ผู้เขียน หัวข้อ: ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.เพชรบุรี นำร่องโครงการ เสริมสร้างสุขภาพพระสงฆ์และประชาชน  (อ่าน 1536 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- อาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม 2555 00:00:33 น.
ภัทรพงษ์ ปานปิ่นทอง-ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม/เพชรบุรี
จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ พฤติกรรมการบริโภคก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพซึ่งส่วนใหญ่เกิดความเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้น


 
นอกจากนี้ การใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรม ผลผลิตมีสารพิษตกค้าง ความร้อนในขั้นตอนการปรุงอาหารไม่สามารถทำลายสารพิษได้ รวมทั้งการใช้สารถนอมอาหารและสารฟอกสีในอาหารทะเล เพื่อทำให้น่ารับประทานและสามารถเพิ่มราคาสินค้า สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายจนเกิดความเจ็บป่วยเรื้อรัง และยังส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษาทั้งของบุคคลและภาครัฐที่สูงขึ้นโดยใช่เหตุ เป็นการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจของชาติโดยรวม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความเจ็บป่วยเหล่านี้สามารถป้องกันได้

จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายขนมไทยที่มีรสหวาน มัน และเค็ม เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังนิยมรับประทานขนมหวาน และยังปรุงอาหารคาวที่มีรสหวานยืนพื้นอีกด้วย และการทำบุญใส่บาตรแด่พระสงฆ์ โดยการถวายทั้งอาหารคาว หวาน และมีรสเค็ม ตลอดจนอาหารที่มีสารพิษตกค้างมาจากผลิตผลทางการเกษตร อาหารทะเลทั้งสดและแห้งที่นำมาปรุงโดยผู้ทำบุญใส่บาตรเอง หรือหาซื้ออาหารสำเร็จรูปมาจากตลาด หรือสถานประกอบการ ส่งผลให้พระสงฆ์และสามเณรทุกภาคของประเทศ จำนวน 80,945 รูป พบว่าร้อยละ 56 มีสุขภาพไม่ดี และร้อยละ 31 มีความเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน และที่เหลือเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดอุดตัน และเบาหวาน

ดังนั้นสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนทั้งประชาชนทั่วไป รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ด้วย ประชาชนทั่วไปอาจเลือกสรรอาหารรับประทานได้โดยสะดวก แต่ในส่วนของพระภิกษุสงฆ์ซึ่งส่วนใหญ่ต้องฉันภัตตาหารตามที่พุทธศาสนิกชนนำมาถวาย ทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพได้ รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคบางอย่างที่เสี่ยงต่อการทำร้ายสุขภาพ การจัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพพระสงฆ์และประชาชน โดยศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพชรบุรี จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพด้วยการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจถึงการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคและความเจ็บป่วยที่สามารถป้องกันได้ ให้แด่พระสงฆ์ด้วยกันและให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนกับวิถีการดำเนินชีวิต

รศ.ดร.บุญทิพย์ สิริธรังศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.เพชรบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ความเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้มีมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มของพระสงฆ์ ซึ่งจากการวิจัยจะพบได้ว่าสุขภาวะของพระสงฆ์ ส่วนใหญ่จะมาเกี่ยวข้องกับประชาชน เพราะว่าท่านจะบริโภคอาหารจากประชาชน และจากการสำรวจข้อมูลจะพบได้ว่ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ พระป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และจากพฤติกรรมที่นำมาโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และจังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีอาหารหวาน คาว นำด้วยรสของหวาน ในฐานะมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาและการพยาบาลศาสตร์ สาธารณสุข และมีศูนย์วิทยพัฒนาเป็นตัวแทนด้านของการจัดอบรมโครงการบริการแก่สังคม จึงร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

จัดโครงการเสริมสร้างสุขภาพพระสงฆ์ขึ้นมา โดยเราจะแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ระยะที่ 1 เราคัดเลือกแกนนำขึ้นมา พร้อมกับการจัดสัมมนาแกนนำโครงการเสริมสร้างสุขภาพพระสงฆ์และประชาชน ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2555 พร้อมกับการเสวนาในเรื่องสภาวะสุขภาพและมุมมองต่อการเสริมสร้างสุขภาพพระสงฆ์และประชาชนเมืองเพชร ปัญหาสุขภาพพระสงฆ์และแนวทางการเสริมสร้างสุขภาพพระสงฆ์และประชาชนเมืองเพชร ก่อนที่จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน โดยมีฝ่ายของพระสงฆ์ 50 รูป และฝ่ายประชาชน 50 คน ได้แก่ กลุ่มผลิตทางการเกษตรและการประมง กลุ่มสถานประกอบการอาหารคาว หวาน กลุ่มผู้นำชุมชนและภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่มสื่อมวลชนแขนงต่างๆที่ให้ความร่วมมือมาร่วมเป็นแกนนำ ทั้ง 2 ส่วนนี้จะมาพูดคุยกันประเด็นว่าปัญหาสุขภาพจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง และมีสาเหตุมาจากอะไร เราถึงจะค้นลงไปให้รู้เลยว่าเหตุที่แท้จริงคืออะไร เราจะพบได้ว่าทั้งทางฝ่ายพระสงฆ์ที่มีปัญหาสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวโยงกับประชาชนเวลาถวายอาหาร ถึงแม้ว่าท่านจะเลือกอาหารรับประทานได้ แต่เวลาที่ถวายอาหารเข้ามาจำนวนมาก ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยที่ว่าประชาชนผู้ถวายอาหารก็อาจจะไม่รู้ตัวเลย และไม่คิดว่าจะเป็นต้นเหตุตรงนี้

เมื่อเราสัมมนากันเสร็จเรียบร้อยกับแกนนำตรงนี้ทุกท่านก็จะนำแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาพไปสู่การปฏิบัติ เราจะมีการติดตามเป็นระยะทุก 1 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือน แกนนำที่ประสบความสำเร็จก็จะนำเสนอที่ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.แห่งนี้ ถึงแนวทางที่สำเร็จ ถึงการแก้ไขต้นเหตุของปัญหาแล้วเราก็จะมีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ถือเป็นการนำร่องในวิถีสุขภาพที่ดีของเมืองเพชร

อย่างไรก็ดี โครงการนี้นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพแด่พระสงฆ์และประชาชนผู้เกี่ยวข้องแล้ว ยังจะเกิดประโยชน์จากการขยายผลความรู้ที่ได้รับไปสู่สมาชิกในครอบครัวและชุมชนต่อไป

www.ryt9.com