ผู้เขียน หัวข้อ: เลนส์ตาเทียม รักษาต้อกระจกให้หายได้  (อ่าน 1168 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
เรื่องตามัวจากการเป็นต้อกระจก (Cataract) เป็นโรคที่มีความขุ่นลงเลนส์ตา เนื่องจากความเสื่อมไปตามวัยของเลนส์ตา ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุ ซึ่งต้อกระจกเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ โดยใช้วิธีการผ่าตัด โดยใช้เครื่องสลายต้อกระจกด้วยอัลตราซาวนด์ (Phacoemulsification) ลอกเลนส์ที่ขุ่นออก แล้วจึงใส่เลนส์เทียม (intraocular lens) ทดแทนเลนส์เดิม เพื่อให้กลับมามองเห็นชัดเจนอีกครั้ง

เลนส์เทียมที่จักษุแพทย์เลือกใช้นั้นมีหลายชนิด เลนส์ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นชนิดพับได้ ทำด้วย acrylic หรือ silicone สีใส สามารถกรองแสงอัลตราไวโอเลต แผลผ่าตัดจึงมีขนาดเล็กมาก มักไม่จำเป็นต้องเย็บแผล มาทำความรู้จักเลนส์แต่ละชนิดกันก่อน

เลนส์แก้วตาเทียมชนิดมาตรฐานหรือชัดระยะเดียว (Standard monofocal IOL)
ให้การมองไกลที่ชัดเจน แต่ต้องอาศัยแว่นตาช่วยในการมองระยะใกล้ เช่น ในขณะอ่านหนังสือ




เลนส์แก้วตาเทียมชนิดชัดหลายระยะ (Multifocal IOL)

พัฒนาขึ้นมาเพื่อลดการพึ่งพาแว่นของผู้มีต้อกระจกร่วมกับภาวะสายตายาวตามอายุ ผิวเลนส์ถูกออกแบบพิเศษด้วยกรรมวิธี Apodized diffractive หรือ Refractive คล้ายขั้นบันไดเป็นวงๆ ตรงกลางเพื่อช่วยสร้างความสมดุลของการโฟกัสภาพใกล้และภาพไกล ตามกิจกรรมที่ทำและตามสภาวะของแสง จึงสามารถมองเห็นได้ในทุกระยะจากใกล้ไปจนถึงไกล พบว่า 80% ของผู้ใช้เลนส์ชนิดนี้ สามารถทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือ ไปจนถึงการขับรถ โดยไม่ต้องพึ่งพาแว่นสายตา แต่อาจไม่เหมาะกับผู้ที่เดิมมีสายตาสั้น ยาว เอียงมากๆ หรือผู้ที่ขับรถกลางคืนมากๆ เนื่องจากอาจมีปัญหาเรื่องแสงกระจายร่วมด้วยได้

เลนส์แก้วตาเทียมที่แก้ค่าสายตาเอียงในตัว (Toric IOL)
เหมาะสำหรับในผู้ป่วยที่มีสายตาเอียงจากกระจกตาอยู่เดิมก่อนผ่าตัด จะช่วยทำให้ลดความจำเป็นที่ต้องใช้แว่นตาแก้สายตาเอียงเวลามองไกลหลังผ่าตัด เลนส์นี้มีทั้งที่เป็นเลนส์ชัดระยะเดียว (monofocal) ดังนั้น ยังต้องพึ่งพาแว่นสายตาเพื่อมองใกล้ที่ชัดเจน หรือเป็นชนิดที่ชัดหลายระยะ (toric multifocal) ที่แก้เอียงและลดการพึ่งพาแว่นอ่านหนังสือ

เลนส์แก้วตาเทียมชนิดที่ปรับระยะ focus ได้ (accommodative IOL)
เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดการพึ่งพาแว่นอ่านหนังสือหลังทำต้อกระจก โดยเลนส์เป็นเลนส์ที่ชัดระยะเดียว (monofocal) แต่มีขาเลนส์ที่ยืดหยุ่น โดยหลักการทำงานคือเมื่อเราเพ่งเพื่อจะดูในที่ใกล้ จะมีการขยับตำแหน่งของเลนส์เทียมเพื่อให้มองใกล้ได้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อจำกัด และต้องติดตามผลการรักษาในระยะยาว เนื่องจากเพิ่งนำมาใช้ไม่นานมาก




การเลือกว่าจะใช้เลนส์ชนิดใด จักษุแพทย์จะตรวจประเมินสภาพตาและพิจารณาปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อาชีพ งานอดิเรก รวมถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ผู้ป่วยชอบ และคุยกับผู้ป่วยเพื่อเลือกเลนส์ชนิดที่เหมาะสม เพื่อทำให้ผู้ป่วยมีความสุขกับการใช้ชีวิตประจำวันหลังผ่าตัดมากที่สุด ซึ่งแต่ละคนอาจมีความต้องการ หรือข้อจำกัดบางอย่างที่แตกต่างกัน

 

 

ภาพ/ข้อมูล : www.laservisionthai.com