ผู้เขียน หัวข้อ: ติดกระดุมเสื้อผิดตั้งแต่ พรบ. หลักประกันสุขภาพ  (อ่าน 3303 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ติดกระดุมเสื้อผิดตั้งแต่ พรบ. หลักประกันสุขภาพ

   เมื่อเราติดกระดุมเสื้อผิดตั้งแต่เม็ดแรกแล้ว   เม็ดต่อไปก็ต้องผิดบิดเบี้ยว  เสียรูปทรงทั้งตัว เช่นเดียวกับประเทศของเรา   ที่ตั้งต้นจะคุ้มครองดูแลผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข  ด้วยมาตรา 41 แห่งพ.ร.บ หลักประกันสุขภาพ แต่กีดกันความคุ้มครองการชดเชย ค่าเสียหายให้ได้แต่เฉพาะประชาชนผู้ถือบัตรทองเท่านั้น
   เงินเหมาจ่ายเป็นรายหัวที่รัฐมอบให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) จ่ายให้แก่โรงพยาบาลทั้งประเทศ ที่ให้บริการประชาชนผู้ถือบัตรทองนั้น   จะถูกหักกันไว้ร้อยละ 1 เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ในวงเงินไม่เกิน  2 แสนบาท   ตามมาตรา 41ดังกล่าว   โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก   จึงเข้าลักษณะการจ่ายให้เป็นสวัสดิการสงเคราะห์(welfare)จากรัฐ
   จากสถิติที่ผ่านมาพบว่ามีผู้เสียหายจำนวนไม่มาก จากจำนวนผู้ถือบัตรทองทั้งประเทศประมาณ  47.7  ล้านคน       เงินตามมาตรา 41 มีเหลืออยู่กว่า 5,400 ล้านบาท      ดังนั้นถ้าจะขยายความคุ้มครอง และเพิ่มจำนวนเงินก็น่าจะกระทำได้ง่ายกว่าร่างกฎหมายใหม่
   ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสวัสดิการ  เช่น สวีเดน  เป็นต้นแบบของเรื่องนี้ แต่ต้องวิเคราะห์ว่าเขาเก็บภาษีรายได้มากกว่า  ร้อยละ 60  และเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 25 และ มีระบบเยียวยาผู้เสียหายจากการรักษาพยาบาล ในวงเงินที่มีเพดานตามระดับของความรุนแรงที่เกิดขึ้น  โดยหวังว่าจะลดการฟ้องร้องแต่ข้อเท็จจริงกลับพบว่าผู้ขอใช้สิทธิ (claim) มากขึ้นๆ ทุกๆปี
การที่ประเทศไทยจะตามอย่างโดยยก(ร่าง) พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ขึ้นมาเตรียมเข้าวาระของการบังคับใช้    ความแตกต่างกันในบริบททั้งปวง เช่น จำนวนประชากร  เศรษฐกิจ  การศึกษาจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ไม่เพียงพอและ ฯลฯ ทั้งมวล จึงก่อให้เกิดปัญหามีทั้งผู้สนับสนุน  และฝ่ายค้าน ทั้งๆ ที่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดโดยชัดเจน เกิดความสับสนทางสังคม สมควรที่รัฐจะต้องประชาสัมพันธ์แนวกว้าง และทำประชาพิจารณ์ให้ชัดๆก่อนที่เรื่องจะบานปลาย
   ในเมื่อทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยกับเจตนารมณ์ของพรบ.ฉบับนี้   และยินดีที่จะสนับสนุนให้มีการคุ้มครองดูแล  แต่เมื่อยึดหลักกันคนละวิธีการจึงยืดหยุ่นกันไม่ได้  ฝ่ายหนึ่งเสนอกฎหมาย เก็บเงินตั้งกองทุน  แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสนอการขยายความคุ้มครองจากระบบประกันสุขภาพ
   เมื่อพิจารณาโดยสรุปพบว่า (ร่าง)พรบ.ฉบับนี้จะมีการเก็บเงินจากสถานพยาบาลทุกแห่งทุกระดับเข้ากองทุน คือ เมื่อประชาชนไปใช้บริการผู้ป่วยนอกก็จะเก็บหัวละ 5 บาท ถ้าเป็นผู้ป่วยในนอนโรงพยาบาลเก็บหัวละ 80 บาท   สถิติคร่าวๆ  จากระทรวงสาธารณสุขรายงานว่ามีผู้ใช้บริการผู้ป่วยนอก ปี 2552  ปีปีละประมาณ   140 ล้านครั้ง  ผู้ป่วยใน 10 ล้านครั้ง หากพรบ.นี้ผ่านจะมีเงินกองทุนมหาศาลกว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี   และถ้ามากเกินกว่าการใช้จ่ายแล้ว ก็ไม่ต้องส่งเข้าคลังเข้าประเทศด้วย  ภาคประชาชนคงต้องเหนื่อยกับการตรวจสอบการใช้เงินของกองทุนกองใหญ่   ที่ใช้เงินฟุ่มเฟือยแบบถูกกฎหมาย ตามที่ปรากฎในระบบบริหารกองทุนบางกองทุนในปัจจุบันนี้   มีข้อสงสัยว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพ      ทำโครงการที่ครอบคลุมประชากรทั้งประเทศหลายโครงการ  เช่น การตรวจมะเร็งปาดมดลูก   การรักษาต้อกระจก   การส่งเสริมสุขภาพ ฯลฯ แต่ทำไมการคุ้มครองแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการรักษา  ที่มีจำนวนเรื่องเพียงน้อยนิด   แถมยังใช้เงินที่กันไว้ไม่หมด   ถึงจะครอบคลุมประชากรทั้งประเทศไม่ได้ ถ้าคิดว่าเป็นประชาชนเหมือนกัน  โดยไม่คิดว่าใครเป็นผู้รักษา –ใครเป็นผู้ใช้บริการ  แต่เป็นการคุ้มครองสาธารณะ ที่รัฐให้ประชาชนโดยเสมอภาคกันอีกทั้งผู้รักษาพยาบาลก็ไม่ได้เจตนา        ประชาชนก็ไม่อยากเอาผิดกับผู้รักษาพยาบาล  รัฐบาลจะมีบารมีในประชานิยมอย่างถูกต้องที่สุดใน เมื่อรับภาระหน้าที่นี้ไว้เอง   
   ทฤษฎีตาข่ายความคุ้มครองทางสังคม(Social Safety net)ในหลักรัฐประศาสนศาสตร์   ถ้ามองประเด็นระบบการสาธารณสุข   โครงการบัตรทองคือตาข่ายพื้นฐาน ที่จะต้องรองรับการดูแลประชาชนทุกคน (Universal coverage)ให้เท่าเทียมกันในความอยู่รอดปลอดภัยโดยไม่ต้องเกี่ยงงอนว่า   ใครมีสิทธิอื่นอยู่หรือไม่   รัฐต่างหากที่ต้องพยายามให้ประชาชน เข้าระบบประกันสุขภาพแบบมีการจ่ายเงินสมทบหรือเบี้ยประกัน  ให้มากที่สุดและเพิ่มเติมให้ ถ้าสิทธิของบัตรทอง(ฟรี)มีมากกว่า      ภาระงบประมาณค่ารักษาพยาบาลด้วยการสงเคราะห์ด้วยบัตรทอง   ก็จะลดลง     ประชาชนได้ร่วมรับผิดชอบตนเองและสังคมร่วมกัน   ถ้าพอมีและให้ฟรีเฉพาะคนยากไร้(จริงๆ) ในบ้านเมืองเรา  อารยประเทศล้วนใช้หลักการนี้จัดสวัสดิการทั้งสิ้น
   ข้อเสนอของฝ่ายค้าน พ.ร.บ  คือ ให้ขยายความคุ้มครองมาตรา 41 ให้ครอบคลุมคนทั้งประเทศแ ละปรับมาตรฐานของวงเงินการจ่าย ให้เป็นไปตามการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย   ให้มีกรอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้วยเงิน (cash)จำนวนหนึ่งและเพิ่มระบบการช่วยเหลือระยะยาว (long term)ที่ไม่ใช่ตัวเงิน   เช่น    การดูแลรักษาพยาบาลต่อเนื่องเป็นพิเศษหากผู้เสียหายยังมีชีวิตอยู่
   การปล่อยให้เรียกร้องเป็นเงินก้อนมหาศาลคราวเดียว (10-100ล้านทำเอาขวัญของผู้ให้การรักษาพยาบาลกระเจิงกันหมดทั้งประเทศ)   ไม่น่าจะหลักประกันได้ว่าผู้เสียหายจะได้รับการดูแลโดยตลอด
จากภาระงานที่มากมายมหาศาลในสัดส่วนผู้ป่วยกับผู้ให้บริการ   รัฐต้องผลิตกำลังคนทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ทำงาน  90  - 120 ชั่วโมง/สัปดาห์ พยาบาลขึ้นเวร 30 -40 เวรต่อเดือน   แต่มีเรื่องผิดพลาดน้อยมาก น่าจะให้กำลังใจโดยรัฐควรแก้ไของค์ประกอบอื่นๆให้พร้อมก่อนเช่น  ชั่วโมงการทำงาน     ค่าตอบแทนตามภาระงานหนัก      การสนับสนุนการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพิ่มขึ้น เยียวยาประชาชนเมื่อเหตุเกิดโดยสุดวิสัย ถ้า จะเอาอย่างประเทศสวีเดนดังกล่าวเราต้องพร้อมกว่านี้
วรอย่ามองว่ากองทุนหรือเงินเท่านั้นจะแก้ไขปัญหาเชิงระบบ ชาติเราคงได้ติดกระดุมเสื้อให้ถูกในระบบหลักประกันสุขภาพ    เข้ากระแสที่สุดกับการ “ปฏิรูปประเทศไทยยุครัฐบาลอภิสิทธิ์”  ปลดกระดุมผิดออก   เริ่มกันใหม่ก็ยังไม่สาย.....
พ.ต.ท หญิง  ฐิชาลักษณ์   ณรงค์วิทย์
thichaluck@hotmail.com

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ติดกระดุมเม็ดแรกผิด ก็ต้องแก้กระดุมทั้งหมด แล้วเริ่มติดกระดุมใหม่
สิ่งที่หลีกไม่พ้น คือ ยังไง ๆ ก็ ต้องแก้กระดุมเม็ดแรกด้วย
เมื่อจะแก้ทั้งที เปลี่ยนกระดุมเป็นแบบสวยๆหน่อย ขยับขยายรังดุมให้เหมาะด้วยเลย

พี่น้อง......เตรียมแก้กระดุมเม็ดแรกกันได้แล้ว(แก้ พ.ร.บ.ประกันสุขภาพแห่งชาติ)

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ต้องช่วยกันแก้กระดุมทุกเม็ด