ผู้เขียน หัวข้อ: ขอให้รัฐเป็นเจ้าภาพจัดประชาพิจารณ์ ฯ  (อ่าน 2014 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
http://www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=264&Itemid=45

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธาน คปส.ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ขอให้รัฐเป็นเจ้าภาพจัดประชาพิจารณ์ ฯ
เขียนโดย เคมบริดส์   
10 ส.ค. 2010 11:14น.

Imageวันนี้ เวลา 9.00 น. วันที่ 10 กรกฎาคม 2553 พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เป็นผู้นำผู้แทนแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และ กาคประชาชนผู้รับบริการ  ได้เข้าพบและยื่นหนังสือ คปส. ต่อนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีเนื้อหา 4 ข้อคือ 1. ขอให้รัฐบาลถอนร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ออกจากสภาก่อน 2. ให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพจัดประชาพิจารณ์ร่าง พรบ.นี้ในหมู่ผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์/สาธารณสุข และประชาชนผู้รับบริการทั่วไป 4 ภาค และ 1 ส่วน กทม.-ปริมณฑล  3. ขอให้ไม่มีเงื่อนเวลา จนกว่าจะได้ข้อสรุป  4. ให้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาการสาธารณสุข โดยมีผู้แทนกลุ่มองค์กร อสม./ชมรมแพทย์/ชมรมเทคนิคการแพทย์/ ชมรมเภสัชกร พร้อมกันเข้ายื่นหนังสือนี้ต่อนายอภิสิทธิ์ ด้วย  ดูรายละเอียดนี้

              เครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข (คปส.)

  48 ถนนจันทน์16 แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร  กรุงเทพฯ 10120 โทรสาร 02 6785608 email:wattathai@hotmail,com

 

                                                                    วันที่ 10 สิงหาคม 2553

 

เรื่อง  ขอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมัชชาผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข 4 ภาค เพื่อประชาพิจารณ์

        ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ และขอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขระบบการสาธารณสุข

 

เรียน  ฯพณฯ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี

 

อ้างถึง   - การเข้าพบนายกรัฐมนตรีของสภาวิชาชีพด้านการแพทย์ 22 กค 2553

- แถลงการณ์ฉบับที่ 1-5 ของ คปส. เรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

- ข่าวเผยแพร่สู่สาธารณชน เรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

- การแต่งดำทุกวันศุกร์ และ การชุมชุม ของแพทย์/พยาบาลฯ 30กค53

 

                ตามที่ปรากฏเป็นความขัดแย้งอย่างชัดเจน   ระหว่างแพทย์ผู้ปฏิบัติงานรักษาพยาบาลผู้ป้วยทั่วประเทศ กับ แพทย์ผู้ไม่รักษาผู้ป่วย  จำนวน น้อยซึ่งอยู่ในคณะปฏิรูปประเทศไทยและหน่วยงาน สปสช./สช./สวรส.อันมีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นเพียงประธานคณะกรรมการแต่ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาแต่อย่างใด ทำให้งานด้านการสาธารณสุขและงบจากภาษีกว่า 1  แสนล้านบาทของประเทศขาดเอกภาพมาต่อเนื่องราว 8 ปี นับแต่มี สปสช. โดยมีปรากฏการณ์ขัดแย้งและปัญหาที่สะสมส่วนยอด (tip of iceburge)ให้ เห็น ในประเด็นการขอให้รัฐบาลถอน กับ ผลักดันร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข และมีกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลดีจากบริการสาธารณสุขออกมาคัดค้าน กลุ่มอ้างเป็นผู้เสียหายและผลักดันร่าง พรบ.นี้  แสดงให้เห็นถึงสภาพความขัดแย้งในระบบการสาธารณสุขอย่างรุนแรงอันอาจนำไปสู่การล่มสลายของระบบที่พัฒนามาอย่างดีตลอดระยะเวลาหลายสิบปี   อันจะส่งผลเสียหายต่อประชาชนและประเทศชาติ

                ด้วย แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ในระบบสาธารณสุข ในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล 5 กระทรวง  หลัก คือ สาธารณสุข/กลาโหม/มหาดไทย/กทม./ศึกษาธิการ (โรงเรียนแพทย์เช่น ศิริราช รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ ฯ )  - คลินิกเอกชนกว่า 8 000 แห่ง และสถานพยาบาลเอกชน จำนวนราว 500 000 คน        ล้วนอยู่ในระบบบริการสาธารณสุข รวมถึง อสม.หรืออาสาสมัครสาธารณสุข ราว 1 ล้านคน    ในฐานะแทนประชาชนในด้านการสาธารณสุข  ประกอบกับหากได้นำมาใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว จะกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย 64 ล้านคน  ซึ่งไม่ได้ทราบ/ไม่มีโอกาสพิจารณ์ร่างพรบ.นี้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอเข้าครม.จนเข้าสู่สภาแต่อย่างใด     จึง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนได้พิจารณ์อย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลดีจริงต่อประชาชน มากกว่าการสร้างกระแสของกลุ่มบุคคลที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสำคัญผิดในข้อเท็จ จริงสำคัญได้

                ปัจจุบัน การเข้ารับบริการรักษาพยาบาลโดยเฉลี่ยมีอยู่ที่ 200 ล้านครั้ง/ปี กรณีที่มีปัญหา 200 ครั้งต่อปี คิดเป็น 1:1 ล้านครั้ง หรือเท่ากับ 0.000001 % หากมี พรบ.ดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ผู้พิพากษา ฯ  ชี้แล้วว่า  จะก่อให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องเพิ่มขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์/ผู้ป่วยต้องเสียหาย     เป็น ภาระต่อการเงินการคลังของประเทศและภาษีที่ประชาชนต้องแบกรับ เนื่องจากเงินภาษีต้องถูกกันเข้ามาในกองทุนที่จะตั้งขึ้นตาม พรบ.นี้ นับถึงได้ระดับหมื่นล้านบาท โดยไม่มีการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างเคร่งครัดเท่าระบบราชการ    และระบบบริการสาธารณสุขจะไม่สามารถให้บริการประชาชนตามปกติได้ อันเนื่องจากในปัจจุบันภาระงานของแพทย์/พยาบาล   และผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุข  ตก อยู่ในภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง งานหนักและเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคร้ายและเสี่ยงต่ออันตรายจากการให้บริการ ต้องทำงานท่ามกลางความขาดแคลนคน/งบ/และอุปกรณ์ ขาดขวัญกำลังใจ  และเห็นว่าไ ด้รวมกันเป็นกลุ่ม/องค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาเป็นส่วนๆอยู่บ้างแล้ว   เห็นว่าต้องเข้ามามีส่วนในการพิจารณ์ ร่าง พรบ.นี้ เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์จริง  จำเป็นต้องรวมกันรวมกัน กับ ประชาชนผู้รับบริการสาธารณสุข อสม.เป็น เครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข ( คปส.)  ซึ่งได้เปิดตัวต่อสาธารณชน เป็นครั้งแรก เมื่อ 4 สิงหาคม 2553 และมีแถลงการณ์แล้ว 5 ฉบับ

                ด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่สูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเพื่อประโยชน์สุขของ ประชาชน โดยเป็นหัวหน้ารัฐบาล ทั้งนี้ ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พศ.2534  คบส.  จึงได้มีมติร่วมกัน เพื่อขอให้รัฐบาล โดยฯพณฯ ท่านนายกรับมนตรี ดำเนินการด่วนดังนี้

    1. ถอนร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพศ....ออกจากรัฐสภา มาก่อน

    2. จัดสมัชชาผู้ให้และผู้รับบริการสาธารณสุขรวมถึงผู้ได้รับผลกระทบทั่วประเทศโดยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ เพื่อประชาพิจารณ์ร่าง กม.นี้  จัดใน 4 ภาค และ 1 ส่วนกลาง คือ กทม. และปริมณฑล

    3. ดำเนินการในข้อ 3 โดยไม่มีเงื่อนไขของเวลามาบังคับจนกว่าจะได้ข้อสรุป

    4. จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขระบบการสาธารณสุข โดยมีทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบเข้ามาเป็นกรรมการ ซึ่งสอดคล้องกับที่ คณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ / ศิริราช / เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ / คปส. และหลายส่วนได้เสนอแล้วตามที่ปรากฏเป็นข่าวแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ระบบได้รับการทบทวน พัฒนาอย่างรอบด้าน และประชาชนโดยรวมได้รับประโยชน์จริง

                จึงเรียนมาเพื่อ ฯพณฯท่านโปรดทราบ/พิจารณาด่วนด้วยจะเป็นพระคุณ

                                                                                                ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

 

                                                                                                                แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา  ประธาน คบส.

 

                                                                                                                แพทย์หญิงอรพรรณ์  เมธาดิลกกุล รองประธาน คบส.

 

                                                                                                                นายแพทย์ ฐาปนวงศ์  ตั้งอุไรวรรณ หัวหน้า ศูนย์ สื่อ

                                                                                                               

                                                                                                                เทคนิคการแพทย์วัฒดโนทัย  ไทยถาวร