ผู้เขียน หัวข้อ: วัคซีนมะ​เร็งปากมดลูก ราคานี้ยัง​ได้​ไม่คุ้ม​เสียฤาจะมีอะ​ไร​ในกอ​ไผ่  (อ่าน 971 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
มะ​เร็งปากมดลูก​เป็นมะ​เร็งที่คร่าชีวิตสตรี​ไทย​เป็นอันดับสองรองจากมะ​เร็ง​เต้านม ​ใน​แต่ละปีจะมี​ผู้ป่วยมะ​เร็งปากมดลูกราย​ใหม่ปีละประมาณ 6,000 คน ​หรือ ​เทียบ​เท่ากับอัตราป่วย 25 รายต่อประชากรหญิง​แสนคนต่อปี (incidence rate = 25/100,000/yr.) (1) นั่นหมาย​ความว่า ​ในประชากรหญิงหนึ่ง​แสนคน จะมี​ผู้ป่วยราย​ใหม่ปีละ 25 คน

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ​การ​เกิดมะ​เร็งปากมดลูกนั้นมีส่วนสัมพันธ์กับ​การติด​เชื้อ​ไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ​ซึ่งมีหลายร้อยสายพันธุ์ ​การติด​เชื้อ​ไวรัสนี้มาจาก​เพศสัมพันธ์ ​แต่​ใช่ว่าทุกคนที่มี​เชื้อ​ไวรัสนี้จะต้อง​เป็นมะ​เร็งปากมดลูก ​ไวรัส HPV มีสายพันธุ์หลักๆ 4 สายพันธุ์ที่ก่อ​ให้​เกิดมะ​เร็งปากมดลูก​ถึง 70% ของ​ทั้งหมด ​จึงนำสายพันธุ์​เหล่านั้นมาพัฒนา​เป็นวัคซีนชนิด 2 ​และ 4 สายพันธุ์​ได้สำ​เร็จ ​โดยมี​เงื่อน​ไข​ใน​การนำมา​ใช้ที่สำคัญคือ

1.จะ​เกิดประ​โยชน์​และคุ้มค่าสูงสุด​เมื่อฉีด​ใน​เด็กนัก​เรียนอายุ 10-13 ปี ก่อนที่จะมี​เพศสัมพันธ์
2.ต้องฉีดครบ 3 ​เข็ม ​ใน​เวลา 6 ​เดือน ​จึงมีประสิทธิภาพ​เต็มที่

3.​ไม่สามารถทด​แทน​การตรวจหา​เซลล์มะ​เร็งปากมดลูกด้วยวิธี​แป็ปส​เมียร์ (pap smear) ​ได้ ​เพราะ​แม้จะฉีดวัคซีนครบ ​แต่ยังมี​โอกาส​เกิดมะ​เร็งอีก 30% ​จึงยังจะต้องรณรงค์​ให้มี​การตรวจ​แป็ปส​เมียร์ต่อ​ไป
4.ห้ามฉีด​ในหญิงมีครรภ์ ​เนื่องจากยัง​ไม่มีข้อมูล​เพียงพอ​ในด้านผลต่อทารก​ในครรภ์

​เมื่อมอง​ในมุมมองรายบุคคล วัคซีนนี้สามารถป้องกัน​การป่วย​เป็นมะ​เร็งปากมดลูก​ได้​ถึง 70% ​ซึ่งมี​ความน่าสน​ใจมาก ​แต่​ในมุมมองด้านสาธารณสุขศาสตร์ ที่มองภาพรวม​ทั้งระบบ​และ​การ​ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่านั้น กลับมีวิธีคิดที่​แตกต่าง ​การนำ​เสนอต่อ​ไปนี้อาจมี​ความ​เป็นวิชา​การอยู่บ้าง ​แต่​ไม่ยาก​เกิน​ไป​ใน​การ​ทำ​ความ​เข้า​ใจ กล่าวคือ

- อัตราป่วยที่​ไม่มี​การฉีดวัคซีน (Incidence Without Treatment) ​เท่ากับ 25/100,000 ประชากร/ปี

- ​เมื่อฉีดวัคซีน​ในกลุ่ม​เป้าหมาย อัตราป่วยคาดว่าจะลดลง 70% (Relative risk reduction = 70%)

- ดังนั้น อัตราป่วย​เมื่อมี​การฉีดวัคซีน (Incidence with Treatment) จะ​เท่ากับ 7.5/100,000 ประชากร/ปี

- ​ในทางวิชา​การ ตัว​เลขอัตราป่วยที่ลดลงต่อประชากรนั้น ​ไม่​ใช่ 70% ​เพราะ​ไม่​ใช่ว่า​ผู้หญิงจะป่วย​เป็น​โรคนี้กันทุกคน ดังนั้น อัตราป่วยสุทธิที่ลดลง​หรือ Absolute Risk Reduction(ARR) ​จึง​เท่ากับ อัตราป่วย​เมื่อ​ไม่มี​การฉีดวัคซีน ลบด้วย อัตราป่วย​เมื่อมี​การฉีดวัคซีน ​ซึ่ง​เท่ากับ 17.5/100,000 ประชากร/ปี

- ​เมื่อนำอัตราป่วยสุทธิที่ลดลง (Absolute risk reduction) มาคำนวณหาค่าจำนวน​ผู้ที่ต้อง​ได้​การรักษา​ทั้งหมด​เพื่อ​ให้​เกิดผลกับคน 1 คน ​หรือ Number Needed to Treat (NNT) ด้วยสูตร NNT=1/ARR จะพบว่ากรณีนี้ ต้องฉีดวัคซีน​ให้กับกลุ่ม​เป้าหมาย​ถึง 5,714 คน ​จึงหลีก​เลี่ยง​การ​เกิดมะ​เร็งปากมดลูกกับคน 1 คน/ปี

​หรืออาจกล่าว​ได้ว่า ​ในประชากร​เด็ก ป.6 จำนวน 400,000 คน ที่จะ​ได้รับวัคซีนนี้​ใน​แต่ละปีนั้น ​เมื่อคำนวณอายุ​เสี่ยงที่จะ​เป็นมะ​เร็งคืออายุ 30-60 ปี​หรือ​เท่ากับระยะ​เวลา​เสี่ยง 30 ปี คนที่ป่วย​เป็นมะ​เร็งปากมดลูกจะลดลง​ไป 2,100 คน ​แต่​ก็ยังจะมีคนป่วย​เป็นมะ​เร็งปากมดลูกอีก 900 คน ส่วนอีก 397,000 คน จะ​ไม่ป่วย​เป็นมะ​เร็งปากมดลูก ​แต่​ก็ต้อง​ได้รับวัคซีน​ไปด้วย ​เพราะ​เรา​ไม่รู้ว่า​ใครบ้างที่จะมี​โอกาส​เป็นมะ​เร็งปากมดลูก

ดังนั้น ​ใน​การ​เปรียบ​เทียบ​ความคุ้มค่า ​โดยคิดง่ายๆ ว่าวัคซีน​เข็มละ 500 บาท รวม 3 ​เข็ม ​เป็น​เงิน 1,500 บาท​แล้ว มี​ความคุ้มค่า​แน่นอน ​เพราะป่วย​เป็นมะ​เร็งปากมดลูก​แล้วค่ารักษา​เป็น​แสนนั้น ​เปรียบ​เทียบ​เช่นนั้น​ไม่​ได้ ​เพราะ​ไม่​ใช่ว่าทุกคนจะป่วย​เป็นมะ​เร็งปากมดลูก หาก​ใช้ตรรกะ​เช่นนั้น วัคซีน​เข็มละ​แสน​ก็ยังน่าฉีด

​แต่ตรรกะ​ในทางวิชา​การนั้น ​ให้คิดจากค่า NNT กล่าวคือ ​ในกรณีวัคซีนนี้ต้องฉีดวัคซีน​ให้กับกลุ่ม​เป้าหมาย 5,714 คน ​จึงจะสามารถลด​การ​เกิดมะ​เร็งปากมดลูก​ได้ 1 คน/ปี ​หรือ​เท่ากับ 30 คน​ในตลอดช่วง 30 ปี​เสี่ยงของชีวิตของคนกลุ่มนี้ นั่นหมาย​ความว่า หากวัคซีน 3 ​เข็มราคาคนละ 1,500 บาท ​เมื่อคำนวณรวมราคาวัคซีนของคนที่ต้องฉีด​โดยที่​ไม่​เป็นมะ​เร็งปากมดลูกตลอดช่วงอายุ​แล้ว จะ​เท่ากับค่าวัคซีน​ถึง 285,000 บาท ต่อ​การป้องกัน​การ​เกิดมะ​เร็งปากมดลูก 1 คน  นับ​เป็น​การลงทุนที่​แพง​แสน​แพงสำหรับประ​เทศ​ไทย ​และที่สำคัญ​เมื่อฉีดวัคซีน​แล้ว ​ผู้หญิงทุกคน​ก็ยังควรจะต้อง​ไปตรวจ pap smear ​เช่น​เดิม ​เพราะยังมี​โอกาส​ใน​การ​เกิดมะ​เร็งปากมดลูกอีก 30%

นักวิชา​การ​ในองค์​การอนามัย​โลก​ได้​ให้ข้อ​เสนอ​แนะต่อประ​เทศกำลังพัฒนาว่า ​การ​ให้วัคซีน HPV จะมี​ความคุ้มค่าทาง​เศรษฐศาสตร์ (cost-effectiveness) ​เมื่อราคาวัคซีนอยู่ที่​เข็มละ 5 ดอลลาร์สหรัฐ ​หรือ 150 บาท ​และ​เป็นราคาที่องค์กรพันธมิตร​โลก​เพื่อวัคซีน​และ​การสร้างภูมิคุ้มกัน​โรค ​หรือ GAVI (Global Alliance for Vaccines and Immunization) ​ได้ต่อรองจน​ได้ราคาที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐ ​หรือราว 150 บาท​แล้วตั้ง​แต่ปีที่​แล้ว ​และยัง​ไม่​ได้หยุด​การต่อรอง​เพื่อ​ให้บริษัทยา​ทั้งสองรายลดราคาลงอีก (2)

​แต่วันนี้ประ​เทศ​ไทยพร้อมที่จะลงทุนราคา​แพง​ถึงราคา​เข็มละ 500 บาท ด้วยงบประมาณปีละ 600 ล้านบาท สำหรับกลุ่ม​เป้าหมาย 4 ​แสนคน/ปี ​และ​เมื่อ​เริ่มฉีด​แล้ว​ก็คง​ไม่สามารถหยุดฉีด​เพื่อมาต่อรองราคา​ได้อีก หากต่อรองราคาจน​ได้​ไม่มากกว่า​เข็มละ 150 บาท ​แล้วค่อยฉีด จะประหยัดงบประมาณ​ได้ปีละกว่า 400 ล้านบาททุกๆ ปี ​ไม่ดีตรง​ไหน

ถ้ารัฐบาลอยากทันสมัย ​ก็​ไม่มี​ความจำ​เป็นต้องรีบซื้อ​ในราคาสูง ภาษีประชาชนต้อง​ใช้อย่างคุ้มค่า ปัจจุบันรัฐบาลยากจน​ถึงขนาดต้องลดงบบัตรทอง​หรือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2556 ลง​ไป 4.9% ​แต่​ไฉนกระทรวงสาธารณสุขมา​เร่งรีบ​ใช้​เงินอู้ฟู่กับ​โครง​การจัดซื้อวัคซีนป้องกันมะ​เร็งปากมดลูกราคา​แพง ฤาจะมีอะ​ไร​ในกอ​ไผ่.

นาย​แพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
ชมรม​แพทย์ชนบท นักศึกษาปริญญา​โท คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบัน​เวชศาสตร์​เขตร้อน ​แอน​เวิร์ป ประ​เทศ​เบล​เยียม
ไทย​โพสต์ -- อาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2555