ผู้เขียน หัวข้อ: ลองของ ลองแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ---รับ หรือ รับไม่ได้  (อ่าน 1454 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ประเด็นขอแก้ไขพรบ.

1.  ชื่อ ................... ขอตัดคำว่า “ เสียหายออก”
2.  หลักการ   เปลี่ยนเป็น พัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขที่ดี
3.  เหตุผล    เปลี่ยนเป็น   ส่งเสริมบริการสาธารณสุขที่ดี และดูแลประชาชนอีก 20 ล้านคน (ปกส.+ ข้าราชการ) มีการดูแลประชาชนทุกฝ่าย ที่เกิดความเสียหายจากบริการสาธารณสุข เท่าเทียมกัน
4.  คณะกรรมการ   ให้ยึดหลัก  ตัวแทนผู้คุ้มครองสิทธิประชาชน  =  ตัวแทนผู้ให้บริการ
 และตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสังคมศาสตร์  =   ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ 
(ม.7(3)    ตัวแทนสถานพยาบาล      เปลี่ยนเป็น    ตัวแทนผู้ให้บริการ
      (5)    ผู้ทรงคุณวุฒิให้ใช้ว่า  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์  3  คน  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ 3  คน 
5.  คณะกรรมการทำงาน
   1. อนุกรรมการให้ใช้ชุดและสัดส่วนของ ม. 41
   2. กรรมการอุทธรณ์ มี กรรมการด้านสังคมศาสตร์  =  กรรมการด้านการแพทย์
6.  สำนักงานเลขานุการ  ให้ใช้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  ตามเดิม
7.  กองทุน  ได้มาดังนี้
     -  เงินโอนคงค้างบัญชี  จาก ม.41 
   -  รายปี  ให้รับจาก
   1.  สปสช.  จ่ายเงิน 1%  ของงบ สปสช. มาสมทบ
   2.  กรมบัญชีกลาง  จ่ายโดยคำนวณ ค่าใช้จ่าย/ ต่อคน ตามสปสช.
   3.  สำนักงานประกันสังคม จ่ายเช่นเดียวกับกรมบัญชีกลาง
   4.  เงินเบี้ยประกันโดยสมัครใจ  จากสถานบริการเอกชน  คำนวณ จากค่าใช้จ่าย/ คน  ของสปสช. และจำนวนคน ให้นับ  1   เตียง =   100 – 120  คน (สมมติ  1คน  นอน  รพ.  3  วัน ฉะนั้น  1 ปี  จะดูแลผู้ป่วยประมาณ 100- 120  คน)  สถานพยาบาลไม่มีเตียงให้นับ  =  1  เตียง
ตัวอย่าง
        โรงพยาบาลเอกชน 100  เตียง จะดูแลประชาชน =    100  x  100  =   10,000   คน
        ค่าใช้จ่ายต่อคน(สปสช.)                    =   1,000  ส่วน / 40 ล้าน  =   25   บาท/คนฉะนั้น  โรงพยาบาลเอกชน   100 เตียง  จ่ายเบี้ยประกัน  =   10,000 x 25  =  250,000  บาท
   คลินิก  =   โรงพยาบาล   1  เตียง           =      100    คน
                จ่ายเบี้ยประกัน        =       100 x  25   =    2,500  บาท/ปี 

8.  การชดเชยให้ใช้      ม.41 
   การชดเชยเบื้องต้น      50,000 /  120,000 / 200,000 
   การชดเชยหลังอุทธรณ์ ให้เพิ่มขึ้นรวมไม่เกิน    1,000,000    บาท   
   ส่วนที่เกิน 200,000   บาท  ให้ทะยอย จ่ายเป็นรายเดือนและให้ติดตามการดูแลผู้ป่วยด้วยว่าได้รับการดูแลหรือไม่
   กรณีความเสียหายในสถานบริการเอกชน หากไม่ได้ทำประกันจ่าย 50,000   บาท  เป็นค่าเยียวยาในแง่มนุษยธรรม
   กรณีทำประกันจ่ายค่าชดเชย เช่นเดียวกับสถานบริการของรัฐ
9.  การฟ้อง
   -   ในกรณีที่ตกลงกันได้แล้วให้ทำสัญญาว่าได้รับการชดเชยแล้วและไม่ติดใจที่จะฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญา
   -   หากไม่พอใจให้ทำสัญญาไม่ตกลงแม้ว่าจะได้รับการชดเชยตามมติอนุกรรมการและจะได้รับเงินเยียวยาขั้นต้น  50,000  บาท เป็นการชดเชยทางมนุษยธรรม
   -   หากทำสัญญาและรับเงินและไม่พอใจสามารถกลับมาฟ้องได้ใน 1 ปี แต่ต้องคืนส่วนเกิน  50,000  บาท  หากไม่สามารถคืนได้ให้กรรมการมีสิทธิฟ้องร้องหรือยึดทรัพย์สินคืน