ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังเสียงจากนักศึกษาแพทย์ ผู้เป็นอนาคตแพทย์ ที่จะได้ใช้ พรบ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ  (อ่าน 2531 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
นักศึกษาแพทย์ผู้ซึ่งจะเป็นหมอในเมษายนปีหน้านี
เขาก็น่าจะได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้เหมือนกัน

เพราะเมื่อเขาจบใหม่เขาก็จะยังไม่มีทักษะและความเชี่ยวชาญที่สมบูรณ์เหมือน พี่ ๆ ที่จบมานานแล้ว
เขาก็จะต้องไปทำงานในโรงพยาบาลในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน
และเมื่อเขาทำอะไรผิดพลาดด้วยความอ่อนในประสบการณ์ หรือด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ไม่พร้อม
เขาก็ควรจะมีเครื่องมืออะไรมาช่วยให้พวกเขาได้เห็นว่าผู้ป่วยของเขาที่ไ้ด้ร ับความเสียหาย
ได้รับช่วยเหลือเยี่ยวยาที่เหมาะสม
แต่เหตุใด พี่ ๆ จึงมาทำลายเครื่องมือที่จะช่วยเขาเสีย

จาก นพ. Suthee Rattanamongkolgul

มายาคติแห่งวิวาทะแพทย์-ผู้เสียหายทางสาธารณสุข
ปฏิเสธ ไม่ได้เลยว่าการออกมาปะทะกันรอบล่าสุดของกลุ่มองค์กรวิชาชีพสาธารณสุขที่นำ โดยแพทย์ กับกลุ่มเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุขถือว่ารุนแรงและส่ง ผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างโดยเฉพาะในประเด็นของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ......
 
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เกิดจาก เจตนารมณ์ที่ดีในการที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายให้ได้รับการชดเชย ที่เหมาะสม ลดการฟ้องร้องแพทย์และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง “หมอ” กับ “คนไข้” ที่กำลังถูกถ่างให้กว้างขึ้นทุกทีโดยคนหลายกลุ่มทั้งที่รู้และรู้เท่าไม่ถึง การณ์
 
ต้นเรื่องคือความสัมพันธ์ที่ ย่ำแย่มาจากการที่เกิดความเสียหายกับคนไข้ขึ้นมาแล้วหมอไม่ได้อธิบายหรือ อธิบายได้ไม่ดีพอ แล้วเกิดคดีความฟ้องร้อง คราวนี้ต่างฝ่ายก็มีกองเชียร์เข้ามาช่วยสนับสนุน ฝ่ายหนึ่งก็เป็นสภาวิชาชีพที่เล่นผิดบทบาท ส่วนอีกฝ่ายก็เป็นกลุ่มNGOsที่เจ็บปวดมาเหมือนๆกัน ต่อสู้กันไปต่อสู้กันมา ๓ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง สุดท้ายไม่ว่าผลเป็นยังไงก็เจ็บด้วยกันทั้งสองฝ่าย  ทั้ง หมอที่รักษาคนไข้เองก็เกิดอาการท้อ-น้อยใจ- หมดกำลังใจ-หวาดระแวงในการทำงานเพื่อคนไข้คนอื่นๆต่อ ส่วนผู้ป่วยก็รู้สึกแย่ต่อหมอทั้งๆที่ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดความสูญเสียขึ้น ส่วนกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายก็เตรียมไปห้ำหั่นกันในเวทีต่อไป
  
อย่างเหตุการณ์ประท้วงร่างพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ......เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคมที่ผ่านมานี่ทำให้ผมมองเห็นอะไรได้หลายๆอย่างเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ของกลุ่มสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย ในครั้งนี้
  
อย่างแรกคือตัวแทนของสมาพันธ์ที่ ออกมาเรียกร้องวันนี้หลายๆคนไม่ได้อ่านร่างพรบ.อย่างถึ่ถ้วนเลยด้วยซ้ำ สังเกตจากการตอบคำถามในวงสนทนาต่างๆที่มักจะแสดงออกกันไปคนละเรื่องกับคำถาม ในแถลงการณ์ต่างๆที่สมาพันธ์แห่งนี้ออกมาก็คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและมี อคติต่อร่างฉบับนี้อย่างมาก  ผลที่ตามมาก็คือได้มี การสร้างอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวขึ้นในหมู่แพทย์ พยาบาล เภสัชกร...จนเกิดการล่ารายชื่อมาคัดค้านร่างพรบ.ฉบับนี้สมใจผู้ชักใยอยู่ เบื้องหลังสมาพันธ์ไปเต็มๆ
  
มายาคติแรก มีผู้พยายามบอกว่าพรบ.ฉบับนี้จะทำให้เกิดการฟ้องร้องหมออย่างกว้างขวางอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน(คุ้นๆเหมือนตอนมีมาตรา ๔๑ใหม่ๆไหมครับ) แล้วก็จะมีการเอาหมอติดคุก ทำให้กำลังใจในการทำงานหดหายไป ทั้งที่ความจริงแล้วพรบ.ฉบับนี้ไม่เกี่ยวกับหมอเลยสักนิด เขาตราขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากการรับบริการ หมอไม่ถูกฟ้องอาญาจากพรบ.ฉบับนี้ เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีพรบ.นี้เขาก็ฟ้องอาญาหมอได้อยู่แล้วตามประมวล กฎหมายอาญาซึ่งมีมาก่อนแล้ว
 
มายาคติที่สอง มีการปลุกระดมถึงการที่ไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ มีแต่NGOsกับ คนที่ไม่ได้ตรวจคนไข้มารุมหมอ แล้วการตัดสินก็ใช้เสียงข้างมากโดยไม่พิสูจน์ถูกผิดอีก ถามว่าทำไมถึงไม่ให้มีตัวแทนสภาวิชาชีพก็เพราะเขาไม่ต้องการให้เกิดความทับ ซ้อนกันระหว่างคณะกรรมการนี้กับการไต่สวนของสภาวิชาชีพ เพราะกองทุนนี้ตั้งมาเพื่อช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับความเสียหาย ไม่ใช่วงที่จะมาเอาผิดใคร เป็นการช่วยเหลือตามมนุษยธรรมด้วยจิตใจของมนุษย์โดยมโนสำนึกว่าผู้เสียหายคน นี้ควรได้รับเงินช่วยเหลือหรือไม่อย่างไร โดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ เหมือนอย่างกรณีที่แพ้ยาแล้วตาบอดถามว่าแพทย์ผิดไหมที่ให้ยาตัวนี้ก็ไม่ผิด เพราะแพทย์ไม่รู้ว่าคนๆนี้จะแพ้ยาอะไรล่วงหน้าได้ แต่ถามว่าได้เกิดความเสียหายต่อชีวิตของเขาไหม เขาจะอยู่ต่อไปอย่างไร ครอบครัวเขาจะทำอย่างไร ตรงนี้หมอตอบไม่ได้ หมอก็จะคิดว่าเป็นความซวยหรือกรรมของคนไข้เองที่แพ้ยาตัวนี้ ทีนี้ก็เกิดความไม่เข้าใจกันขึ้นมากลายเป็นปัญหาลุกลามต่อไป
 
ถามว่าเวลาขับรถแล้วเราไปชนรถ คันหน้าที่เบรกกระทันหันเนี่ยบริษัทประกันจ่ายเงินให้เราไหม??
 
มายาคติที่สาม ที่ทุกคนกลัวกันมากที่สุดคือการถูกถอนใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม การออกจากราชการและการติดคุกซึ่งเป็นโทษจากกฎหมายอื่นทั้งสิ้น กฎหมายฉบับนี้ไม่มีการระบุโทษดังกล่าวไว้เลย!! เป็นแต่เพียงการปรุงแต่งจากคนบางกลุ่มเท่านั้นที่บอกว่าจะมีคนเอาผลจากการ ตัดสินชี้ขาดของคณะกรรมการตามพรบ.นี้ไปขยายผลฟ้องอาญาต่อ ซึ่งถือว่าไกลจากตัวกฎหมายฉบับนี้มาก เพราะขั้นตอนคือการฟ้องอาญา;ศาลตัดสินจำคุก;ออกจากราชการ;แพทยสภาตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน;เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นขั้นตอนปกติเหมือนตอนยังไม่มีพรบ.ฉบับนี้  แล้ว กฎหมายฉบับนี้ช่วยแพทย์โดยศาลสามารถนำหลักฐานการ พิจารณาของคณะกรรมการกองทุนมาพิจารณาเพื่อที่จะไม่ลงโทษหรือลดโทษให้อีกก็ ได้ในกรณีที่ศาลเห็นว่าแพทย์มีความผิด

กรณีร่อนพิบูลย์ก็เป็นตัวอย่าง หนึ่งที่แสดงให้เห็นแล้วว่าความจริงเขาก็ไม่ได้อยากฟ้องแต่คนในสภาวิชาชีพ เองต่างหากที่ไปยุให้แพทย์ไม่ไปงานศพ ไม่ขอโทษ ไม่ช่วยเหลือตามมนุษยธรรม โศกนาฏกรรมที่สภาวิชาชีพเอาไปฉายซ้ำสร้างอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวและสร้าง บาดแผลให้วงการแพทย์จึงเกิดขึ้น
  
บางครั้งหมอก็ควรมองความเดือดร้อนของคนไข้บ้างว่าเขาเดือดร้อนจริงๆ ไม่ใช่คิดเพียงแต่ว่าพวกนี้อยากได้เงิน อยากเอาหมอติดคุก อยากให้หมอคนนี้ถูกยึดใบประกอบฯ มิเช่นนั้นระยะห่างของหมอกับคนไข้จะถูกถ่างออกไปอีก จากผู้ให้ไปสู่ผู้รับกลายเป็นพ่อค้ากับลูกค้า
  
บอกตรงๆครับผมในฐานะนักเรียน แพทย์คนนึงรู้สึกสลดใจที่เห็นหมอ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัดออกมาเรียกร้องในสิ่งที่ตัวเองยังไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ เพียงแต่ฟังๆเขาเล่ากันมา เอาขี้ปากเขามาพูดสร้างอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวกัน ภาพพวกพี่ๆที่ออกมาวันนี้ในสายตาชาวบ้านดูไม่ดีเลยครับ
 
ผมไม่อยากให้เรื่องวันนี้จบแค่ การออกมาแสดงพลังโก้ๆของแต่ละฝ่าย ทั้งสองฝ่ายควรย้อนกลับไปรวบรวมข้อมูลหลักฐานและข้อเสนอแนะต่อร่างพรบ.ฉบับ นี้แล้วมาคุยกันใหม่โดยปราศจากอคติ คิดถึงใจเขาใจเรา อย่าคิดถึงตัวเองแต่เพียงอย่างเดียว ผมไม่อยากให้สังคมสาธารณสุขของเราไม่ฟังกันแบบเหลืองกับแดงที่มีความคิดฝังหัวโดยไม่รู้จักแยกแยะผิดถูก แล้วมาเจอใหม่ในรัฐสภาตอนแปรญัตติดีกว่าครับ
  
เชิญตรองดูตามโยนิโสมนสิการ
ขุมทรัพย์ เพชร.

วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓  



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2010, 21:52:10 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
หมอสุธีร์หยุดกล่าวหาแพทย์ทั้งประเทศเสียทีครับ คุณไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่ารู้ดีไปกว่าหมอที่เคลื่อนไหว

ไม่มีใครโง่พอที่จะทำลายสิ่งที่เป็นเรื่องดี เรื่องราวที่เป็นเนื้อหาภายในร่างพระราชบัญญัติจะได้มีการชำแหละละเอียด

ยิ่งกว่าการชำแหละชันสูตรพลิกศพ แล้วคุณจะได้รู้ว่าคุณหรือใครที่คุณกล่าวหานั้น ใครโง่กว่าใคร แล้วจะรู้ว่า อะไรเป็นอะไรครับ


ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงาน ไม่รู้เรื่องกฎหมาย มองไม่เห็นภาพที่แท้จริงของเนื้อใน ดูแค่เปลือกกับคำโฆษณา แล้วขยันออกความคิดเห็น
คุณหมอสุธีร์กลับไปเรียนต่ออีกหลายปีก็จะยังไม่ทราบกระมังว่า อะไรเป็นอะไร


เพื่อนเราคนหนึ่ง

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ จะรู้ว่าแพทย์คนเขียนเป็นแค่ คนอยากให้คนอื่นคิดว่าเป็น นักศึกษาแพทย์
พูดตรงๆ ก็คือ นักศึกษาแพทย์ตัวปลอม

อยากให้เป็นนักศึกษาแพทย์จริงๆ
จะได้ไปนั่งจับเข่าคุยกับน้อง แล้วเล่าเรื่องจริงให้ฟัง ไล่เรื่องขยะๆ ออกจากหัวของน้องให้หมด