ผู้เขียน หัวข้อ: ตอบคำถามคุณ “กาแฟดำ” เรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ  (อ่าน 1664 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ตอบคำถามคุณ “กาแฟดำ”
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานเครือข่ายคุ้มครองการบริการสาธารณสุข(คบส.)
 
สืบเนื่องจากบทความของ “กาแฟดำ”ในกรุงเทพธุรกิจ เรื่อง หมออย่าทะเลาะกัน คนไข้จะเป็นลม ได้ทิ้งคำถามไว้ว่า ควรจะตอบคำถาม 3 ประเด็นนี้ คือ
 1. กฎหมายนี้จะทำให้มีการฟ้องร้องแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขมากขึ้นจริงหรือไม่?   
 2. รัฐและคนไข้ทั่วไปจะเสียหายให้กับคนไข้ที่ “ฉวยโอกาส” จากกฎหมายใหม่นี้หรือไม่อย่างไร?
 3. คนไข้โดยเฉพาะที่ใกล้ตายจะพากันแห่เข้าโรงพยาบาลเพื่อหาประโยชน์จากกฎหมายฉบ  ับนี้ จนทำให้โรงพยาบาลต้องรับภาระหนักหน่วงขึ้น และคนไข้ที่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลจะประสบปัญหา เพราะหาเตียงนอนในโรงพยาบาลยากลำบากมากขึ้นหรือไม่?
 คำตอบจากประธานเครือข่ายคบส.
1.      กฎหมายนี้จะทำให้การร้องขอเงินค่าช่วยเหลือจากกองทุนมากขึ้นแน่นอนดังนี้
 
    1.1      ไปร้องเรียนที่คณะกรรมการ  เวลาร้องก็ต้องกล่าวหาว่าใครทำให้เสียหาย ส่วนแพทย์และโรงพยาบาลก็ต้องเขียนรายงานส่งคณะกรรมการ หรืออาจต้องถูกเรียกไปให้ปากคำกับคณะกรรมการ หลังจากนั้น คณะกรรมการก็จะต้องตัดสินว่า จะให้เงินค่าช่วยเหลือและค่าชดเชยหรือไม่ ถ้าให้ จะให้เท่าไร  และประชาชนที่ร้องขอเงินพอใจกับจำนวนเงินที่คณะกรรมการจะจ่ายหรือไม่ ถ้าพอใจก็รับไป 

     1.2      แต่ถ้าประชาชนยังได้เงินไม่มากพอตามใจที่อยากได้  ก็มีสิทธิ์ไปร้องอุทธรณ์เพื่อขอเงินเพิ่มไปยังคณะกรรมการได้อีก ถ้าคิดว่าคณะกรรมการอุทธรณ์เพิ่มให้จนพอใจแล้ว ก็รับเงินก้อนนั้นไป

     1.3      ถ้าจำนวนเงินที่ได้นั้นยังไม่พอใจ  ก็จะไปฟ้องศาลแพ่งได้อีก และถ้าชนะคดี ได้เงินมากกว่าที่คณะกรรมการให้ ก็เป็นอันยุติ หรือถ้ายังไม่ชนะคดี ก็อาจไปฟ้องกันจนถึงศาลฎีกา แต่ถ้ายังไม่ชนะคดี ก็ยังมีสิทธิ์กลับไปขอเงินจำนวนที่คณะกรรมการตัดสินให้ได้อีก
     
     1.4      ถ้าฟ้องคดีชนะแล้ว ได้เงินแล้ว แต่ยังอาฆาตเคียดแค้นหมอไม่เลิกก็ยังมีสิทธิไปฟ้องศาลอาญาได้จนถึงขั้นฎีกา เพื่อเอาโทษอาญากับหมอให้ได้

     1.5      ส่วนหมอนั้น ถ้าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของคณะกรรมการ ก็ต้องไปฟ้องศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครอสูงสุดตามลำดับ เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการ

     1.6      เนื่องจากมาตรา 6 บอกว่า จะจ่ายเงินได้ ต้องรู้ว่าแพทย์ไม่รักษาผู้ป่วยตามมาตรฐาน แต่กรรมการไม่มีความรู้ทางการแพทย์ เท่ากับว่าแพทย์ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

     1.7      เมื่อแพทย์ถูกกล่าวหาว่ารักษาผู้ป่วยไม่ได้มาตรฐาน แพทย์ก็จะต้องถูกสอบสวนเพิ่มขึ้นอีกจากแพทยสภา ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการประพฤติของแพทย์ให้มีจริยธรรมวิชาชีพ ซึ่งหมายความรวมถึงการประกอบวิชาชีพให้ได้มาตรฐานด้วย

     1.8      ฉะนั้น โดยสรุปแล้ว ขอให้คุณสทธิชัย หยุ่น คิดเองก็แล้วกันว่า กฎหมายนี้จะทำให้การร้องเรียน/ฟ้องร้องลดลงหรือไม่

2.รัฐและคนไข้ทั่วไปจะเสียหายให้กับคนไข้ที่ “ฉวยโอกาส” จากกฎหมายใหม่นี้หรือไม่อย่างไร? 
ตอบ       

     2.1 คนไข้ที่ใกล้ตาย ญาติอาจรีบนำไปโรงพยาบาล ให้ไปตายในโรงพยาบาล เพื่อร้องขอเงินช่วยเหลือ โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด

     2.2 รัฐบาลต้องหาเงินมาจ่ายให้โรงพยาบาลของรัฐมากขึ้น ไม่เช่นนั้น โรงพยาบาลของรัฐต้องล้มละลายแน่นอน เพราะมีผู้ป่วยตายในโรงพยาบาลปีละหลายแสนคน

     2.3 โรงพยาบาลของรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบันนี้ ก็ขาดดุลและขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่แล้ว505 โรงพยาบาลจากประมาณ 870โรงพยาบาล ฉะนั้น ถ้าต้องส่งเงินเข้ากองทุนนี้ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท (จากการประมาณการของสวรส.) โรงพยาบาลก็คงต้องขาดเงินในการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ต่างๆ (ผ้าปิดแผล อุปกรณ์ห้ามเลือด เฝือก สายสวน มีด กรรไกร เข็มฉีดยา เครื่องมือผ่าตัด ฯลฯ)  รวมทั้งเตียง เครื่องมือแพทย์ต่างๆ ไว้คอยดูแลผู้ป่วย ทั้งวัสดุคงทนและวัสดุสิ้นเปลือง ต้องขาดแคลนอย่างแน่นอน

ถาม 3.  คนไข้โดยเฉพาะที่ใกล้ตายจะพากันแห่เข้าโรงพยาบาลเพื่อหาประโยชน์จากกฎหมายฉ บ บนี้ จนทำให้โรงพยาบาลต้องรับภาระหนักหน่วงขึ้น และคนไข้ที่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลจะประสบปัญหา เพราะหาเตียงนอนในโรงพยาบาลยากลำบากมากขึ้นหรือไม่?
ตอบ ตามปกติแล้ว ในปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลต่างๆ
โดยเฉพาะรพศ/รพท. หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้นต่างก็ไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรับผู้ป่วยทุกคน อยู่แล้ว ผู้ป่วยและญาติจะทราบดี เพราะประสบกับปัญหาเตียงเต็ม ต้องเอาผู้ป่วยใส่รถตระเวนไปเรื่อยๆจน กว่าจะได้เตียง บางที่ก็ต้องหาเตียงเสริมมานอนตามระเบียงบ้าง หน้าห้องส้วมบ้าง หน้าบันไดบ้าง เพราะฉะนั้น ถ้ามีพ.ร.บ.นี้ขึ้นมาจริงๆ ประชาชนอาจจะต้องนอนกับพื้น เหมือนโรงพยาบาลสนามยามศึกสงคราม และอาจต้องรับสมัครประชาชน มาเป็นแพทย์สนามแบบเสนารักษ์ หรือเป็นนางพยาบาลอาสาสมัคร เพื่อช่วยกันดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยหรือญาติของตนกันเอาเอง
 
ส่วนที่ “กาแฟดำ”ไม่ได้ถามในบทความนี้ ประธานคบส.(เครือข่ายคุ้มครองการบริการสาธารณสุข) ขอบอกก็คือ ผู้อยู่เบื้องหลังการเขียนและผลักดันกฎหมายนี้ เขียนล็อกสเป็คเอาไว้ในมาตรา 50 บทเฉพาะกาล มีสิทธิมานั่งบริหารกองทุน เอาเงินของประชาชน มาเป็นเบี้ยเลี้ยง เบี้ยประชุม และผลประโยชน์แอบแฝงอื่นๆอีกมากมาย

ส่วนใครจะอยู่เบื้องหลังบ้าง หวังว่า "กาแฟดำ" ผู้เฝ้าข่าวสารบ้านเมืองทั่วโลกมาตลอดเวลา คงจะพอรู้ตัวคนเหล่านี้อยู่แล้วนะคะ

ถ้ายังไม่รู้ก็ถามมาได้นะคะ ยินดีจะตอบทุกคำถาม