ผู้เขียน หัวข้อ: สมุดปกขาว เอ็นจีโอ ชี้แจง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ  (อ่าน 1782 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
สมุดปกขาว
ข้อแจงข้อเท็จจริง
กรณี (ร่าง) พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย
จากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....  กรกฎาคม 2553  ทำไมต้องมีกฎหมายฉบับนี้
 
๑.ในอดีตก่อนมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อผู้ป่วยได้รับความเสียหายจาการรับบริการสาธารณสุขและไมได้รับความช่วยเหลือจากหมอหรือโรงพยาบาลผู้ป่วยมักจะเงียบหรือมีจำนวนหนึ่งซึ่งน้อยมากไปขอรับความเป็นธรรมจากศาล    ซึ่งพบว่ามีความยากลำบากในการพิสูจน์ความถูกความผิดที่เกิดขึ้น      
๒.ดังนั้นในพ.ร.บ.หลักประกันจึงได้นำปัญหานี้ไปแก้ไขโดยกำหนดไว้ในมาตรา๔๑   ให้มีการกันเงินไว้ไม่น้อยร้อยละ   ๑ไว้จ่ายแทนแพทย์และหน่วยบริการเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นผุ้ที่ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุขที่ไม่ได้เกิดจากพยาธิสภาพของโรคนั้นๆไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด และครอบคลุมเหตุสุดวิสัยทางการแพทย์    โดยมีคณะกรรมการไม่เกิน    ๗ คนประกอบด้วยผู้แทนผู้ให้บริการและผู้รับ
บริการในสัดส่วนที่เท่ากัน   และผู้ทรงคุณวุฒิ ในการพิจารณาจ่ายเงินในระดับจังหวัด ปีที่ผ่านมามีผู้ขอรับการช่วยเหลือเพียง ๘๑๐   รายและเข้าข่ายต้องช่วยเหลือจำนวน ๖๖๐ รายใช้เงินไปประมาณ ๗๓ล้านบาทโดยมีผู้ใช้บริการในหน่วยบริการประมาณ๒๐๐ล้านครั้ง      
๓.แต่กลไกการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา   ๔๑ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครอบคลุมเฉพาะคนไข้บัตรทองประมาณ๔๗ล้านคน ดังนั้นประชาชน๑๖ล้านคนยังไม่มีระบบใดๆ
รองรับ เมื่อเกิดปัญหาแพทย์หรือหน่วยบริการนั้นก็ต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงต้องจ่ายค่าเสียหายหรือค่าช่วยเหลือเบื้องต้น ด้วยแพทย์ หรือโรงพยาบาล      
 ๔.ความขัดแย้งของแพทย์และคนไข้มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งมีสาเหตุหลายประการ    อาทิเช่น ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นระบบสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขการแพทย์สาธารณสุขที่เป็นการค้ามากขึ้นการพัฒนาคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ระบบทุนนิยมและบทบาทของสื่อมวลชนเป็นต้น โดยมีสถิติการฟ้องร้องคดีแพ่งต่อศาลในช่วงปี๒๕๓๙-
๒๕๕๑ จำนวน ๗๖ คดี   และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีในปัจจุบัน   
๕.ในปี๒๕๕๐กลุ่มประชาชนผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ กลุ่มองค์กรผู้บริโภค กลุ่มผู้ป่วยและองค์กรพัฒนาเอกชน ได้ปรึกษาหารือกัน    และประสานความร่วมมือกับนพ.มงคล    ณ สงขลา   รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น จึงเป็นที่มาที่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอให้มีการตั้งคณะทำงานยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข    โดยมีนพ.พงษ์
พิสุทธิ์ จงอุดมสุข เป็นประธาน และมีองค์ประกอบจากนักวิชาการ   แพทยสภา   กองประกอบโรคศิลปะตัวแทนผู้เสียหาย   องค์กรผู้บริโภคและหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง   โดยมีหลักการสำคัญ3ประการคือการชดเชยความเสียหายจากบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด    การลดการฟ้องฟ้องระหว่างแพทย์และคนไข้    และการนำความเสียหายที่เกิดขึ้นปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุข    และกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงเป็นร่างกฎหมายฉบับกระทรวงสาธารณสุข    และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากแพทยสภาและผู้ประกอบวิชาชีพไม่น้อยกว่า300    คน โดยกลุ่มประชาชนผู้เสนอกฎหมายคัดค้านการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนั้นเพื่อนำร่างเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี      

๖.คณะรัฐมนตรีรับหลักการ    และได้ส่งต่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาและจัดทำเป็นกฎหมายของรัฐบาล ตลอดขั้นตอนในคณะกรรมการ มีตัวแทนทุกภาคส่วน ทั้งจากกองประกอบโรคศิลปะแพทยสภา แพทยสมาคม สมาคมคลินิกเอกชน ตัวแทนผู้เสียหาย   องค์กรผู้บริโภค ผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านร่วมกันพิจารณาจนได้เป็นร่างของคณะรัฐมนตรีที่รอการพิจารณาใน
สมัยประชุมนิติบัญญัตินี้   
๗.นอกจากนี้    ตัวแทนผู้ป่วย องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรผู้บริโภค   ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการจัดตั้งกองทุนชั่วคราวในการชดเชยความเสียหายโดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้จัดทำข้อมูลราย
ละเอียด ว่า   จะใช้งบประมาณในการดำเนินการจำนวนเท่าใดซึ่งปัจจุบันได้มีการเสนอข้อมูลให้นายกรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อย   
 
ความคืบหน้าของกฎหมายฉบับนี้
 
๑. ปัจจุบันมีกฎหมายทั้งหมด ๗ ฉบับที่ถูกเสนอและรอการพิจารณา
ของสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1
•    ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข   
พ.ศ.   ....   (คณะรัฐมนตรี   เป็นผู้เสนอ)   [1]      
•    ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข   
พ.ศ.   ....   (นายเจริญ   จรรย์โกมล   กับคณะ   เป็นผู้เสนอ)   [2]   
•    ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข   
พ.ศ.   ....   (นายประสิทธิ์   ชัยวิรัตนะ   กับคณะ   เป็นผู้เสนอ)   [3]   
•    ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ในระบบบริการ
สาธารณสุข   พ.ศ.   ....   (นายบรรพต   ต้นธีรวงศ์   กับคณะ   เป็นผู้เสนอ)   
[4]   
•    ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข      
พ.ศ.   ....   (นางอุดมลักษณ์   เพ็งนรพัฒน์   กับคณะ   เป็นผู้เสนอ)   [5]   
•    ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข   
พ.ศ.   ....(นายสุทัศน์   เงินหมื่น   กับคณะ   เป็นผู้เสนอ)   [6]   
•    ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข   
พ.ศ.    ....    (นางสาวสารี    อ๋องสมหวัง    กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จำนวน   ๑๐,๖๓๑คน   เป็นผู้เสนอ)   [7]   
 
[1] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-05.pdf
[2] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-08.pdf
PB

ข้อเท็จจริงในร่างกฎหมาย : ตอบตรงทุกคำคัดค้าน
 
๑. ไม่มีแพทย์เข้าไปเป็นกรรมการเวลาพิจารณาคดี มี NGO ไปกว่าครึ่ง คณะกรรมการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขตามมาตรา ๗ มีบทบาทในการกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้เสียหาย พัฒนาระบบความปลอดภัย และการสนับสนุนการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีในระบบบริการสาธารณสุข รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง      
 
หากพิจารณามาตรา ๗(๓)    มีพบผู้แทนสถานพยาบาล    จำนวน ๓ คนเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้   จัดให้มีกองทุนเยียวยาความเสียหายโดยที่มาของเงินมาจากสถานพยาบาลของรัฐ(รัฐเป็นผู้จ่ายสมทบ) และสถานพยาบาลเอกชนจึงต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคณะกรรมการนโยบาย ตามกฎหมายนี้ให้น้ำหนักกับผู้จ่ายเงินเนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงมากกว่าผู้ประกอบวิชาชีพ จึงมีผู้แทนสถานพยาบาลและขณะเดียวกันน่าจะเป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพอยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนที่กันกับผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ไม่น้อยกว่า๒๐๐    องค์กร ส่วนสุดท้ายเป็นตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง      
 
[3] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-09.pdf
[4] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-10.pdf
[5] ดูรายละเอียดที่http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-11.pdf
[6] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-12.pdf
[7] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-13.pdf
 
นอกจากนี้ในมาตรา ๑๒    ยังกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการอย่างน้อย๒ คณะซึ่งเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยโดยตรง   
๑.คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น    ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์   ด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้านการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างละ ๑ คน ผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทน
ผู้รับบริการอย่างละ ๑ คน    ในคณะอนุกรรมการจะเห็นว่ามีผู้รู้เรื่องด้านการรักษาพยาบาลอย่างน้อย๒คน      
๒.คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์    ด้านการแพทย์และสาธารณสุข    ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านละ ๑ คน ที่สำคัญกว่านั้นคือ บทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไม่ได้มีหน้าที่พิจารณาหาผู้รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น หลักการในการพิจารณาจ่ายเงินไม่ได้มีการพิสูจน์ถูกผิด กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ต้องการจับผิดแพทย์เพ่งโทษรายบุคคลหรือพิจารณามาตรฐานของแพทย์    จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีราชวิทยาลัยทุกสาขาและใช้กลไกเช่นเดียวกันกับแพทยสภา    แต่ให้ใช้กลไกเช่นเดียวกับการพิจารณาการช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ของกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และไม่เห็นมีการคัดค้านเลยเมื่อมีผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพมากกว่าผู้แทนองค์กรผู้บริโภคตามมาตรา๑๒   
 
๒. คนไข้ได้เงินสองต่อ โดยไม่ได้พิสูจน์ว่ามีความเสียหายเกิดจากการแพทย์หรือไม่หรือเป็นเพราะโรคเอง คนไข้จะได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นหากมีความเสียหาย แต่หากเป็นเพราะโรคนั้นๆหรือพยาธิสภาพของโรคจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือหรือชดเชยไม่ใช่ผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกรายที่โรงพยาบาลแล้วต้องได้เงินการช่วยเหลือเบื้องต้นต้องดำเนินการภายใน๓๐วันเพราะต้องการความรวดเร็วเพื่อลดความขัดแย้ง และพิจารณาจ่ายเงินชดเชยต่อไป ยึดหลักการพิจารณาคดีแพ่งเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือเทียบเท่าหรือไม่น้อยกว่าการฟ้องคดีมากนัก    เพราะจะเป็นการสกัดการฟ้องคดี หรือหากฟ้องคดีก็คงไม่ได้รับเงินชดเชยมากไปกว่านี้   
 
๓. ได้เงินแล้ว คนไข้มีสิทธิ์ฟ้องอาญาแพทย์ได้อีก แม้ว่าโดยหลักการแล้ว การฟ้องร้องทางคดีอาญาจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ผู้เสียหายมีสิทธิใช้    ด้วยเป็นสิทธิทางกฎหมาย ที่ไม่สามารถมีกฎหมายใดมายกเลิกได้ แต่ด้วยหลักการแก้ปัญหาเชิงบวก ไม่เพ่งโทษที่บุคคล เน้นความร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือเยียวยากับผู้ที่เป็นเหยื่อความผิดพลาดของระบบ กฎหมายการชดเชยฯ จะเป็นระบบที่ทำให้ทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้อง    โดยเฉพาะผู้เสียหายฯ ไม่ว่าผู้ป่วยหรือญาติ หันหน้าเข้าหากันแทนการเผชิญหน้า    เพราะโดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏทั่วไปก็คือ การฟ้องร้องตามกฎหมาย เป็นเรื่องที่ชาวบ้านธรรมดาเข้าถึงได้ยากเพราะยุ่งยาก    เสียเวลานานและได้ไม่คุ้มเสีย นอกจากนี้ในร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่รัฐสภาก็ไม่มีมาตราใดที่จะเปิดช่องให้ฟ้องแพทย์หรือโรงพยาบาล    หรือเจ้าหน้าที่อื่นในโรงพยาบาลเลย ตรงกันข้ามกลับจะช่วยแพทย์และโรงพยาบาลอย่างมาก เพราะร่างมาตรา ๓๔   ของรัฐบาล   กำหนดว่า “หากผู้เสียหายหรือญาติไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชยและได้ฟ้องร้องผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับความเสียหายเป็นคดีต่อศาล    ให้สำนักงานยุติการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้    และให้ผู้เสียหายหรือทายาทไม่มีสิทธิ์ที่จะยืนคำขอตามพระราชบัญญัตินี้อีก”หรือเมื่อพิจารณามาตรา   ๔๕ที่กำหนดให้กรณีผู้ให้บริการถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาฐานกระทำการโดยประมาท หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ศาลสามารถนำข้อเท็จจริงต่างๆ ของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดีมาตรฐานทางวิชาชีพ    การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี    การรู้สำนึกในความผิด    การทำสัญญาประนีประนอมตามกฎหมายฯ    มาพิจารณาประกอบ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดหรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ จะเห็นได้ว่าร่างกฎหมายดังกล่าวได้พยายามป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในด้านต่างๆอย่างรอบคอบ   
 
๔. อายุคดีความยาวตั้งเป็น ๑๐ ปี ป่านนั้นก็ลืมไปแล้วว่าเป็นเพราะ medical error หรือ ตัวโรคเอง
กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ขยายอายุความ แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๕๑    ซึ่งมีหลักเรื่องอายุความเช่นเดียวกับร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยยึดหลักกรณีความเสียหายต่อร่างกาย-สุขภาพ ที่ผลของสารทีสะสมในร่างกายใช้เวลาในการแสดงอาการ ต้องใช้สิทธิภายใน๓ปีเมื่อรู้ถึงความเสียหายและรู้ผู้ประกอบการแต่ไม่เกิน ๑๐ปีจากวันที่รู้ความเสียหาย มาตรา ๑๓ ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค   
 
๕. แต่ที่แน่ๆ เขาไม่ได้อ่านต้นฉบับ เขาฟังต่อๆกันมา  อันนี้คงตอบแทนไม่ได้ แต่เชื่อว่าหากแพทย์ได้อ่านกฎหมายฉบับนี้แล้วน่าจะสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้กันเป็นส่วนใหญ่ยกเว้นผู้ที่อาจจะเสียผลประโยชน์ในเรื่องนี้   
 
๖. เก็บตังค์หมอไป คุ้มครองหมอคนอื่นที่อาจจะทำชุ่ยจริง เหมือนประกันในต่างประเทศ หลายคนคิดว่าทำไมฉันต้องจ่ายให้หมอชุ่ยๆด้วย คุณหมอนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ได้ให้เหตุผลไว้
อย่างน่าสนใจ ว่า เป็นการเปลี่ยนจากการรับภาระความเสี่ยงเป็นราย   (post  paid) ซึ่งมีมูลค่าสูงต่อครั้ง เปลี่ยนมาเป็นการแชร์ความเสี่ยงของทั้งระบบ    โดยการจ่ายเบี้ยสมทบแบบอัตราเฉลี่ยต่อคนจึงเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการระดมทุน ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องจ่ายเบี้ยสมทบอาจเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากการมารับบริการของผู้ป่วย    ยกตัวอย่างเช่น ๘๐บาท   ต่อรายผู้ป่วยที่นอนค้างรักษาในโรงพยาบาลเป็นต้นส่วนที่จะต้องเก็บจากโรงพยาบาลรัฐ    ทางกองทุนจะของบประมาณรัฐบาลอุดหนุนปีต่อปี(คนไข้โรงพยาบาลเอกชนต่างหวังว่าจะไม่ถูกเก็บ   ๕๐๐บาท)   
 
๗. ประเทศสวีเดน คนฟ้องร้องมากขึ้น หลังจากมีกฎหมายฉบับนี้ข้อกล่าวหาเรื่องนี้ไม่เป็นความจริงรายงานของ    The Swedish Patient Insurance Association ระบุว่า    ก่อนปี ค.ศ.    1975เมื่อยังไม่มีระบบชดเชยความเสียหายแบบนี้ในสวีเดน    ผู้เสียหายต้องฟ้องร้องผ่านศาลตามกฎหมายว่าด้วยการละเมิด พบว่ามีผู้เสียหายได้รับการชดเชยประมาณ๑๐๐ราย    ต่อปีเท่านั้น    หลังจากมีกฎหมายThe Swedish Patient Injury   Actแล้วมีผู้เสียหายได้รับการชดเชยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณปีละ๕,๐๐๐รายโดยผู้เสียหายที่ร้องขอการชดเชยจะไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใด ๆ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณา    การดำเนินการต่างๆ ตั้งแต่ร้องเรียนเข้ามาจนกระทั่งได้รับการชดเชยเฉลี่ยรายละประมาณ๙๐๐-๑,๐๐๐   เหรียญ(ยูโร) เท่านั้นและประมาณร้อยละ   ๕๐ได้รับการชดเชยภายใน   ๖เดือนร้อยละ๘๐ได้รับการชดเชยภายใน๑ปี   เมื่อเทียบกับระบบการฟ้องศาลพบว่าค่าใช้จ่ายต่อรายสูงถึงประมาณ๒๒,๐๐๐เหรียญและใช้เวลายาวนานหลายปี   

๘. ไม่คุ้มครองกรณีเหตุสุดวิสัย ทำให้ฟ้องร้องต่อ มาตรา ๖ วรรค ๒    ได้เขียนยกเว้นไม่คุ้มครองกรณีความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ   ซึ่งเป็นการแก้ไขร่างกฎหมายในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา   โดยหากพิจารณาร่างกฎหมายหลายฉบับหรือแม้แต่ร่างกฎหมายฉบับประชาชนก็ไม่ได้ระบุข้อยกเว้นเรื่องนัไว้    นั่นเท่ากับว่า ให้การคุ้มครองในเรื่องนี้    และถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องคุ้มครองเพราะเป็นความเสียหายที่ไม่ใครตั้งใจให้เกิดขึ้นซึ่งหากเห็นตรงกันก็เป็นรายละเอียดที่สามารถแก้ไขได้ในขั้นตอนการพิจารณากฎหมาย   
 
๙. คนหมื่นคน(คนที่เสนอกฎหมาย) เป็นคนที่ได้ประโยชน์กลุ่มเดียว หรือ NGO อยากเข้าไปเป็นกรรมการ หาผลประโยชน์จากองทุน  กฎหมายนี้ให้สิทธิกับประชาชนคนไทยทุกคน การเสนอกฎหมายนี้
โดยประชาชนเกิดขึ้นจากพัฒนาการการทำงานของเครือข่ายผู้ป่วย   ผู้เสียหายทางการแพทย์ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ    และองค์กรผู้บริโภค ที่สนับสนุนการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานเท่าเทียมและมีคุณภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหลายยุคหลายฉบับ รวมทั้งมีโอกาสในการรับรู้ปัญหาความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้บริการสาธารณสุข   หากมองว่ากลุ่มองค์กรเหล่านี้ตั้งใจจะเข้าไปเป็นกรรมการบริหารกองทุนหาผลประโยชน์   องค์กรเหล่านี้ในปัจจุบันมีไม่น้อยกว่า๓๐๐องค์กรที่ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการกับทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคนกลุ่มนี้เป็นเพียงผู้ทำหน้าทีในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา๑๖๓ ที่กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง    ๑๐,๐๐๐    ชื่อเข้าชื่อกันเสนอกฎหมาย ซึ่งมีความยากลำบากและขั้นตอนมากมายในการดำเนินการที่ต้องรวบรวมทั้งสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนในการเสนอ
กฎหมาย   และปัจจุบันทำได้เพียงยื่นกฎหมายไว้หน้าประตูรัฐสภา    เพราะไม่มีการให้ความสำคัญในการเสนอกฎหมายของประชาชนจากรัฐสภา เห็นได้จาก(ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระผู้บริโภค พ.ศ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา๖๑ หรือ(ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....ที่ยื่นรายชื่อ๑๐,๐๐๐ชื่อกับประธานรัฐสภา ไปมากกว่า ๑ ปี ตั้งแต่    วันที่๑๙กุมภาพันธ์๒๕๕๒   และวันที่๑๘มิถุนายน๒๕๕๒ตามลำดับในการเสนอกฎหมายของประชาชน    และยังไม่ได้รับการพิจารณา หรือรับหลักการจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด   
 
ขอร้องเถอะอย่าคัดค้านให้ถอนร่างเลย    เพราะไม่มีเหตุผลใด ๆ   ไปมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และแก้ไขให้ดีที่สุด ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายของรัฐสภาซึ่งใช้เวลาไม่น่าจะน้อยกว่า๑   ปีไม่อย่างนั้นอดีตนายกอานันท์   หรืออาจารย์สมบัติต้องปฏิรูปเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง(ทางตรง)ของภาคประชาชนด้วย   

สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ได้ที่…
โครงการปฏิบัติการองค์การอิสระผู้บริโภค (จำลอง)
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
๔/๒ซอยวัฒนโยธิน   แขวงถนนพญาไท   เขตราชเทวี   กรุงเทพฯ   ๑๐๔๐๐   
โทร.   ๐๒-๒๔๘-๓๗๓๗   โทรสาร   ๐๒-๒๔๘-๒๗๓๓   
www.consumerthai.org   
สนับสนุนโดย…แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ