ผู้เขียน หัวข้อ: เบื้องหลังพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....  (อ่าน 1972 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
เบื้องหลังพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์รพศ/รพท.

 ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ได้เปิดเผยตัวตนแล้ว สังเกตได้จากการที่ออกมาให้ความเห็นสนับสนุนร่างพ.ร.บ.นี้ และโจมตีผู้ที่ออกมาคัดค้านว่า ไม่เข้าใจร่างพ.ร.บ.นี้บ้าง ต้องการหาเสียงบ้าง พ.ร.บ.ดีอย่างโน้นอย่างนี้บ้างฯลฯ
แต่ถ้านักข่าวอยากรู้ว่า ใครพูดความจริง ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง และต้องการให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรมในสังคม ใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างเหมาะสม และไม่ทำร้ายประชาชน ก็ต้องไปอ่านร่างพ.ร.บ.ทั้ง 6 ร่าง และรวมร่างแก้ไขมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว ก็จะเห็นความเชื่อมโยงของคนกลุ่มนี้ได้อย่างลงตัวว่า มีเจตนารมณ์อะไรที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังการออกมาสนับสนุนให้มีการร่างพ.ร.บ.นี้ โดยจะขอให้ท่านไปคิดดูโดยใช้วิจารณญาณและเหตุผลเชิงประจักษ์ แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะเชื่อบทความนี้หรือไม่

1.นพ.ประเวศ วสี หัวหน้าใหญ่ผลักดันให้เกิดสปสช.อ้างว่า เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
แต่สปสช.นั้น เมื่อได้เงินจากภาษีของประชาชนแล้ว กลับใช้อำนาจเงินเป็นใหญ่ ออกระเบียบบังคับให้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขทำงานตามระเบียบที่สปสช.กำหนด. ไม่เช่นนั้นโรงพยาบาลจะไม่ได้รับเงินมาทำงาน
ออกพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯให้มีมาตรา 41 กันเงินไว้ 1% ทุกปี เพื่อช่วยเหลือผู้สียหายจากการไปโรงพยาบาล แต่เงินนี้ยังเหลืออยู่หลายพันล้าน จนสำนักงบประมาณ บอกว่าไม่ต้องกันเงินไว้ จึงเป็นเหตุจูงใจให้อยากตั้งกองทุนใหม่ เพื่อเอาเงินส่วนนี้มาใช้จ่าย

2.นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สธ.ยุค25489-2550 และนพ.อำพล จินดาวัฒนะเลขารมว.มงคล ได้เข้าไปผลักดันให้เกิดพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 ตั้งตัวเองเป็นเลขาธิการ มี NGO สาธารณสุขร่วมเป็นคณะกรรมการทั้งสปสช.และสช. นพ.มงคล และนพ.อำพล ได้ผลักดันให้มีการร่างพ.ร.บ.นี้ ตั้งแต่ยุคนั้น คือ 2549 โดยส่งเรื่องให้สวรส.ผลักดันผ่านนพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงส์ ผู้อำนวยการกองประกอบโรคศิลปะ และส่งเรื่องให้NGO ในสายของตนร่างพ.รงบ.อีก 1 ฉบับ จนทำให้สส.ยุคนั้นร่างพ.ร.บ.ประกบบ้าง

3.รัฐบาลส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างพ.ร.บ.เหล่านี้ โดยได้ขอความเห็นจากแพทยสภา กระทรวงสธ.กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ กระทรวงคลัง กพ. กพร. และสช. ต่างก็มีการท้วงติงเรื่องการตั้งสำนักงานใหม่และการที่จะมีการใช้เงินอย่างมากมายมหาศาล และสำนักงบประมาณปฏิเสธที่จะจัดหางบประมาณมาเพิ่มในระบบนี้

4.จึงเป็นที่มาของการออกระเบียบให้เก็บเงินจากโรงพยาบาลและคลินิกหรือร้านขายยาและสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกประเภท แต่ผู้จะรับภาระก็คือประชาชน โดยนพ.ธเรศบอกว่าพงษ์พิสุทธ์จากสวรส. ได้คิดว่า อัตราการเก็บเงินล่วงหน้าที่เหมาะสมคือผู้ป่วยนอกรายละ 5 บาท และผู้ป่วยในรายละ 80 บาท. โดยรพ.ก็คงไปเพิ่มลงในการบริการประชาชนนั่นเอง

แต่รพ.รัฐไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้จากนโยบาย 0 บาท ก็คงต้องเจียดเงินค่ารักษาผู้ป่วยนั่นเองมาจ่ายเงินในส่วนนี้ ฉะนั้นเท่ากับว่าพ.ร.บ.นี้ กำลังปล้นเงินค่ารักษาของประชาชน 99.999% ไปรอจ่ายประชาชนเพียง 0.001%

5.มีการยกเลิกม.41 และมาตรา 50 คือกำจัดบทบาทคณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของสปสช.ที่เป็นผู้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มามอบให้กรรมการในพ.ร.บ.ใหม่กำหนดเอง
เพราะกรรมการเก่าจ่ายเงินสูงสุดครั้งละเพียง 200,000 บาทเท่านั้น

6.การเขียนบทเฉพาะกาลให้กรรมการรักษาการ 180 วัน โดยมี NGO เป็นกรรมการถึง 6 ใน 11 คน ก็บ่งบอกได้ว่า NGO ต้องการมาเป็นกรรมการควบคุม วางหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินตามที่พวกตนต้องการ

7.การบอกว่าไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด แต่จะเอาความผิดไปเป็นบทเรียนแก้ไขให้บริการดีขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นการโกหกอย่างชัดเจน

8.ผู้ออกมาสนับสนุนร่างนี้ก็คือผู้มุ่งหวังผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมจากพ.ร.บ.นี้ เริ่มจากกลุ่มราษฎรอาวุโส ผู้เป็นกรรมการในสปสช. สสส. สวรส. สช.คือนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ พงษ์พิสุทธ์ วชิระ มงคล อำพล  และ NGO สาธารณสุข รวมทั้งผู้ไม่ได้อ่านรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.อย่างถ่องแท้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2010, 21:48:15 โดย somnuk »