ผู้เขียน หัวข้อ: มติสมาพันธ์แพทย์ฯเสนอ 4 ข้อแก้ร่างกม.คุ้มครองฯ(ASTVผู้จัดการออนไลน์20สค2553)  (อ่าน 1676 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
มติที่ประชุมสมาพันธ์ แพทย์ฯ เสนอ 4 ข้อแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วยฯ เร่งล่า 1 หมื่นรายชื่อร่วมกันร่าง กม.ฉบับใหม่ประกบฉบับเดิม ด้านตัวแทนแพทย์อัดเละรายละเอียด พ.ร.บ.ปัจจุบันส่งผลกระทบต่อแพทย์ยังไงต้องค้านสุดลิ่ม ขณะที่รองประธานสมาพันธ์เผยมี กม.เป็นตุ๊กตาไว้แล้ว 2 ร่าง
       
       วันนี้ (20 ส.ค.) พญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์แพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ/รพท.) กล่าวภายหลังการประชุมสัมนาร่วมเฉพาะสมาพันธ์ฯ เรื่อง ข้อสังเกตและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการ เข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ...... ว่า จากการหารือร่วมกันประมาณ 5 ชั่วโมง มติ ที่ประชุมเห็นตรงกันในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยกำหนดทางเลือกไว้ 4 ข้อ ได้แก่ 1.เสนอให้ถอนร่างออกมาทำประชาพิจารณ์จากผู้ที่เกี่ยวข้องใหม่ 2.ถอนร่างออกมาก่อนแล้วทำประชาพิจารณ์อีกรอบโดยสภาวิชาชีพ 3.ให้ยกเลิกร่างฉบับนี้แล้วแก้ไขตาม มาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 แทน และ 4.เสนอร่างใหม่เพื่อเปิดโอกาสใหเแพทย์ได้เป็นกรรมาธิการ
       
       “ทั้งนี้ ทางผู้เข้าร่วมประชุมนั้นต่างก็กับเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.แต่อยากให้มีความเป็นธรรมและสามารถคุ้มครองทั้งสองฝ่าย นั่นคือคุ้มครองทั้งแพทย์และบุคลากรผู้ให้บริการสาธารณสุข และคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ารับบริการสาธารณสุขด้วย” พญ.พจนากล่าว

พญ.สุธัญญา บรรจงภาค ประชาสัมพันธ์สมาพันธ์แพทย์ฯ กล่าวว่า เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ควรมีกรอบในการบริการที่มีคุณภาพมีการคุ้มครองที่ชัดเจน ส่วนเรื่องการเยียวยาสามารถทำได้แต่ต้องเป็นไปด้วยความสมเหตุสมผลไม่ใช่ ดำเนินการในทุกรายที่ร้องเรียน สำหรับด้านกองทุนนั้นควรมีไว้แต่ต้องไม่เบียดบังเงินของประชาชน และที่สำคัญหากผู้ได้รับผลกระทบได้รับเงินชดเชยแล้วจะต้องยุติการฟ้องร้องใน คดีอาญา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางสมาพันธ์กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อหารือกันในการร่างกฏหมายฉบับใหม่ขึ้นไปประกบฉบับปัจจุบัน เนื่องจากเห็นว่า พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันที่รอเข้าวาระนั้นมีจุดอ่อนหลายประการ ซึ่งคาดว่าจะได้รายชื่อครบภายในเดือน ส.ค.นี้
       
       ในวันเดียวกัน ระหว่างที่การประชุมหารือ นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องมีการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.มากระทั่งวันนี้ เนื่องจากได้ศึกษาประเด็นสำคัญในร่าง พ.ร.บ.แล้วพบว่ามีหลายส่วนที่ส่งผลกระทบต่อแพทย์ โดยตั้งข้อสังเกตว่า 4 ประเด็น คือ 1.ในด้านคณะกรรมการพิจารณาความเสียหายมีคุณสมบัติไร้ความสามารถในการตัดสิน ความเสียหาย เนื่องจากสัดส่วนของแพทย์ผู้ให้บริการนั้นมีน้อย 2.ผู้รับบริการทางสาธารณสุขสามารถฟ้องร้องความเสียหายตลอดชีพ ตามมาตรา 25 ที่ระบุว่า ผู้เสียหายอาจยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ต่อสำนักงาน หน่วยงานหรือองค์กรที่สำหนักงานกำหนดภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ที่ก่อให้เกิดความเกิดความเสีย หาย แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่รู้ความเสียหาย ซึ่งผู้เสียหายอาจมีความไม่แน่นอน 3.ไม่มีการประณีประนอมยอมความตามที่ผู้สนับสุน พ.ร.บ.อ้าง เพราะมาตรา 33 เขียนว่ามีการทำสัญญาประณีประนอม แต่มาตรา 37 เปิดโอกาสให้ฟ้องร้องใหม่ ในกรณีที่มีความเสียหายปรากฏภายหลัง 4.หากผู้เสียหายฟ้องศาลแพ่งแล้วแพ้สามารถขอรับเงินชดเชยใหม่ได้ เพราะตามมาตรา 34 ที่ระบุว่า หากศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยว่า ผู้ให้บริการสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการอาจพิจารณาจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้
       
       “4 ประเด็นนี้เป็นพียงบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อแพทย์ผู้ให้บริการเท่านั้น ยังมีอีกหลายมาตราที่สามารถส่งผลต่อบุคลากรผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งมันคือ ช่องโหว่ทางกฎหมายที่เห็นได้ชัด ดังนั้นแพทย์ทุกท่านควรเร่งทำความเข้าใจในรายมาตราให้ละเอียดเพื่อจะได้รับ ทราบในผลกระทบที่มี และร่วมกันเสนอข้อคิดเห็นเพื่อแก้ไขในขั้นตอนต่อไป” นพ.วิสุทธิ์กล่าว
       
       ขณะที่ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แพทย์ศัลยศาสตร์ - ประสาท รพ.ราชวิถี กล่าวว่า ใน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ควรที่จะตัดมาตรา 45 ออกทั้งหมด เนื่องจากมองว่าเป็นรายละเอียดที่ไม่มีผลใดๆ ในทางปฏิบัติ อีกทั้งเป็นการสื่อความหมายในลักษณะของการบีบบังคับให้แพทย์ต้องนำเงินไป จ่ายให้ผู้ป่วยไม่ว่าจะผิดหรือถูก เพราะตามหลักการแล้วไม่สนใจผิดถูก ตามหลักการที่พยายามกล่าวอ้าง ทั้งนี้หากแพทย์ไม่จ่ายให้สิทธิการฟ้องอาญาก็ยังมี ที่บอกว่าควรตัดออกก็เนื่องจากตามกฏหมายอาญานั้นก็มีหลายมาตราที่ศาลสามารถ ใช้พิจารณาลดโทษได้ เช่น มาตรา 64 ความไม่รู้กฏหมาของแพทย์ มาตรา 69 มีความจำเป็น และมาตรา 78 มีคุณงามความดีมาก่อน และรู้สำนึกผิด ที่พยายามบรรเทาผลร้ายโดยการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ประโยชน์แก่การพิจารณา
       
       ด้าน พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ รองประธานสมาพันธ์แพทย์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ทางสมาพันธ์ฯ ได้ดำเนินการร่าง พ.ร.บ.ขึ้นมา 2 ฉบับเพื่อใช้สำหรับเป็นตุ๊กตาในการพิจารณาปรับรุงแก้ไขกฎหมายฉบับใหม่โดย ฉบับหนึ่งเป็นร่างที่เขียนขึ้นโดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ และฉบับที่ 2 ร่างที่สมาพันธ์ฯ แพทย์ร่วมกันเขียนขึ้นโดยมีตัวแทนจากสมาพันธ์เข้าไปปรึกษากับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่แสดงความคิดเห็นว่าควรให้ขยายมาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เพื่อร่างเป็นกฏหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ...... แทน