ผู้เขียน หัวข้อ: ผอ.แพทย์พยาบาลกว่า500คน เรียกร้องผู้ว่าฯทบทวนเรื่องขั้นเงินเดือน(ข่าวเก่าแต่...)  (อ่าน 3167 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด


กลุ่มเสื้อกาวน์ สีขาว โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดกำแพงเพชร กว่า 500 คน ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมกับผู้ว่าฯเรื่องการพิจารณา ขั้นเงินเดือน หักเข้ากองกลางว่าไม่เป็นธรรม

วันที่ 7 มิถุนายน 2554 เวลา 13.30 น.แพทย์พยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดกำแพงเพชร เดินทางมาจากทุกอำเภอ กว่า 500 คน ที่บริเวณข้างสวนสิริจิตอุทยาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีข้อเรียกร้องเรื่องไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เรื่องการพิจารณาความดีความชอบ เงินเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน จากส่วนกลางให้มาที่ผู้ว่าฯ 3 % ของฐานเงินเดือนสำหรับข้าราชการทุกหน่วยงานในจังหวัด โดยผู้ว่าฯหักเข้ากองกลาง 0.34% คิดเป็น 11 % ของเงินเดือน 3 % ที่จะได้เลื่อนซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก

ในแถลงการณ์ได้ระบุว่าไม่มีจังหวัดในประเทศไทยที่ถูกหักมากอย่างนี้ โดยไม่บอกเหตุผล ซึ่งก่อนหน้านี้ทางตัวแทนวิชาชีพต่างๆได้เข้าพบกับผู้ว่าฯราชการจังหวัดเพื่อขอทราบเหตุผล กลับได้รับคำตอบว่าเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด งานสาธารณสุข งานโรงพยาบาล ไม่มีผลงาน ไม่ได้ทำงานตอบสนองจังหวัด ข้าราชการสาธารณสุข รพช. รพ.สต. และสสจ.จำนวน 1,044 คน รพ.กพ. 477 คน รวม 1,521คน ข้าราชการกระทรวงอื่นในความดูแลของผู้ว่าฯ อีกราว 600 คน รวมเป็น 2,100 คน เป็นการหักเอาเงินส่วนสาธารณสุข ไปให้ 600 คน ใช่หรือไม่ และการทำงานตอบสนองนโยบายของจังหวัดที่สาธารณสุขและโรงพยาบาลกำแพงเพชร ไม่ได้ทำมีอะไรบ้าง เป็นคำถามในแถลงการณ์

การออกมารวมตัวกันเพื่อต้องการให้ผู้ใหญ่ในระดับสูงได้รับรู้ปัญหา และยังระบุอีกด้วยว่าการพิจารณาความดีความชอบรอบเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ อย่าได้มาทำแบบนี้อีก หลังจากนั้นกลุ่มเสื้อกาวน์ สีขาว สังกัดสำนักงานสาธารณสุขทั้งหมดได้เดินทางเท้าเป็นขบวนไปมุ่งหน้าไปตามถนนสายเทศา 1 ในตัวเมือง เพื่อไปยื่นหนังสือเรียกร้องของความเป็นธรรมจากผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ที่บริเวณลานโพธิ์ ห่างจุดนัดรวมพลก่อนเคลื่อนขบวนประมาณ 600 เมตร

อย่างไรก็ตามทางจังหวัดได้ส่งตัวแทนนายจิระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ออกมารับหนังเรียกร้องขอความเป็นธรรมหลังจากนั้นทั้งหมดก็เดินทางกลับหน่วยงานปฏิบัติงานกันตามปกติ

ทั้งนี้ตัวแทนของแพทย์พยาบาลที่มาชุมชนได้ชี้แจงว่าไม่ได้ละทิ้งการปฏิบัติหน้าในหน่วยงงานผู้ทีมาร่วมเรียกร้องไม่ได้อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่

http://77.nationchannel.com










« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มิถุนายน 2012, 08:52:24 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน

นายมดดำ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 สถานีอนามัยดงมดแดง ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการที่สถานีอนามัยดงผักหวาน ได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุข ว่าจังหวัดมีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน ครั้งที่ 2 (ตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2545) ไม่ชอบและไม่เป็นธรรม ทำให้เสียสิทธิและกระทบต่อการเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับ 6

ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของนายมดแดง ครั้งที่ 1 (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544– 31 มีนาคม 2545) หัวหน้าสถานีอนามัยดงผักหวาน ซึ่งเป็นผู้บังคับ บัญชาชั้นต้นได้ประเมินว่านายมดดำ สมควรได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น และนำเสนอให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับ (สาธารณสุขอำเภอ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด) มีคำสั่งเลื่อนนายมดดำจำนวน 0.5 ขั้น ต่อมาในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ครั้งที่ 2 (ตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2545) ปรากฏว่าหัวหน้าสถานีอนามัยได้ระบุในแบบประเมินผลการปฏิบัติงานว่า “ปฏิบัตินอกหน้าที่ เกิดความเสียหายแก่ราชการ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มีผลงานไม่เป็นไปตามที่ สอ.และสสอ.กำหนด” โดยให้คะแนนเพียง 84 คะแนน จากคะแนนเต็ม 200 คะแนน และไม่สมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนและนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ (สาธารณสุขอำเภอและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) และเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน

จากการตรวจสอบหลักฐานพบว่า หัวหน้าสถานีอนามัยมิได้เป็นผู้ระบุข้อความในแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของนายมดดำตามที่กล่าวข้างต้น แต่เป็นลายมือของสาธารณสุขอำเภอ เป็นผู้กรอกข้อความ แต่ให้หัวหน้าสถานีอนามัย เป็นผู้ลงลายมือชื่อย้อนหลังว่าได้ประเมินในวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 (ความจริงแล้วจัดทำแบบประเมินในวันที่ 3 มีนาคม 2546) ซึ่งหัวหน้าสถานีอนามัยไม่เห็นด้วย แต่จำต้องกระทำตามที่สาธารณสุขอำเภอสั่งการ พยานหลักฐานรับฟังได้ว่าไม่ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานจริง แต่เป็นการจัดทำขึ้นในภายหลังที่นายมดดำได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. โดยมิได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ.2544 การที่สาธารณสุขอำเภอให้เหตุผลว่า เหตุที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนนายมดดำ เพราะปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ตามเป้าหมายที่สถานีอนามัยและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกำหนด แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสถานีอนามัยดงผักหวานและสถานีอนามัยแห่งอื่น รวมทั้งสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ได้มีการกำหนดแผนงาน โครงการ เป้าหมายหรือผลสำเร็จของงานให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติและเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือได้ดำเนินการประเมินตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับ ครั้งที่ 1 นอกจากนี้ยังให้เหตุผลว่านายมดดำมีกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย แต่ก็ไม่ปรากฏเช่นกันว่าได้มีการสอบสวนหรือลงโทษทางวินัยนายมดดำแต่อย่างใด

อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาเห็นว่าคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งที่ 2 (วันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2545) ไม่ชอบ จึงสั่งให้จังหวัดเลื่อนขั้นเงินเดือนให้นายมดดำ จำนวน 0.5 ขั้น และเห็นว่าพฤติกรรมของผู้บังคับบัญชา (สาธารณสุขอำเภอ) มีมูลกรณีเป็นการกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชา จึงให้ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวด้วย

ข้อสังเกต
ปัจจุบันการสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการได้มีการฟ้องต่อศาลปกครองเป็นคดีจำนวนมาก การที่ผู้บังคับบัญชาสั่งไม่เลื่อนขั้นเดือนเดือนข้าราชการรายใด โดยมิได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เป็นผลให้การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม ขอยกตัวอย่างคดีที่ศาลปกครองได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐาน เพื่อเป็นอุทาหรณ์และแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานหรือผู้บังคับบัญชา ควรต้องศึกษา ทำความเข้าใจ เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นในอนาคต

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.41/2548

คำวินิจฉัยสรุปได้ว่า ในการประเมินผลการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครู นาย ก.... โดยผู้ประเมินไม่แจ้งผลการประเมินการปฏิบัติงานให้ทราบและใช้อำนาจพิจารณาความดีความชอบเพียงฝ่ายเดียว แล้วเสนอให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้ฟ้องคดีเพียงครึ่งขั้น ตามข้อ 9 ของกฎ ก.ค. ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2523 ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน ได้กำหนดกรอบในการใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาว่า จะต้องนำผลการประเมินการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.กำหนดมาประกอบการพิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน โดยให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้รับการประเมินเป็นผู้ประเมินเบื้องต้น โดยประเมินตามหัวข้อที่กำหนด เช่น ผลงานการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐาน คุณลักษณะในการปฏิบัติงาน แล้วให้นำเสนอผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้รับการประเมิน จัดให้มีการประเมินอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และเมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละครั้งแล้ว ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้ประเมินต้องแจ้งการประเมินและผลการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถูกประเมินทราบเป็นรายบุคคลทุกครั้งที่มีการประเมิน เพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงาน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถูกประเมินได้ชี้แจงให้ความเห็นหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินและผลการประเมินดังกล่าว ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวจะทำให้การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการมีความเป็นธรรม โปร่งใส สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ อีกทั้งยังให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสทราบผลการประเมินเพื่อการโต้แย้งหรือปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้ฟ้องคดีไม่ได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามที่ ก.ค.กำหนด จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีขาดโอกาสที่จะได้รับทราบผลการประเมินของผู้บังคับบัญชา และหากจัดให้มีการประเมินอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง กับแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบผลการประเมิน ตั้งแต่ครั้งแรกก็จะทำผู้ฟ้องคดีได้มีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นผู้ประเมินทราบ การพิจารณา เลื่อนขั้นเงินเดือนในกรณีนี้ จึงไม่ขอบด้วยกฎหมาย

แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองดังกล่าว ได้ชี้ให้เห็นว่าคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น หากมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อเป็นกรอบในการใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา หากผู้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว ย่อมเป็นผลให้การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่ชอบด้วยกฎหมายและศาลสั่งเพิกถอนได้