ผู้เขียน หัวข้อ: คอลัมน์: สาระสุขภาพ: เถาเอ็นอ่อน สู้เมื่อยขบเมื่อยตึง  (อ่าน 1004 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
พอย่างเข้าหน้าฝน มีใครบ้างที่หนักเนื้อหนักตัวรู้สึกเมื่อยขบเกียจคร้าน หรือประเภทจะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย ก็อย่าแปลกใจ เพราะในทางการแพทย์แผนไทยอธิ  บายว่า พอเข้าสู่ฤดูกาลนี้ธาตุลมมักไม่ค่อยอยากทำงาน และกลายเป็นจุดอ่อนของสุขภาพมักทำให้ปวดเมื่อยเส้นตึง เมื่อยขบบ้างก็อยากเป็นบังอรเอาแต่นอน

ธาตุลมในร่างกายมี 6 อย่าง คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เป็นกลุ่มพวกลมหาวเรอ ปวดเสียว ปวดเมื่อยหรือสาก ชา ลมที่สองคือลมพัดลงเบื้องล่าง พวกผายลม ชักกระตุก กระดูกลั่น เมื่อยขบไปทั้งตัวเคลื่อนไหวช้าลมที่สามคือลมที่พัดในช่องท้อง นอกลำไส้ ช่วยในการขับอุจจาระ ปัสสาวะ  ถ้าเกิดไม่ปกติก็มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หิวบ่อย ท้องผูก อาเจียน หงุดหงิดไม่สบายใจ ปวดเมื่อยขบเนื้อตัว
ลมที่สี่คือลมที่พัดอยู่ในลำไส้และท้อง ทำหน้าที่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะไม่ปกติ จะแน่น จุกเสียด แน่นอก ท้องผูก ลมที่ผายออกมามีกลิ่นเหม็น ลมที่ห้าคือลมที่พัดทั่วร่างกาย ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวรับรู้ และทำระบบเลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย ลมกลุ่มนี้เสียสมดุลจะกระทบกับโสตประสาท บ้างปวดหัว อาเจียน เป็นลมเปล่า วิงเวียนหน้ามืด สะบัดร้อนสะบัดหนาว กินอาหารไม่รู้รส เจ็บบริเวณหน้าขาทั้งสองข้าง เจ็บตามกระดูกสันหลัง และลมที่หกคือลมหายใจเข้า-ออก

บุคคลที่มีปัญหาธาตุลมในร่างกายเป็นทุนเดิม พอเข้าสู่ช่วงนี้มักมีอาการดังกล่าวข้างต้น รวมไปถึงบุคคลที่เกิดในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. ซึ่งจัดอยู่ใน กลุ่มของคนธาตุลม และเลยไปถึงกลุ่มธาตุน้ำในช่วงเดือน ก.ค.ด้วย การแก้ไขในช่วงนี้แนะให้บริโภคอาหารจำพวกกลุ่มรสเผ็ดร้อนหรือกลุ่มพวกเครื่องเทศเน้นอาหารกลุ่มนี้เพื่อช่วยบำรุงธาตุลมให้ทำงาน

สำหรับเครื่องดื่มลองหาสมุนไพรกลุ่มที่มีสรรพคุณช่วยให้เอ็นหย่อน คลายปวดเมื่อยเช่น พวกเถาวัลย์เปรียง รางแดง และตัวหนึ่งที่น่าสนใจคือเถาเอ็นอ่อน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่พบได้ทั่วไป และนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับสวนประดับบ้านมากขึ้น

เถาเอ็นอ่อนมีสรรพ คุณกล่าวไว้ว่า ใบ รสเบื่อเอียนทำลูกประคบ แก้เมื่อยขบแก้ปวดเสียวเส้นเอ็น คลาย เถา รสขมเบื่อมัน ต้มดื่มบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็นแก้ขัดยอก ทำให้คลายการตึงตัว เมล็ด รสขมเมา ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ

ตามต่างจังหวัดมักเรียกชื่อต่างกันไปภาคเหนือมักเรียกตีนเป็ดเครือ หรือเครือเขาเอ็น ทางภาคใต้มักรู้จักในชื่อเรียกว่าเมื่อยหม่อนตีนเป็ด หรือหญ้าลิเลน ทางภาคอีสานรู้จักแพร่หลายในชื่อเครือเอ็นอ่อนแถบโคราชเรียกว่า เขาควาย บุรีรัมย์เรียกว่าเสน่งกู

ลักษณะของเถาเอ็นอ่อนไม้เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นเปลือกเถาเรียบสีน้ำตาลอมดำ พอแก่เปลือกจะหลุดล่อนออกเป็นแผ่น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว  เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ใบรูปรี หนาและแข็ง ปลายใบมนมีหางสั้น โคนใบสอบ หลังใบเรียบเป็นมันและลื่นท้องใบเรียบสีขาวนวล ออกตามลำต้นเป็นช่อๆ คล้ายกับเถาชะลูด มียางมาก ก้านใบสั้น ออกเป็นดอกช่อ ตามซอกใบ ดอกย่อยสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันฝัก คู่ ปลายแหลมเมื่อแก่แตกออกเมล็ดเล็ก มีปีกพยุงสีขาวปลิวไปตามลม เกิดตามป่าดงดิบเขาป่าแล้งทั่วไป มักขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์ทั่วไป หมอชาวบ้านจะเอาใบไปตำพอแหลกแล้วห่อด้วยผ้าทำเป็นลูกประคบ ใช้ประคบแก้อาการปวดเสียวตามเส้น และอาการตึงเมื่อยขบช่วยทำให้เส้นหย่อนได้ หรือนำเถาไปต้มรับประทานช่วยบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ.

ไทยโพสต์