ผู้เขียน หัวข้อ: ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯจะส่งเสริมให้มีการฟ้องร้อง มากยิ่งขึ้น  (อ่าน 1985 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ทำไมผมจึงเชื่อว่าร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯจะส่งเสริมให้มีการฟ้องร้อง  มากยิ่งขึ้นทั้งทางแพ่งและอาญา
                                                           
                                                                         นายแพทย์วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี
วท.บ.พบ.วว.(ศัลยศาสตร์)
นบ.(เกียรตินิยม), ประกาศนียบัตรวิชาว่าความสภาทนายความ
ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร
               
                                                                                                         
1)   ก.ม.ฉบับนี้ผู้ที่ริเริ่มร่างและผลักดันอย่างเอาการเอางานต่อเนื่องและเป็นระบบก็คือ กลุ่มเอ็นจีโอและเครือข่ายโดยร่วมมือกับกลุ่มแพทย์ตระกูลส. ที่ไม่ได้ทำการรักษาผู้ป่วยแล้วโดยมีพฤติกรรมเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนหลายครั้งใ นการฟ้องหมอเป็นอาชีพอยู่แล้ว
2)    ชื่อก.ม.ก็บอกอยู่แล้ว.............คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
                                            =    ผู้ให้บริการสาธารณสุขก่อให้เกิดความเสียหาย
                                            =   ผู้ให้บริการสาธารณสุขกระทำละเมิด
                             =   ผู้ให้บริการสาธารณสุขเป็นจำเลย
                                            =    ผู้ให้บริการสาธารณสุขต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน   
3)   ตามมาตรา5,มาตรา6,ประกอบมาตรา27วรรค1ตีความได้ว่า ถ้าคณะกรรมการฯจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อใด ผู้ให้บริการสาธารณสุขจะมีความผิดตามมาตรา6ทันที ก็จะเป็นประเด็นนำไปสู่การฟ้องร้องได้ เพราะเห็นความได้เปรียบในข้อกฎหมายและคณะกรรมการฯซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกัน ก็พร้อมจะไปเป็นพยานให้ในชั้นศาล
4)   ตามมาตรา34วรรค1กรณีผู้เสียหายไม่ยินยอมรับเงินชดเชย เปิดโอกาสให้ฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลได้ และบัญญัติว่า “ให้สำนักงานยุติการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
และผู้เสียหายหรือทายาทไม่มีสิทธิ์ที่จะยื่นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้อีก”  แต่ในวรรค3กลับเขียนว่า “หากศาลยกฟ้อง.....คณะกรรมการอาจพิจารณาจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด   ซึ่งข้อความในวรรค3ขัดแย้งกับวรรค1เพราะผู้เสียหายหมดสิทธิ์ยื่นคำขอไปตั้งแต่ปฏิเสธเงินชดเชยและได้ยื่นฟ้องแล้ว ไม่ควรจะได้สิทธิ์ในค่าเสียหายอีกเมื่อศาลยกฟ้อง
                                                   



                                                                                                   

 และการหมดสิทธิ์ยื่นคำขอตามมาตรา34วรรค1ก็ย่อมครอบคลุมไปถึงสิทธิในมาตรา37ด้วยคือหมดสิทธิ์ยื่นคำขอรับเงินชดเชย ในกรณีสารสะสมที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการเพราะมาตรา34วรรค1ใช้คำว่าไม่มีสิทธิ์ที่จะยื่นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้อีก

5)   ในมาตรา35ส่งเสริมให้ฟ้องคดีต่อศาลได้ แม้ขณะกำลังพิจารณาคำขอรับเงินค่าเสียหายอยู่ หรือสามารถฟ้องคดีต่อศาลก่อน แล้วค่อยกลับมายื่นขอรับเงินค่าเสียหายอีกทีก็ได้
ซึ่งทั้งสองกรณีจะได้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น และถ้าศาลยกฟ้องในภายหลังก็อาจพิจารณาจ่ายค่าเสียหายได้อีกตามมาตรา34วรรค3


6)   ในบทหลักการและเหตุผลได้กล่าวถึง “กรณีถูกฟ้องคดีอาญาข้อหากระทำการโดยประมาทด้วย”

     และในหมวด๗ ตั้งชื่อหมวดว่า “การฟ้องคดีอาญาและบทกำหนดโทษ”
      มาตรา45 “ในกรณีที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาฐานกระทำการโดยประมาทเ กี่ยวเนื่องกับการให้บริการสาธารณสุข หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ให้ศาลนำข้อเท็จจริงต่างๆของจำเลยเกี่ยวกับ     - ประวัติ
             -พฤติการณ์แห่งคดี
             -มาตรฐานทางวิชาชีพ
             - การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี
             -การรู้สำนึกในความผิด
-การที่ได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ  ตาม มาตรา33(ยินยอมรับเงินชดเชย)และมาตรา39 (ตกลงไกล่เกลี่ยในเรื่องอื่น)           
            - การชดใช้เยียวยาความเสียหาย
            -และการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้รับโทษ
            -เหตุผลอื่นๆอันสมควรมาพิจารณาประกอบ
ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้


                                                                                                     
ความหมายของหมวด7และมาตรา45นี้ก็คือ
(1)   ร่างกฎหมายฉบับนี้ให้การรับรองให้มีการฟ้องคดีอาญา เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการสาธารณสุขอย่างเป็นทางการ และถือว่าเป็นกฎหมายเฉพาะฉบับแรกและฉบับเดียวในประวัติศาสตร์ที่บัญญัติไว้เช่นนี้  ซึ่งเดิมทีการฟ้องอาญานั้นมีน้อยมากและต้องฟ้องจากหลักกฎหมายทั่วไป ว่าด้วยกระทำการโดยประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59 ประกอบมาตรา291 (ตาย)และมาตรา300(อันตรายสาหัส) ซึ่งหลักกฎหมายอาญา ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ผู้ให้บริการสาธารณสุขกระทำผิดจริงโดยไม่มีข้อสงสัย และมีกฎหมายอาญามาตรา172,174,175. เกี่ยวกับการแจ้งความเท็จ หรือการฟ้องเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และมาตรา326, 328,เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งสามารถถูกฟ้องกลับได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้จะฟ้องต้องคิดให้หนักก่อนฟ้องอาญา แต่ถ้ามีกฏหมายเฉพาะแบบนี้ ในชั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการสามารถมีความเห็นสั่งฟ้องได้ง่ายขึ้น หรือในชั้นไต่สวนมูลฟ้องในศาลก็สามารถอ้างอิงกฎหมายฉบับนี้ได้
                       ( 2)  ข้อความในเหตุแห่งการบรรเทาโทษนั้นเ ห็นได้ว่าแม้จะมีการชดใช้เยียวยาความเสียหาย หรือมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว ก็ยังสามารถ ฟ้องร้องต่อได้อีกในคดีอาญา  และเหตุแห่งการบรรเทาโทษนี้ ก็มีบัญญัติไว้นานแล้วในป.อาญามาตรา78และศาลก็นำมาใช้เป็นปกติอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลใด ที่ต้องบัญญัติขึ้นมาอีกให้ดูเหมือนมีความหวังดีต่อวงการสาธารณสุข
                          (3) การบัญญัติข้อความในมาตรา45นี้ เปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่ายๆก็คือเหมือนคนใช้ในบ้านแอบเปิดประตูบ้านให้โจรเข้ามาจี้เจ้าของบ้าน เสร็จแล้วคนใช้ก็บอกเจ้าของบ้านว่า ให้พูดจาดีๆ ทำตัวให้เรียบร้อยกับโจรหรือยอมสำนึกผิดกับโจรซะ เพื่อโจรจะได้เห็นใจและเหลือเงินหรือทรัพย์สินไว้บ้าง ไม่เอาไปจนหมด แล้วคนใช้ก็กลับมาทวงบุญคุณเอากับเจ้าของบ้านว่า เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้โจรใจอ่อนไม่เอาทรัพย์สินไปจนหมด ถือว่าเป็นการช่วยเจ้าของบ้านซะอีกโดยไม่ได้ดูถึงพฤติกรรมการแอบพาโจรเข้าบ้านของตัวเองเลย

7)   คณะกรรมการฯจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์การมาใช้สิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย จะทำให้มีผู้มาร้องเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องน้อย เพราะเห็นช่องทางที่จะได้เงิน และไม่ว่าคณะกรรมการฯจะจ่ายเงินหรือไม่จ่าย หรือจ่ายแต่ไม่พอใจจำนวนเงิน ก็ล้วนแล้วแต่นำไปสู่การฟ้องร้องทั้งสิ้น และผู้ให้บริการสาธารณสุขในฐานะผู้ปฏิบัติงานก็จะถูกดึงเข้ามาเป็นจำเลยเสมอ



                                                                                                                                                                                                                                 

8)   กรณีเรื่องอายุความตามมาตรา25และมาตรา37ที่กำหนดว่า...... ภายใน3ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุข ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน10ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย
 ทั้ง 2มาตราสรุปได้ว่า “ไม่มีอายุความ”เพราะผู้เสียหายจะอ้างได้เสมอว่าเพิ่งรู้ถึงความเสียหายแม้เวลาจะผ่านไปกี่ปีแล้วก็ตามเปรียบได้ว่าถ้าให้การรักษาคนไข้ไป
เมื่อใดก็ตาม ผู้ให้การรักษาจะต้องตกเป็นเบี้ยล่างของคนไข้ไปตลอดชีวิต เพราะคนไข้นึกอยากจะฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อใดก็ได้ โดยอ้างว่าเพิ่งรู้ถึงความเสียหาย

      9) การยืดอายุความออกไปโดยไม่มีกำหนดเช่นนี้ ขัดต่อหลักความเป็นธรรมทางกฎหมาย(หลักEquity) และถือเป็นการเลือกปฏิบัติเฉพาะกับผู้ให้บริการสาธารณสุขเท่านั้น ซึ่งจะกระทำมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา30                                                                                                                   
                       การกำหนดอายุความมีเหตุผลที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ เป็นนิตินโยบาย(Legal Policy)ของรัฐ เพื่อดำรงความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในการอ้างสิทธิของบุคคล อันเป็นการห้ามปรามมิให้มีการนำเรื่องราวที่เกิดมาเนิ่นนานแล้ว มาเรียกร้องต่อกันเพราะพยานหลักฐานจะสูญหาย เสื่อมสภาพหรือคลาดเคลื่อน ส่งผลให้การวินิจฉัยข้อพิพาทไม่อาจเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง และการที่อายุความยาวนานขึ้นโอกาสในการฟ้องร้องกันก็เพิ่มมากขึ้น

    10) ในมาตรา37แม้จะตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันแล้ว ผู้เสียหายก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับเงินชดเชยได้อีกไม่จำกัดเวลา  และถ้าไม่พอใจเงินชดเชย ก็มีสิทธิฟ้องร้องได้อีกตามมาตรา34วรรค1 และถ้าศาลยกฟ้อง ก็กลับมารับค่าเสียหายได้อีกตามมาตรา34วรรค3  การเรียกร้องก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่จบสิ้น
การเรียกร้องค่าเสียหายและการฟ้องร้องก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ขณะที่สังคมก็จะวุ่นวายไม่รู้จบอันเป็นผลมาจากร่างกฎหมายฉบับนี้ 

จะเกิดอาชีพใหม่คือรับเป็นนายหน้าพาคนมาเรียกร้องค่าเสียหายพอ ได้เงินแล้วก็แบ่งกัน หรือเป็นช่องทางให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องจำนวนเงินค่าเสียหายกระทำการทุจริตได้เพราะการพิจารณาจ่ายเงินหรือไม่ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ เหมือนเป็นการตั้งโต๊ะแจกเงินกันเองโดยไม่ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาที่มีมาตรฐานเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย