที่ส่อเจตนาทุจริตอย่างชัดเจนคือชุดเครื่องมือตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารด้วยคลื่นความถี่สูง(EUS) ที่ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. อนุมัติให้กับ รพ.วชิระภูเก็ต รพ.ปทุมธานี งวดที่ 1 ตามหนังสือที่ สธ.0209.01/79 ลงวันที่ 19 มี.ค.2555 และ รพ.ราชบุรี งวดที่ 2 ตามหนังสือที่ สธ.0209.01/80 ลงวันที่ 23 มี.ค.2555 ในราคาเครื่องละ15 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 25.5 ล้านบาท แต่จากข้อมูลที่ได้รับพบว่า รพ.เลิดสิน ในสังกัดกรมการแพทย์ ซื้อไปในราคา 10.7 ล้านบาท และคณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ซื้อได้ในราคา 10.96 ล้านบาท แสดงว่าราคาในงบค่าเสื่อมตั้งไว้สูงกว่าปกติเครื่องละ4-5 ล้านบาท และทราบมาว่าในหลาย รพ.ได้รับการทาบทามให้ทำเรื่องขอเครื่องนี้เข้าไปยังส่วนกลางในส่วนงบที่เหลือที่ยังไม่ได้จัดสรร

ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวต่อว่า นอกจากนั้นยังมีความผิดปกติในรายการเครื่องเลเซอร์พลังงานสูงสำหรับรักษาต่อมลูกหมากโต ที่จัดสรรให้กับ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ และ รพ.หาดใหญ่ ในราคาเครื่องละ13.5 ล้านบาท งวดที่ 2 ตามหนังสือที่ สธ.0209.01/80 ลงวันที่ 23 มี.ค.2555 ทั้งๆ ที่เครื่องมือนี้ยังเป็นเพียงวิธีทางเลือกในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต ไม่ใช่วิธีมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปตามแนวทางการรักษาของราชวิทยาลัยศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ อีกทั้งค่าผ่าตัดในแต่ละครั้งต้องมีค่าใช้จ่ายสูงค่าหัวโพรบที่ใช้สอดใส่เข้าไปในท่อปัสสาวะผู้ป่วยจำนวนหลายหมื่นบาทต่อครั้งและผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ก็ไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ แต่กลับอนุมัติงบค่าเสื่อมในโครงการบัตรทองมาซื้อเครื่องมือดังกล่าวซึ่งไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เท่ากับเอาเงินในโครงการบัตรทองไปรักษาผู้ป่วยสิทธิ์อื่น

และตามเอกสารจัดสรรงวดที่ 1 ลงวันที่ 19 มี.ค.2555 ได้อนุมัติซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า300  kv รพ.สิเกา ราคา 2 ล้านบาท แต่ราคาที่ตั้งไว้กลับสูงกว่าราคาในงบดีพีแอลที่จัดซื้อได้เพียง 1.7 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ. ตัดรายการดังกล่าวออกไป เพราะเห็นว่าเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีความจำเป็นสำหรับ รพ.ชุมชนในถิ่นทุรกันดาร.