ผู้เขียน หัวข้อ: สคร.7 เตือนภัยไข้เลือดออก เน้นยึดหลัก 5 ป.  (อ่าน 1216 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
กรุงเทพฯ--16 พ.ค.--สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี
นายแพทย์ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี เผย สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบ 7 หวัด ยังน่าเป็นห่วง เพราะในช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง อากาศร้อนสลับฝนตก หลังจากฝนตกก็จะเกิดแอ่งน้ำขัง หรือน้ำขังตามภาชนะต่างๆ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงได้ โดยทั่วไปยุงลายจะวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำใสและนิ่ง ซึ่งน้ำฝนมักเป็นน้ำที่ยุงลายชอบวางไข่มากที่สุด จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของกลุ่มระบาดวิทยาฯ (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 — 10 พฤษภาคม 2555) พบ ผู้ป่วยทั้งหมดแล้ว 84 ราย เมื่อแยกเป็นรายจังหวัด พบ จังหวัดศรีสะเกษมีผู้ป่วยสูงสุด 41 ราย อุบลราชธานี 28 ราย นครพนม 7 ราย สกลนครและอำนาจเจริญ 3 ราย น้อยสุด คือ ยโสธรและมุกดาหาร จังหวัดละ 1 ราย

ข่าวทั่วไป ThaiPR.net -- พุธที่ 16 พฤษภาคม 2555 10:21:15 น.

ดูรูปทั้งหมด
กรุงเทพฯ--16 พ.ค.--สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี
นายแพทย์ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี เผย สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบ 7 หวัด ยังน่าเป็นห่วง เพราะในช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง อากาศร้อนสลับฝนตก หลังจากฝนตกก็จะเกิดแอ่งน้ำขัง หรือน้ำขังตามภาชนะต่างๆ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงได้ โดยทั่วไปยุงลายจะวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำใสและนิ่ง ซึ่งน้ำฝนมักเป็นน้ำที่ยุงลายชอบวางไข่มากที่สุด จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของกลุ่มระบาดวิทยาฯ (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 — 10 พฤษภาคม 2555) พบ ผู้ป่วยทั้งหมดแล้ว 84 ราย เมื่อแยกเป็นรายจังหวัด พบ จังหวัดศรีสะเกษมีผู้ป่วยสูงสุด 41 ราย อุบลราชธานี 28 ราย นครพนม 7 ราย สกลนครและอำนาจเจริญ 3 ราย น้อยสุด คือ ยโสธรและมุกดาหาร จังหวัดละ 1 ราย


 
นายแพทย์ศรายุธ กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ซึ่งจะกัดในเวลากลางวัน ลักษณะอาการเริ่มจากมีไข้สูง 2-7 วัน ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัวปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก คลื่นไส้ อาเจียนแต่จะไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล เหมือนไข้หวัด นอกจากนี้ อาจมีผื่น หรือจุดแดงๆ ขึ้นที่ใต้ผิวหนัง หลังจากนั้น ไข้จะลง ส่วนใหญ่จะฟื้นตัว สดชื่น แจ่มใสขึ้น และหายเป็นปกติ แต่หากไข้ลดแล้วมีอาการซึม เบื่ออาหาร มีอาการเพลียมาก ให้ไปพบแพทย์ทันที เพราะจะเกิดอาการช็อกได้ และที่สำคัญ ในการให้ยาลดไข้ ขอให้ใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพรินอย่างเด็ดขาด เนื่องจากหากป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีเลือดออกในอวัยวะภายในอยู่แล้ว ยาแอสไพรินจะทำให้มีเลือดออกมากขึ้น เพราะคุณสมบัติของแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดหยุดยากและเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ได้ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง และรณรงค์ให้ประชาชนปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วย 5ป.ปราบยุงลาย (ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง และปฏิบัติจนเป็นนิสัย) ได้แก่ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด

เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วันปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์ของยุงและปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย

ซึ่งจะเน้นความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะที่เป็นลูกน้ำ ตัวโม่ง และระยะที่เป็นตัวเต็มวัย หากประชาชนสามารถทำตามมาตรการดังกล่าวได้ ก็จะช่วยให้ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลงได้ และถ้ามีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422

Ryt9.com