ผู้เขียน หัวข้อ: ก้านไม้ตรวจ “มะเร็งตับอ่อน” ผลงานเด็กวัย 15 คว้ารางวัลใหญ่ Intel ISEF  (อ่าน 1332 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด

แจ็ค แอนดรากา นักเรียนวัย 15 ปีของสหรัฐฯ ดีใจสุดขีดเมื่อได้ยินประกาศรับรางวัล (SSP)

       อินเทล -นักเรียนสหรัฐฯ วัย 15 ปี ทำก้านไม้ตรวจหา “มะเร็งตับอ่อน” ระยะเริ่มต้น แม่นยำ 90% ให้รายละเอียดมากกว่าเซนเซอร์ปัจจุบัน 100 เท่า และถูกกว่า 28 เท่า คว้ารางวัลใหญ่การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก Intel ISEF
       
       แจ็ค แอนดรากา (Jack Andraka) นักเรียนวัย 15 ปี จากเมืองคราวส์วีล มลรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐฯ คว้างรางวัลกอร์ดอน อี มัวร์ (Gordon E. Moore Award) รางวัลสูงสุดของเวทีประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของอินเทล หรือ อินเทลไอเซฟ (Intel ISEF) ที่จัดขึ้นเมื่อ พ.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษาประมาณ 2.4 ล้านบาท
       
       ผลงานของเขาคือการศึกษาวิธีการใหม่ในการตรวจค่ามะเร็งตับอ่อน โดยอาศัยพื้นฐานจากกระดาษทดสอบโรคเบาหวาน แจ็ค ได้สร้างเซนเซอร์ที่เป็นก้านไม้ธรรมดา แต่สามารถตรวจเลือดและปัสสาวะ แล้วแปรผลว่า เป็นมะเร็งตับอ่อนในระยะเริ่มต้นหรือไม่ โดยมีความถูกต้องสูงถึง 90% และเมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ในปัจจุบันวิธีของเขาทำงานได้ผลเร็วกว่า 28% มีราคาถูกกว่า 28% แต่ตรวจละเอียดได้มากกว่า 100 เท่า
       
       นอกจากผลงานของ แจ็ค ที่ได้รับรางวัลสูงสุดแล้ว ยังมีผลงานของนักเรียนคนอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ นิโคลัส ชีเฟอร์ (Nicholas Schiefer) อายุ 17 ปีจากเมืองพิกเคอริง มลรัฐออนตาริโอ แคนาดา ทำการศึกษาสิ่งที่เขาเรียกว่า “ไมโครรีเสิร์ช” (microresearch) หรือความสามารถในการค้นหาข้อมูลจากสื่อที่โตเร็วที่สุดในขณะนี้ นั่นคือ ข้อมูลขนาดเล็กๆ เช่น การทวีต หรือการอัปเดตสถานะบนเฟซบุ๊ก เป็นต้น โดยเขาคาดหวังว่า จะปรับปรุงความสามารถต่างๆ ของเสิร์จเอ็นอิน (search engine) ให้ดีขึ้น เพื่อให้การถึงข้อมูลดีขึ้นด้วย โดยเขาได้รับรางวัลจากมูลนิธิอินเทล เป็นทุนการศึกษา 1.5 ล้านบาท
       
       อาริ ดิกโคฟสกี (Ari Dyckovsky) อายุ 18 ปี จากเมืองลีส์เบิร์ก มลรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐฯ เป็นนักเรียนอีกคนที่ได้รับรางวัลทุนการศึกษา 1.5 ล้านบาท จากมูลนิธิอินเทล โดยเขาศึกษาการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างอะตอมโดยไม่ต้องใช้ตัวกลาง (quantum teleportation) เขาพบว่าทันทีที่อะตอมเชื่อมต่อกับกระบวนการที่เรียกว่า “การพัวพัน” (entanglement) ข้อมูลจากอะตอมหนึ่งจะปรากฏที่อีกอะตอมหนึ่ง เมื่อสภาวะควอนตัม (quantum state) ของอะตอมแรกถูกทำลาย
       
       ด้วยวิธีของโคฟสกีจะทำให้องค์กรต่างๆ ที่ต้องการระบบป้องกันเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในระดับสูงๆ เช่น หน่วยงานเพื่อความปลอดภัยระดับชาติ สามารถส่งข้อความที่เข้ารหัสไว้แล้วได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงถูกสกัดกั้น เนื่องจากข้อมูลไม่ได้เดินทางไปยังที่หมายใหม่ หากแต่จะปรากฏขึ้นตรงนั้นได้เองโดยง่ายดาย
       
       ส่วนนักเรียนตัวแทนจากประเทศไทยนั้น นายณัฐพงศ์ ชิณรา นายจตุพร ฉวีศักดิ์ และ น.ส.นันทกานต์ ล่องโลด จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลชนะอันดับ 2 รางวัลแกรนด์อะวอร์ด จากผลงานการศึกษาบทบาทของหอยทากในสวนยางพารา และ นายกิตติ์ธเนศ ธนรุ่งโรจน์ทวี จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จ.ศีรษะเกษ ได้รับรางวัลเดียวกันจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการย่อยสลายอาหารของมดแดง กับคุณค่าทางโภชนาการในไข่มดแดง โดยนักเรียนที่ได้รับรางวัลนี้ได้รับทุนการศึกษารางวัลละประมาณ 4.5 หมื่นบาท
       
       สำหรับงานประกวดอินเทลไอเซฟครั้งนี้ มีนักเรียนกว่า 1,500 คนจากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกส่งผลงานเข้าประกวดใน 18 สาขา อาทิ สัตววิทยา วิศวกรรมศาสตร์:วัสดุและวิศวกรรมชีวภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม เซลล์และชีวโมเลกุล ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ พืชศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น โดยมีการประกวดไอเซฟอย่างต่อเนื่องทุกปีมาตั้งแต่ปี 2493 โดยสมาคมเพื่อวิทยาศาสตร์และสาธารณะ (Society for Science & the Public: SSP) และกลายเป็นเวทีประกวดระดับนานาชาติในอีก 8 ต่อมา จากนั้นอินเทลได้เข้าเป็นผู้สนับสนุนหลัก
       
       

       
คลิปให้สัมภาษณ์ของ แจ็ค แอนดรากา
       
       

Manager