ผู้เขียน หัวข้อ: ถึงพี่น้องแพทย์ผู้ร่วมชะตากรรมทุกท่าน-จากแพทย์ผู้ร่วมชะตากรรมคนหนึ่ง  (อ่าน 2549 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

ถึงพี่น้องแพทย์ผู้ร่วมชะตากรรมทุกท่านโปรดทราบ

   ท่านทราบหรือไม่ว่า ทำไมเราจึงต้องควรคัดค้านร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ ที่กำลังเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ในขณะนี้  จึงขอชี้เฉพาะประเด็นที่ประทบต่อแพทย์ตามร่างพรบ.ของ ครม. ดังนี้

1. คณะกรรมการพิจารณาความเสียหายมีคุณสมบัติไร้ความสามารถในการตัดสิน
เพราะ มาตรา 7 ของร่าง ครม. ไม่มีตัวแทนวิชาชีพที่ชัดเจนและสัดส่วนต่ำจนน่าใจหาย (มีโอกาสเฉพาะปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนสถานพยาบาล 3 คนเท่านั้น) ซึ่งการตัดสินความเสียหายหรือไม่นั้น แม้ไม่ชี้ถูกผิดก็ต้องใช้ความรู้ทางการแพทย์ตัดสิน ในขณะที่การตัดสินอาศัยเสียข้างมากกว่า กึ่งหนึ่งจากกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์  ดังนั้นพวกเราจะต้องถูกชี้ว่าเป็นผู้ทำให้เสียหายได้ง่าย   ซึ่งต่อไปเราก็จะมีภาระกับคดีความ (ไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญา) ตามมาอย่างแน่นอน      เพราะความเสียหายจะเริ่มจากการตัดสินจากคณะกรรมการชุดนี้แทนที่จะเป็นแพทยสภา  ดังนั้นเมื่อเราเคยมั่นใจในมาตรฐานการรักษาของตัวเองก็จะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป  เพราะแม้ไปชี้แจงอย่างไรก็เหมือนสีซอให้.......ฟัง 

2. ผู้รับบริการมีสิทธิฟ้องร้องความเสียหายตลอดชีพ
ตามมาตรา 25  เขียนไว้ว่า  “ผู้เสียหายอาจยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหายตาม พรบ. ฉบับนี้  ต่อสำนักงานหรือหน่วยงานหรือองค์กรที่สำนักงานกำหนดภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย
และรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย”   ท่านอ่านดูแล้วโปรดคิดดูว่า นับเอาแต่ใจของผู้รับบริการว่าจะรับรู้เมื่อไหร่  ล่องลอยไม่แน่นอนแบบนี้เท่ากับตลอดชีพของผู้รับบริการ  และเวชระเบียนที่เป็นหลักฐานในการชี้แจงมิต้องเก็บไปตลอดชีพของผู้รับบริการหรือไม่  ดีไม่ดีต้องเก็บตลอดชีพของทายาทผู้เสียหายด้วย (เผื่อการฟ้องร้องภายหลัง)

ฝ่ายกฎหมายบางท่านอ้างว่าเลียนแบบมาจากกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค  อยากถามว่าเขียนกฎหมาย  ไม่คำนึงถึงสามัญสำนึกและความเป็นจริงในทางปฏิบัติ  แบบนี้เอาสมองพัฒนาส่วนไหนมาเขียน         นักกฎหมายบางท่านหาว่าเราตีความมากไป  ถามหน่อยว่ากรณีอดีตนายกสมัคร สุนทรเวช  ถูกถอดถอนไปเป็นพิธีกรรายการทีวี  บางครั้งศาลยังเปิดพจนานุกรมตัดสินเลยก็มี  แบบนี้มีช่องโหว่ของกฎหมายฉบับนี้ทำไมเหตุการณ์แบบเดียวกันจะไม่เกิดขึ้นกับพวกเราได้  ถามว่าเป็นธรรมหรือไม่

3. ไม่มีการประนีประนอมยอมความตามที่ผู้สนับสนุน พรบ.อ้าง
เพราะแม้มาตรา 33 ในร่าง ครม. เขียนว่ามีการทำสัญญาประนีประนอม  แต่มาตรา 37  กลับเปิดโอกาสให้ฟ้องร้องใหม่ คือ  “ในกรณีที่มีความเสียหายปรากฏขึ้นภายหลังการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 33  โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้เสียหายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ  ให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำขอรับเงินชดเชย....”        อยากถามว่า แล้วจะทำสัญญาไปทำไมกัน  แม้แต่นักกฎหมายบางคนยังบอกว่าการทำสัญญาไม่สามารถตัดสิทธิในการฟ้องแพ่งและอาญาได้  แล้วจะทำสัญญาทำเชือกอะไร  พวกเรายังคิดว่ายังได้รับความเป็นธรรมอีกหรือ  เพราะผู้เสียหายฉีกสัญญาเองได้                                                                     
   
4. ผู้เสียหายฟ้องศาลแพ่งแล้วแพ้กลับมา  สามารถกลับขอรับเงินชดเชยใหม่ได้
เพราะตามมาตรา 34  วรรคท้าย เขียนว่า  “หากศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยว่าผู้ให้บริการสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการอาจพิจารณาจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหรือไม่ก็ได้  ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด”  แสดงว่ายังเปิดช่องให้  ฟ้องแพ้แล้วกลับมาขอรับเงินชดเชยใหม่ได้  แบบนี้เรียกว่าฟ้องไว้ก่อน  ขอทีหลังพรบ.สอนไว้  แล้วเป็นธรรมกับพวกเราอย่างไร 

สรุปเพียง 4 ข้อก็เพียงพอแล้ว  ที่พวกเราจะคัดค้าน  ทั้งนี้ยังมีอีกหลายมาตราอีกเพียบที่เป็นปัญหาไม่ว่าช่องโหว่ของการโกงเงินในกองทุน  การเรียกเก็บเงินสมทบมหาโหดและอื่น ๆ
อยากถามพี่น้องแพทย์ทุกท่านว่า

   “ท่านจะยอมรับชะตากรรมอย่างวัวและควายที่ทำประโยชน์แล้วยังต้องยอมถูกเชือดเอาเนื้อหนังไปทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอีก  หรือท่านจะต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมให้สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” 

         เชื่อมั่นในพลังของพี่น้องแพทย์ทุกคน
         จากแพทย์ผู้ร่วมชะตากรรมคนหนึ่ง

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ใครเห็นด้วย ยกมือขึ้น

yim2009@TCC

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 5
    • ดูรายละเอียด
เห็นด้วยครับ  :D

สู้ๆ  8)