ผู้เขียน หัวข้อ: ร้องขอความเป็นธรรมจากสื่อมวลชน  (อ่าน 2097 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ร้องขอความเป็นธรรมจากสื่อมวลชน
« เมื่อ: 03 สิงหาคม 2010, 06:33:03 »
จดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชนทุกท่าน
3 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เรื่อง ขอความเป็นธรรมให้แก่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานดูแลรักษาประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
เรียนท่านผู้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชนทุกท่าน
    จากการที่สื่อมวลชนทุกแขนงต่างสนใจข่าวที่มีแพทย์บางคนมาสนับสนุนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฯและกล่าวหาแพทย์ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.นี้ว่าใจดำบ้าง ถูกจูงจมูกบ้าง และบอกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือจากม.41 แล้วไม่เคยมีใครฟ้องแพทย์นั้น ไม่เป็นความจริง แพทย์กลุ่มที่มาสนับสนุนร่างพ.ร.บ.นี้ ก็คือกลุ่มแพทย์ที่ไม่ได้ทำงานรักษาผู้ป่วยมาหลายสิบปีแล้ว  ขอสมมติชื่อว่ากลุ่มแพทย์NGO  แพทย์กลุ่มนี้ ได้แก่กลุ่มแพทย์ที่อ้างว่าเป็น “แพทย์ชนบท” แต่ความเป็นจริงก็คือมาทำงานในกทม. เป็นผู้บริหารและอยู่เบื้องหลังการตั้งองค์กร สปสช. สวรส. สสส. สช. และเป็นผู้ร่วมร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ และเข้ามาเป็นกรรมการบริหาร และใช้งบประมาณแผ่นดินมาใช้ประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง เรียกว่าเป็นการคอรัปชันเชิงนโยบายโดยไม่ต้องเสียเวลาสมัครเข้ามาทำงานการเมือง โดยมีหัวหน้ากลุ่มคือนพ.ประเวศ วสี นพ.มงคล ณ สงขลา นพ.อำพล จินดาวัฒนะ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ นพ.พงษ์พิสุทธ์ จงอุดมสุข และกลุ่มชมรมแพทย์ชนบท จะเห็นว่าคนกลุ่มนี้เป็นกรรมการในองค์กรส.เหล่านี้คนละหลายๆองค์กร แพทย์พวกนี้สามารถใช้สื่อมวลชนเป็นกระบอกเสียงสร้างภาพตนเองให้ดูดี และสื่อมวลชนก็หลงเชื่อความเท็จ ที่คนพวกนี้โกหกประชาชนทั้งประเทศ ด้วยการใส่ร้ายแพทย์คนอื่นๆที่ไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.นี้ว่า ใจดำบ้าง ถูกจูงจมูกบ้าง ไม่อ่านพ.ร.บ.นี้ให้ละเอียดบ้าง สมควรที่แพทยสภาจะต้องสอบสวนแพทย์พวกนี้ว่าทำผิดจริยธรรมเพราะใส่ร้ายป้ายสีเพื่อนร่วมวิชาชีพ ให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจากประชาชนทั่วไป
  มีแพทย์อีกประเภทหนึ่ง ขอเรียกว่าผู้บริหาร ที่ไม่ได้ตรวจรักษาผู้ป่วยมาหลายสิบปีเหมือนกัน แพทย์พวกนี้คือผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ที่คอยทำตามคำสั่งของนักการเมือง ที่บัญชาการให้ทำอะไรก็ได้ ตามแต่นักการเมืองจะบัญชา โดยไม่สนใจพัฒนาระบบการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ประชาชนปลอดภัย โดยจัดให้มี เงินงบประมาณ อาคารสถานที่ เตียง ยาและเวชภัณฑ์ ให้เกมาะสม เพื่อที่บุคลากรจะทำงานได้เป็นอย่างดี มีความปลอดภัยเหมือนประชาชนเช่นกัน
  แต่แพทย์ทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวนี้ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯนี้ โดยกลุ่มแรกมีมงคลและอำพล รับลูกจากกลุ่มประชาชนNGO มาสั่งให้กลุ่มที่ 2 คือพวกผู้บริหารในกระทรวงสาธารณสุข ร่างพ.ร.บ.นี้มา โดยเขียนเจตนารมณ์ให้ดูดี แต่รายละเอียดในพ.ร.บ.
.นี้ตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์โดยสิ้นเชิง เขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ NGO เข้ามาเป็นกรรมการเสียงข้างมากในบทเฉพาะกาล เพื่อจะมาตั้งกองทุนและเอาเงินมาใช้จ่าย แบบที่พวกเขาเคยทำสำเร็จมาแล้วกับกองทุนตระกูลส.ทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น
 และยังมีประชาชนบางกลุ่ม (จาการเข้าประชุมเมื่อวานนี้กับปลัดกระทรวง พบว่าพวกเขาไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนส่วนมากของประเทศ แต่เป็นประชาชนกลุ่ม NGO ที่เป็นกรรมการในสปสช.เกือบทุกคน) ที่ เข้าชื่อเสนอกฎหมายนี้ด้วย โดยลอกเลียนการเขียนพ.ร.บ.ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน โดยมีวัตถุประสงค์จะเข้าไปบริหารจัดการกองทุนที่มีเงินมากมายมหาศาลตามที่
ล็อคสเปคไว้ในบทเฉพาะกาลของพ.ร.บ.คุ้มครองฯนี้เช่นเดียวกัน
 ส่วนแพทย์กลุ่มที่สาม คือแพทย์ที่ทำงานดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนที่ทำงานอยู่ทั่วประเทศ ที่ทำงานด้วยใจรักในหน้าที่และเสียสละตนเองโดยยึดมั่นในอุดมการณ์ ทำงานมากจนไม่มีเวลาสนใจโลกภายนอก ว่าเขากำลังจะร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ออกมา ที่มีชื่อคุ้มครองประชาชนฯ แต่เนื้อหาข้างในนั้นจะทำให้แพทย์ถูกฟ้องร้องและกล่าวหาและได้รับการตัดสินโทษอย่างไม่ยุติธรรม เพราะไม่ได้ตัดสินโดยผู้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทางการแพทย์เหมือนกัน และเมื่อยิ่งได้อ่านละเอียดแล้ว จะยิ่งเห็นความขัดแย้งกันเองในแต่ละมาตราที่บัญญัติไว้ และขัดแย้งกับเจตนารมณ์ จึงได้พยายามออกมาทักท้วง แต่รมว.สธ. ไม่ฟังเสียง ดึงดันเสนอผ่านค.ร.ม. และค.ร.ม.ก็อ่านแต่เจตนารมณ์ มิได้ศึกษาว่า เนื้อในนั้นซ่อนเร้นอะไรไว้บ้าง ก็บรรจุเข้าสภา
แพทยสภานั้น ได้รับการจัดตั้งตามกฎหมาย มีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายคือควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม และให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ และแพทยสภาเป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย
   แพทยสภาจึงต้องออกมาเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ต่อรัฐบาลผ่านรมว.
สธ. แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง
  ฉะนั้นแพทย์กลุ่มที่ทำงานดูแลรักษาประชาชนจริงๆ จึงได้ออกมาคัดค้านการบรรจุพ.ร.บ.นี้เข้าสภา เพื่อให้มีการทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นจากประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน ที่จะได้รับผลกระทบทั้งสองฝ่าย และจะกระทบต่อระบบการเงินของโรงพยาบาลที่ขาดแคลนอยู่แล้ว จะทำให้ไม่มีเงินซื้อยา ซื้อเตียง พัฒนาเทคโนโลยีให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี
  แต่แพทย์กลุ่มที่สามนี้ กลับถูกใส่ร้ายจากพวกแพทย์กลุ่มNGO โดยการกล่าวความเท็จผ่านสื่อสารมวลชนอย่างไม่ละอายแก่ใจ

จึงเรียนมาขอความเป็นธรรมจากผู้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชนว่า ขอให้เสนอความเห็นจากแพทย์กลุ่มนี้ด้วย อย่าฟังแต่กลุ่มแพทย์NGO โดยไม่คิดพิจารณาให้ถ่องแท้ การแต่งชุดดำของแพทย์กลุ่มนี้ ก็เพื่อแสดงการประท้วงหรืออารยะขัดขืนต่อผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล ตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย โดยเชื่อในสิ่งที่ทำว่าเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจ และเล็งเห็นหายนะในวงการแพทย์ไทย ที่จะล่มสลายในเร็ววัน ถ้ารัฐบาลไม่ฟังเสียงผู้ทำงานตรวจรักษาประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ขอแสดงความนับถือ
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย