ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาเกี่ยวกับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน "รักษาทุกที่ ไม่ถามสิทธิ ไม่คิดเงิน"‏  (อ่าน 6564 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
แบบสอบถาม
ปัญหาเกี่ยวกับการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน ๓ กองทุนสุขภาพภาครัฐ
ภายใต้แนวคิดกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ทุกแห่ง ไม่ถามสิทธิ ไม่เสียค่าใช้จ่าย




ชื่อหน่วยงาน สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.

สังกัด โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข

โปรดแสดงความคิดเห็นตามหัวข้อด้านล่างนี้

๑. ปัญหาของผู้มาขอรับการรักษา

๑.๑)      ด้านการประชาสัมพันธ์ การเข้าใจ-รับทราบสิทธิ ประสิทธิภาพคอลเซ็นเตอร์

-ประชาชนเข้าใจว่าไม่ให้ถามสิทธิ์และไม่ต้องเตรียมตัวให้ข้อมูลใดๆ ตามสโลแกนที่รัฐบาลและ สปสช. ได้ประกาศว่า "เหตุฉุกเฉิน ไม่ถามสิทธิ์ ไม่คิดเงิน"

-ประชาชนไม่เข้าใจคำว่า "ฉุกเฉิน" ที่โฆษณานั้น หมายความว่าภาวะวิกฤตเท่านั้น แต่คิดว่าเป็นฉุกเฉินทุกชนิด

-ประชาชนไม่สามารถถาม 1669 ว่าฉุกเฉินของเขา เข้าเกณฑ์หรือไม่ และ 1330 ก็ไม่สามารถหาโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อได้ดังโฆษณาของ สปสช.


๑.๒)     ด้านการเข้ารับการรักษา กรณีที่เบิกได้ และเบิกไม่ได้ตามเงื่อนไข

-ประชาชนพยายามใช้สิทธิ์ตามใจตนเอง ทุกอาการพยายามตีความเป็นฉุกเฉิน เพื่อที่จะได้ใช้สิทธิ์ฉุกเฉินแทบทุกกรณี

๑.๓)    ด้านอื่นๆ โปรดเพิ่มเติม...

-กรณีเป็นอุบัติเหตุฉุกเฉินทางรถซึ่งมี พรบ. ผู้ประสบภัยบุคคลที่ 3 ประชาชนจะไม่ร่วมมือเรื่องเอกสาร เพราะต้องการใช้สิทธิ์นี้แทน เพราะง่ายกว่ามาก ไม่ต้องรับผิดชอบเอกสารใดๆ

๒. ปัญหาของแพทย์ผู้ทำการรักษา

๒.๑)     ด้านการวินิจฉัยโรคที่เบิกได้ตามสิทธิ และเบิกไม่ได้ การชี้แจงผู้ป่วย

-แพทย์ต้องขัดแย้งกับผู้ป่วยมากขึ้นกว่าเดิมในการอธิบายความเข้าใจผิดของผู้ป่วยเรื่องสิทธิ์ฉุกเฉิน

-กรณีผู้ป่วยเรียกร้อง เช่น ปวดศีรษะต้องการ CT โดยไม่จำเป็น ก็ต้องอธิบายมากขึ้นกว่าเดิม


๒.๒)     การรักษาพยาบาล ข้อจำกัด ข้อขัดข้อง

-คนไข้ไม่มาตามระบบส่งต่อ แต่ลัดระบบมาที่โรงพยาบาลที่ตนต้องการ จึงมีปัญหาเรื่องเตียงไม่พอในโรงพยาบาลขนาดใหญ่

๒.๓)     ด้านอื่นๆ โปรดเพิ่มเติม...


๓. ปัญหาของหน่วยบริการสาธารณสุข ในการให้บริการ

๓.๑)     ข้อจำกัดปริมาณผู้เข้ารับการรักษาการและจำนวนเตียงภายใน รพ.

-จำนวนเตียงมีจำกัด

๓.๒)     ส่งต่อเมื่อใช้สิทธิครบตามข้อกำหนดไปยังต้นสังกัด

-มักจะเตียงเต็ม ส่งต่อยากขึ้น

๓.๓)     ด้านอื่นๆ โปรดเพิ่มเติม...

๔. ปัญหาด้านระบบการเงิน

๔.๑)    การใช้สิทธิของทั้ง ๓ กองทุน และ ผู้อยู่นอก ๓ กองทุน (รัฐวิสาหกิจ,ครู ฯลฯ)

-กองทุนประกันสังคมและกรมบัญชีกลางของราชการไม่สามารถจ่ายเงินให้ สปสช. แทนโรงพยาบาลได้ เพราะขัด พรบ. ต้องรอแก้ พรบ. ก่อน ทำให้ติดขัดในระบบเงินค่ารักษา

-กองทุน สปสช. ที่ผ่านมาจ่ายเงินไม่ถึงครึ่งมาตลอด โครงการนี้ สปสช. อาจจะไม่มีเงินสำรองจริงดังที่พูด เมื่อเวลาผ่านไปอาจไม่มีเงินจ่ายเพราะไม่ได้เตรียมไว้

-ผู้อยู่นอก 3 กองทุน เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และเด็กแรกเกิดที่ยังไม่มีเลขบัตรประชาชนจะไม่ได้รับสิทธิ์ใน 3 กองทุน ใครรับผิดชอบ?


๔.๒)     สิทธิการเงินที่ ทับซ้อน อาทิ พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยฯ, ประกันชีวิต

-บริษัทประกัน พรบ. ผู้ประสบภัยบุคคลที่ 3 และบริษัทประกันชีวิต ได้ประโยชน์จากโครงการนี้ เพราะไม่ต้องจ่ายให้ผู้ป่วยอีกต่อไปแล้วในกรณีฉุกเฉิน วิกฤต สมควรหรือไม่ที่จะเอาเงินภาษีไปรองรับภาระแทนบริษัทประกัน???

๔.๓)     ข้อกังวลเรื่องการเบิกจ่ายของทั้ง ๓ กองทุน จากสถานพยาบาล

-ถ้า สปสช. เป็น Clearing House แทนประกันสังคมและกรมบัญชีกลาง จะเกิดปัญหาแน่นอนจากการจ่ายค่ารักษาไม่ครบ เพราะแม้แต่ของ สปสช. เองก็จ่ายค่ารักษาไม่ถึงครึ่ง แล้วจะมารับผิดชอบแทนคนอื่นได้ดีได้อย่างไร และ สปสช. ไม่เคยร่วมมือในการให้ตรวจสอบข้อมูลมาถึง 10 ปีแล้ว ดังนั้น ถ้า สปสช. ไม่จ่ายเงินในกรณีฉุกเฉิน โรงพยาบาลก็ตรวจสอบข้อมุลไม่ได้ว่า กองทุนใดไม่จ่ายเงินกันแน่

๔.๔)    ด้านอื่นๆ โปรดเพิ่มเติม...

-รพศ./รพท. ไม่ไว้ใจ สปสช. เลย เพราะ 10 ปี ได้พิสูจน์แล้วว่า สปสช. ไม่รักษาสัญญาเรื่องค่ารักษาผู้ป่วยมาตลอด โดยเฉพาะ 4 ปีหลัง ปัญหานี้รุนแรงมาก มีผลต่อโรงพยาบาลทั่วประเทศ ให้ประสบการขาดสภาพคล่องของเงินบำรุงอย่างรุนแรงกว่า 70% ดังนั้น โรงพยาบาลทุกแห่ง กลัว สปสช. หมกเม็ดทั้งเรื่องเงินและข้อมูลดังที่เคยเป็นมา


๕. แนวทางการแก้ไขปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

๕.๑) ควรตั้ง Clearing House อยู่นอก 3 กองทุน ทำหน้าที่บริหารจัดการเรื่องเอกสารเบิกค่ารักษาจากโรงพยาบาลไปสู่ทุกกองทุน และรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการเบิกจ่าย ไม่ต้องจ่ายเงินแทนกองทุนใดๆ ดังนั้น โรงพยาบาลก็เบิกตรงไปที่กองทุนต่างๆ เองตามปกติ ก็สามารถได้รับเงินเป็นปกติ กองทุนต่างๆ ก็ไม่ต้องแก้ พรบ. ของตนเองให้วุ่นวาย และสามารถได้ข้อมูลการจ่ายเงินของทุกกองทุน ถ้ากองทุนใดมีปัญหา ก็เห็นได้อย่างชัดเจนและแก้ปัญหาถูกจุด

๕.๒) ต้องระบุ "ฉุกเฉิน" ให้ชัด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรวมทั้งโรงพยาบาลทุกแห่งให้รู้ตรงกัน


๕.๓) ต้องปรับปรุงระบบที่จะรองรับปัญหากรณี "ฉุกเฉิน" ใหม่ให้รอบคอบ ลดปัญหาต่างๆ ลงให้มากที่สุด และครอบคลุมประชาชนคนไทยทุกคนจริงๆ

๕.๔) Clearing House ควรอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข และพัฒนาหน่วยนี้ให้รับผิดชอบเกี่ยวกับกรณีฉุกเฉินที่อาจมีเพิ่มขึ้นมาอีกในวันหน้า และควรเป็นหน่วยที่จะประเมินปัญหาทุกกองทุน

พญ. ประชุมพร บูรณ์เจริญ
ประธานสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.ฯ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สปสช.ชี้19วันระบบฉุกเฉินพบปัญหาอื้อ

สปสช. สรุป 19 วัน 3 กองทุนสุขภาพรักษา ฉุกเฉินระบบเดียวมียอดผู้ป่วยรับบริการ 708 ราย อุบัติเหตุสูงสุด 210 ราย รองลงมาหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ สมองและระบบประสาท เผยปัญหาอื้อเตียงเต็มส่งต่อไม่ได้ ถูกเรียกเก็บมัดจำค่ารักษา ขณะที่สมาคมรพ.เอกชน ขอหารือผู้บริหาร สธ.-3 กองทุน เสนอ 3 แนวทางดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ลดภาระโรงพยาบาลเอกชนรักษาไม่คุ้มทุน

ภายหลังจากการรวมบริหารจัดการผู้ป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน รักษาได้ทุกโรงพยาบาลไม่ต้องถามสิทธิ เริ่มบริการตั้งแต่ 1 เม.ย. 2555 จนถึงวันที่ 19 เม.ย. นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้สรุปการทำงานในช่วง 19 วันของการให้บริการ ว่า มีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับบริการอยู่ที่ 600-700 ราย เฉลี่ยแต่ละวันมีผู้ป่วยลงทะเบียนใช้บริการ 40 ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนไม่มาก แม้แต่ในช่วงสงกรานต์จำนวนผู้ป่วยก็ไม่ได้เพิ่มสูงมากจากเกณฑ์ปกติ โดยอยู่ที่ 2-3% ของจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในแต่ละวัน

ส่วน ผู้โทรเข้ามาสอบถามการใช้บริการฉุกเฉิน ทั้งทางสายด่วน 1330 และ 1669 มีประมาณ 100 รายต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นความกังวลว่าการใช้บริการ และจะต้องถูกเรียกเก็บเงิน

นพ.วีระวัฒน์ กล่าวว่า ในจำนวนผู้เข้ารับบริการ 600 ราย มีกรณีที่เกิดปัญหาซับซ้อนและต้องจัดการประมาณ 6-7 ราย มีทั้งกรณีที่เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง และกรณีที่เกิดจากโรงพยาบาลเอกชน ทำให้ต้องย้ายผู้ป่วยโรงพยาบาล 2-3 แห่ง จึงเข้ารักษา รวมไปถึงปัญหาการส่งต่อ โดยเฉพาะกรณีภายหลังการรักษาจนอาการทุเลา ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนต้องการที่จะส่งผู้ป่วยกลับไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิของผู้ ป่วย แต่พบปัญหาเตียงเต็มที่ไม่สามารถส่งผู้ป่วยกลับได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินถูกเรียกเก็บเงินมัดจำค่ารักษาก่อน และภายหลังโรงพยาบาลเบิกจ่ายค่ารักษาจากสิทธิตามกองทุนรักษาพยาบาลได้แล้ว จึงคืนเงินให้แก่ผู้ป่วยหรือญาติในภายหลัง

พบปัญหาเตียงเต็มส่งต่อไม่ได้

นพ.วี ระวัฒน์ กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาที่เกิดจากฝ่ายผู้ป่วยคือ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเมื่อนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งในกรณีเป็นโรงพยาบาลเอกชน หากมีการเรียกเก็บเงินในช่วง 1-2 วันแรก ญาติก็จะยอมจ่ายไปก่อน แต่พอคิดขึ้นได้ว่ารัฐมีนโยบายระบบผู้ป่วยฉุกเฉินก็จะขอใช้สิทธิและขอเรียก เงินค่ารักษาคืนในภายหลัง ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกเช่นกันเพราะผู้ป่วยไม่ได้แสดงความจำนงใช้สิทธิตั้งแต่ แรก

ชี้ระบบเบิกจ่ายได้ไม่มีปัญหา

ส่วนการเบิก จ่ายค่ารักษาตามสิทธิของแต่ละกองทุนซึ่งทาง สปสช. ทำหน้าที่ศูนย์กลางเบิกจ่ายนั้น นพ.วีระวัฒน์ กล่าวว่า ไม่เป็นปัญหา เนื่องจากแต่ละกองทุนมีระบบที่วางไว้อยู่แล้ว แต่จะมีปัญหาในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในสิทธิ 3 กองทุน อย่างครู ข้าราชการท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ยังอยู่ระหว่างการพูดคุยเพื่อรวมระบบจัดการอยู่ แต่ตามนโยบายเบื้องต้น สปสช.ต้องเป็นหน่วยงานที่จ่ายค่ารักษาก่อน แล้วจึงเคลียร์คืนในภายหลัง

ส่วนโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งไม่พอ ใจอัตราเหมาจ่ายผู้ป่วยฉุกเฉิน 10,500 บาท และอาจทำให้ปัญหาการปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉินยังคงอยู่ นพ.วีระวัฒน์ กล่าวว่า อัตราดังกล่าวเป็นการจ่ายค่ารักษาเบื้องต้น หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกแซง ทาง สปสช.ก็จะมีการจ่ายเพิ่มเติมตั้งแต่ 25,000-30,000 บาท เพียงแต่จำนวนนี้อาจน้อยกว่าที่เอกชนเคยได้รับที่เคยคิดกับผู้ป่วย 50,000-60,000 บาท แต่การรักษาพยาบาลมีเรื่องจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง

ยอดผู้ป่วยใช้บริการ 708 ราย

จาก ข้อมูลสำนักงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่ง (สปสช.) ได้รายงานการใช้บริการรักษาในระบบผู้ป่วยฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 1 18 เม.ย. 2555 มีผู้ป่วยมารับบริการทั้งสิ้น 708 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยในเขต กทม. 436 ราย ผู้ป่วยต่างจังหวัด 272 ราย แยกตามสิทธิกองทุน ระบบประกันสังคม 74 ราย ระบบสวัสดิการข้าราชการ 107 ราย และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 524 ราย เมื่อแบ่งตามประเภทผู้ป่วย เป็นผู้ป่วยนอก 153 ราย ผู้ป่วยใน 555 ราย

ใน จำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินได้แยกตามประเภทกลุ่มโรค พบว่าเป็นผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด 113 ราย ระบบทางเดินหายใจ 68 ราย ระบบสมองและระบบประสาท 86 ราย บาดเจ็บรุนแรงทั้งที่เกิดจากอุบัติเหตุจราจรและอุบัติเหตุอื่น 210 ราย และอาการป่วยฉุกเฉินรุนแรงอื่น เช่น ปวดท้องรุนแรง ลำไส้อักเสบ อาเจียนเป็นเลือด ไข้สูง และติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น จำนวน 232 ราย ส่วนการนำส่งผู้ป่วย (ข้อมูล 1-15 เม.ย.) เป็นกรณีผู้ป่วยเดินทางมาเองและญาตินำส่ง 497 ราย รถกู้ชีพ 34 ราย และอื่นๆ เช่น รถพยาบาลไปรับ 51 ราย

ร้องเรียนปฏิเสธรักษา6ราย

นอกจากนี้ยังมีกรณีการร้องเรียนจากที่สถานพยาบาลปฏิเสธการใช้สิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุน มี 6 กรณี เช่น 1.ผู้ป่วยหญิง อายุ 73 ปี สิทธิระบบสวัสดิการข้าราชการ โดยเมื่อวันที่ 16 เม.ย. ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ด้วยอาการช็อกหมดสติ แพทย์แจ้งว่า มีภาวะเส้นเลือดอุดตันที่เส้นเลือดกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งต่อรักษาโรงพยาบาลพุทธชินราช และเสียชีวิตเวลาต่อมา แต่ถูกเรียกเก็บค่ารักษาก่อนส่งต่อ 6,590 บาท

2.ผู้ป่วยหญิง อายุ 57 ปี สิทธิสวัสดิการข้าราชการ เมื่อ 17 เมษายน มีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน หมดสติ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง กทม. แพทย์แจ้งต้องรักษาเร่งด่วน มีภาวะเสี่ยงเสียชีวิต ถูกเรียกเก็บ 11,240 บาท แต่เมื่อนำไปเบิก กรมบัญชีกลางบอกเบิกไม่ได้เพราะมีระบบฉุกเฉิน 3 กองทุนแล้ว 3.ผู้ ป่วยหญิง ไม่ทราบอายุ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กทม. เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ด้วยอาการหัวใจหยุดเต้น โรงพยาบาลตรวจสอบสิทธิไม่พบข้อมูล นายจ้างจ่ายค่ารักษา 57,717 บาท ก่อนย้ายต่อเข้าโรงพยาบาลเลิดสินตามสิทธิ

4. ผู้ป่วยชาย อายุ 62 ปี ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อวันที่ 13 เมษายน เข้ารักษาด้วยอาการชัก ญาติแจ้ง 1669 ส่งรักษาโรงพยาบาลสมุทรปราการ ตามสิทธิ แต่ระหว่างทางเกิดภาวะช็อก รักษาเบื้องต้นแล้วจึงส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสมุทรปราการถูกเรียกเก็บเงิน 7,155 บาท

5. ผู้ป่วยหญิง อายุ 53 ปี สิทธิ์ข้าราชการ เป็นโรคความดันโลหิตสูง เกิดภาวะช็อก นำเข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จ.พิจิตร เมื่อวันที่ 1 เม.ย. รักษาตัวถึงวันที่ 7 เม.ย. ถูกเรียกเก็บเงิน 40,000 บาท และ 6. ผู้ป่วยหญิง อายุ 80 ปี ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วยหน้า วันที่ 17 เมษายน หกล้ม เจ็บขาขวา นำส่งเข้าโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน กทม. ถูกเก็บค่ารักษา 1,212 บาท ขอใช้สิทธิ

รพ.เอกชนขอหารือสธ.แก้ปัญหา

ด้าน นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า จากการประชุมของโรงพยาบาลเอกชนเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนโรงพยาบาล 60-70 แห่งเข้าร่วม เพื่อสรุปปัญหาและจัดทำข้อเสนอภายหลังให้บริการตามนโยบายการรวมบริหารจัดการ ผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว เบื้องต้นได้จัดส่งข้อเสนอไปยัง นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และผู้บริหาร 3 กองทุนประกันสุขภาพแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างให้กระทรวงสาธารณสุขนัดทุกฝ่ายร่วมหารือกันอีกครั้ง

ส่วน ข้อเสนอที่เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนจัดทำ คือ

1.ในกรณีภายหลังรักษาพยาบาลหลังพ้นภาวะวิกฤติ ควรให้ผู้ป่วยระบุความต้องการในการรับการรักษาพยาบาลในเอกสารแสดงความจำนง เพราะตามหลักการหากผู้ป่วยรอดพ้นวิกฤติควรถูกส่งต่อกลับไปยังโรงพยาบาลต้น สังกัด

2.การรับส่งผู้ป่วยและส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลต้น สังกัด ควรให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น 3.การ กำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรงร้ายแรง ที่กำหนดเริ่มที่ 10,500 บาท เห็นตรงกันว่า ไม่ได้เป็นตัวเลขที่สะท้อนถึงต้นทุนการรักษาที่แท้จริง จึงเสนอให้พิจารณาว่าจะเปิดช่องให้โรงพยาบาลเอกชนสามารถเก็บค่ารักษาพยาบาล เพิ่มได้หรือไม่ ถ้าได้จะให้เก็บที่ใคร และหากไม่ได้ก็ควรจะขยับอัตราการเบิกจ่ายให้สูงขึ้นกว่า 10,500 บาท เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

นพ.เฉลิม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า 80% ของผู้ป่วยที่จะใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉิน เดินทางไปยังโรงพยาบาลและเลือกโรงพยาบาลเอง ไม่ได้ใช้บริการในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ผู้ออกแบบระบบจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อลดปัญหาการกระจุกตัวของผู้ใช้บริการ

กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
รพ.​เอกชนงอ​แง​ไม่พอ​ใจค่าตอบ​แทนป่วยฉุก​เฉิน

สมาคม รพ.​เอกชน​ไม่พอ​ใจ​เงินชด​เชยค่ารักษา​ผู้ป่วยฉุก​เฉิน 10,500 บาท อ้าง​ไม่สม​เหตุผล ​เรียกร้อง​เปิดช่อง​ให้ รพ.​เ​ก็บ​เงิน​ผู้ป่วย​ได้ ล่าสุดส่งหนังสือ​ถึงปลัด สธ.​เรียกหารือ 3 กองทุน ด้าน สปสช.ชี้​เป็น​เพียงค่ารักษา​เบื้องต้น สามารถ​เพิ่มวง​เงิน​ได้ พร้อมระบุหากปฏิ​เสธ​ผู้ป่วยมี​ความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล​และ พ.ร.บ.​การ​แพทย์ฉุก​เฉิน

นพ.​เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคม รพ.​เอกชน กล่าวว่า รพ.​เอกชน 60-70 ​แห่ง ​ได้ประชุมร่วมกัน​เมื่อวันที่17 ​เม.ย.ที่ผ่านมา ​เพื่อสรุปปัญหา​และจัด​ทำข้อ​เสนอภายหลัง​ให้บริ​การตาม​โครง​การ​เจ็บป่วยฉุก​เฉินมาตรฐาน​เดียว ​และ​ได้จัดส่งข้อ​เสนอ​ไปยัง นพ.​ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ​และ​ผู้บริหาร 3 กองทุนประกันสุขภาพ​ให้พิจารณา​แล้ว

สำหรับข้อ​เสนอที่​เครือข่าย รพ.​เอกชนจัด​ทำ ​ได้​แก่ 1.ควร​ให้​ผู้ป่วยระบุ​ความต้อง​การ​ใน​การรับ​การ รักษาพยาบาลภายหลังรอดพ้นภาวะวิกฤติต่อชีวิต​แล้ว ก่อนถูกส่งต่อกลับ​ไปยัง รพ.ต้นสังกัด ​แต่ถ้าหาก​ผู้ป่วย​แสดง​ความจำนงว่าอยากรักษาตัวต่อที่ รพ.​เอกชน ​ก็ควร​ให้ รพ.​เอกชน​เ​ก็บค่ารักษาพยาบาล​ได้ 2.​การรับ-ส่ง​ผู้ป่วย​และส่งต่อ​ผู้ป่วย​ไปยัง รพ.ต้นสังกัด ควร​ให้สถาบัน​การ​แพทย์ฉุก​เฉิน​แห่งชาติ (สพฉ.) ​เป็น​ผู้ดำ​เนิน​การ​เท่านั้น 3.​การกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่ม​โรคร้าย​แรง ​โดย​เริ่มที่ 10,500 บาท ​เป็นตัว​เลขที่​ไม่​ได้สะท้อน​ถึงต้นทุน​การรักษาที่​แท้จริง​ไม่คุ้มทุน​การรักษาพยาบาลของ รพ.​เอกชน

"ดังนั้น​จึง​เสนอ​ให้พิจารณาว่าจะ​เปิดช่อง​ให้ รพ.​เอกชนสามารถ​เ​ก็บค่ารักษาพยาบาล​เพิ่ม​ได้​หรือ​ไม่ ถ้า​ได้จะ​ให้​เ​ก็บที่​ใคร ​และหาก​ไม่​ได้​ก็ควรจะขยับอัตรา​การ​เบิกจ่าย​ให้สูงขึ้นกว่า 10,500 บาท ​เพื่อสะท้อนต้นทุนที่​แท้จริง" นพ.​เฉลิมกล่าว

ด้าน นพ.วีรวัฒน์ พันธ์ครุฑ รอง​เลขาธิ​การสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า อัตรา 10,500 บาท ​เป็น​การจ่ายค่ารักษา​เบื้องต้น หาก​ผู้ป่วยมีภาวะ​แทรก​แซง ทาง สปสช.​ก็จะมี​การจ่าย​เพิ่ม​เติมตั้ง​แต่ 25,000-30,000 บาท ​เพียง​แต่จำนวนนี้อาจน้อยกว่าที่​เอกชน​เคย​ได้รับที่​เคยคิดกับ​ผู้ป่วย 50,000-60,000 บาท ​แต่​การรักษาพยาบาลมี​เรื่องจริยธรรม​เข้ามา​เกี่ยวข้อง​และ​ในกรณีปฏิ​เสธ​การรักษา​ผู้ป่วยฉุก​เฉินยังอาจถูกฟ้องตามกฎหมาย​ได้​ทั้ง พ.ร.บ.สถานพยาบาล​และ พ.ร.บ.​การ​แพทย์ฉุก​เฉิน

"ธุรกิจ รพ.​เอกชนของ​ไทยตั้งมา​เพื่อ​แสวงหาผลกำ​ไร ต่าง​ไปจาก รพ.​ในประ​เทศยุ​โรป​หรือออส​เตร​เลียที่จะ​แสวงหากำ​ไร​ไม่มาก  ​การดำ​เนินน​โยบายรวมบริหารจัด​การ​ผู้ป่วยฉุก​เฉิน รพ.​เอกชนส่วน​ใหญ่​ให้​ความร่วมมือด้วยดี มี​เพียงบาง​แห่ง​เท่านั้นที่​เป็นปัญหา ​และถือ​เป็นส่วนน้อยมาก" รอง​เลขาธิ​การ สปสช.กล่าว

ขณะที่ นพ.ประจักษวิช ​เล็บนาค รอง​เลขาธิ​การ สพฉ. กล่าวว่า ​ได้รับสัญญาณจาก รพ.​เอกชนขนาดกลางหลาย​แห่ง พยายามหลีก​เลี่ยง​การ​ใช้ระบบ​การ​เบิกจ่าย​ในอัตรา 10,500 บาท ​และหาวิธี​เ​ก็บ​เงินค่ารักษาพยาบาลจาก​ผู้ป่วย​เอง.

ไทย​โพสต์ -- จันทร์ที่ 23 ​เมษายน 2555

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
รองเลขาฯ สพฉ.ชี้ รพ.เอกชนขอค่าเหมาจ่ายโรคร้ายเพิ่ม “ไร้เหตุผล”

สพฉ. แจง “รักษาผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว” เพิ่งเริ่ม 1 ด.ยังไม่ควรด่วนวิจารณ์ ระบุอัตราเหมาจ่ายโรคร้าย 1.05 หมื่นบาทเหมาะสม ชี้ รพ.เอกชนออกมาโวยไร้เหตุผล หวังฟันเงินระยะยาว

กรณีที่โรงพยาบาลเอกชนออกมาเรียกร้องให้เพิ่มอัตราการเหมาจ่ายตามกลุ่มโรคร้ายแรง(ดีอาร์จี)ในโครงการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว โดยให้เหตุผลว่าอัตราปัจจุบันที่ 1.05 หมื่นบาทไม่เพียงพอต่อต้นทุน นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) เปิดเผยว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ยังวนเวียนอยู่กับเรื่องเงิน ซึ่งตั้งแต่เริ่มโครงการฯ พบผู้ป่วยเพียง 1-2 รายเท่านั้นที่อาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอัตราที่กำหนด แต่โรงพยาบาลเอกชนพยายามจะทำให้ดูรุนแรง ทั้งนี้การแก้ปัญหานี้ต้องคุยให้ชัดเป็นรายกรณี ไม่ใช่เหมารวมหมดแล้วขอขึ้นอัตราค่ารักษาพยาบาลทั้งระบบทุกโรงพยาบาล

“มันคล้ายกับเวลาที่ประกันสังคมขอขึ้นค่าใช้จ่าย โรงพยาบาลเอกชนก็จะออกมาเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง”นพ.ประจักษวิช กล่าว

นพ.ประจักษวิช กล่าวอีกว่า ยังเร็วเกินไปที่จะวิจารณ์ว่าโครงการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวมีปัญหา ซึ่งไม่ทราบว่าโรงพยาบาลเอกชนนำข้อมูลใดมาเป็นฐานในการชี้ประเด็นดังกล่าว ซึ่งส่วนตัวมองว่าอัตราการจ่ายดีอาร์จี 1.05 หมื่นบาท ให้ประโยชน์แก่โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กและขนาดกลาง เพราะเพียงพอต่อต้นทุนการให้บริการ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่อาจมีปัญหาบ้าง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เห็นข้อมูลใดๆ นอกจากการเรียกร้อง

“หรือกรณีออกมาระบุว่าผู้ป่วยกระจุกตัวในโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากโรงพยาบาลต้นสังกัดไม่สำรองเตียงไว้ตามที่สมาคมโรงพยาบาลเอกชนเป็นกังวล อยากทราบข้อมูลว่าในขณะนี้เกิดขึ้นกี่รายแล้ว ควรเอาข้อมูลมากางแล้วร่วมกันแก้ปัญหา ไม่ใช่เสนอขึ้นมาลอยๆ”

นพ.ประจักษวิช กล่าวอีกว่า ขณะนี้โครงการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวของ 3 กองทุนสุขภาพ เพิ่งเริ่มต้นมาเพียง 1 เดือน ควรปล่อยให้ระบบเดินไปอีกสัก 2-3 เดือนแล้วจึงเอาข้อมูลมาร่วมกันหารือปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเชื่อว่าโครงการนี้เป็นเรื่องดีและไม่มีใครกล้าคัดค้าน หรือล้ม

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2012 เวลา 16:30 น. เขียนโดย ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา