ผู้เขียน หัวข้อ: แพทย์หมดเกียรติยศศักดิ์ศรีเพราะการประท้วง และการแต่งดำ โดยนพ.สุธีร์ รัตนมงคลกุล  (อ่าน 3234 ครั้ง)

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
เรียนเพื่อนร่วมวิชาชีพการบริการทางสาธารณสุข

ต่อกรณีการประท้วงยับยั้ง ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ ด้วยการชุมนุมประท้วงและแต่งชุดดำ
ที่หน้ากระทรวงสาธารณสุข วันที่ 30 ก.ค. นี้ มีประเด็นที่น่าจะได้ทำความเข้าในกันดังนี้

ประการที่ 1. ทุกคนรับรู้ว่าความผิดพลาดในการบริการทางการแพทย์ (medical error) เกิดขึ้นได้ในเวชปฏิบัติ
เช่นที่อเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญทางการแพทย์ คาดว่าคนตายปีแสนรายจาก medical error   
ดังนั้นการเยียวยาผู้ที่ได้รัีบผลกระทบจึงควรเป็นสิ่งที่ควรจะกระทำตามหลักมนุษยธรรม

ประการที่ 2.  แพทย์หมดเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ในหนทางการแสดงความคิดเห็นแล้วหรือ จึงต้องใช้การชุมนุมประท้วง และ การแต่งชุดดำ เช่นนี้
ต่อกรณี ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหาย  ถ้าเราใช้ยาแรง ตั้งแต่แรก ต่อไป เชื้อก็ดื้อยา หากจะคัดค้านอะไรเราต้องทำเช่นนี้อีกหรือไม่
แล้วเราจะเอา ความน่าเคารพ น่าเชื่อถือ อะไร ไปพูดกับสังคมให้เชื่อเราได้อีก แพทย์เรามีเกียรติ มีศักดิ์ศรีในสังคม ได้ด้วยการช่วยเหลือชีวิตและปลดเปลื้องความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์และการใช้ วุฒิภาวะในการแก้ไขปัญหาให้คนไข้
ดังนั้น บรรดา ผู้ทำวิชาชีพบริการทางการแพทย์ น่าจะใช้วิธีการที่มีวุฒิภาวะ ด้วยการการพูดคุยเจรจากันกับผู้ร่าง กม.คุ้มครองผู้ไดัรัีบความเสียหายจากการบริการทางสาธารณสุข  ไม่น่าจะใช้วิธิการประท้วง การแต่งดำ มันทำให้เราเสียหายในสถาบันวิชาชีพมากกว่าผลที่ได้รับ  และทำให้วิชาชีพเราจะยิ่งตกต่ำมากขึ้นในสังคม  ต่อไป อะไร มีปัญหา เราก็จะใช้วิธีนี้ในการต่อสู้เช่นนั้นหรือ
เราเลียนแบบภาพใหญ่ในสังคมหรือเปล่าที่ต่อสู้ในสภาไม่ได้ก็ออกมาต่อบนท้อง ถนน
ซึ่งมันเป็นวิธีของผู้ด้อยอำนาจในสังคม  ในการเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ
จึงสงสัยว่า เครดิตความน่าเชื่อถือของแพทย์ หมดไปแล้วหรือในการที่จะพูดจากกันบนโต๊ะ ดี ๆ
ถ้าต้องทำถึงขนาดออกมาชุมนุมนี้เรื่อยไป แสดงว่า สังคมเขาไม่ฟังเราพูดแล้ว


ประการที่ 3. พวก เรากลัวอะไรในกฎหมายนี้   ผมเชื่อว่าพวกเราหลายคนต้องการทักท้วงด้วยใจอันบริสุทธิ์ 
แต่ผมก็ยังคิดว่ามีบางคนที่ไม่ได้ทำด้วยจิตที่เป็นกุศลเท่าใดนัก
สิ่งหนึ่งที่ได้ยินมาคือ เรื่องเราต้องส่งเงินเข้ากองทุนตาม กม. นี้
ซึ่ง รพ. ในภาครัฐไม่มีปัญหาเพราะเป็นเงิน รพ. อยู่แล้ว
คนที่ได้รับผลกระทบน่าจะเป็น รพ.เอกชนมากกว่า
เป็นไปได้หรือไม่ที่มีผู้ที่ไม่ต้องการสมทบ ขยายเรื่องนี้ให้บานปลายใหญ่โต
จริงแล้วโรงพยาบาลชุมชนเป็นจุดเปราะบางมากกว่าเพราะมีแพทย์จบใหม่ไปอยู่
รพช. มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ไม่ได้แสดงท่าทีรุนแรงแต่อย่างใด
จริงแล้ว เรื่อง พรบ. นี้ ทำกันมากครึ่งค่อนปีแล้ว  แพทยสภารับรู้ทุกขั้นตอน
เหตุใดจึงไม่ได้บอกให้พวกเรารับรู้ตั้งแต่แรก  เพิ่งจะมาตีข่าวช่วงนี้
ฤาไม่สามารถต่อสู้ทางเหตุผลกับคณะทำงานของกฤษฏีกาได้ จึงต้องออกมาใช้กำลังแพทย์
ฤาใกล้ ฤดูการเลือกตั้งอีกแล้ว  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ออกมาเรียกร้องตอนนี้ต้องการหาเสียงแต่อย่างใด
แต่กลัวคนที่ไม่ได้ออกมาแต่ใช้สถานการณ์นี้เป็นประโยชน์ในการสร้างฐานอำนาจ ในแพทยสภา   
เหตุการณ์นี้คล้ายกับเหตุการณ์เมื่อออก มาตรา 41 พรบ.หลักประกันสุขภาพ ฯ  แพทย์ลุกขึ้นมาประท้วง
ผมก็เป็นคนหนึ่งนี้ร่วมลงชื่อประท้วงกับเขาด้วยในตอนนั้น ด้วยเชื่อตามสิ่งที่เล่ากันมา
ประเด็นเหล่านี้แพทยสภารู้เรื่องนี้น่าจะบอกความจริงว่ากระบวนการเป็นมา อย่างไร

ประการที่ 4. ใน การต่อสู้เรียกร้องของแพทย์ครั้งนี้ความรู้สึกร่วมอาจ จะรุนแรงกว่าเดิม
เพราะเพิ่งผ่านเหตุการณ์เรื่องหมอถูกฟ้องคดีอาญา
ซึ่งบางทีเราก็ได้รัีบข้อมูลที่เกินความจริงที่โอเวอร์เช่น หมอถูกใส่กุญแจมือ หรือถูกเข้าห้องขัง ซึ่งไม่เป็นความจริง
และแพทย์น่าจะได้รับรู้และเรียนรู้กันว่าจริง ๆ แล้วทำไมเหตุการณ์ถึงได้กลับมาบานปลายไปขนาดนั้น ทั้ง ๆ ที่เรื่องราวกำลังจะลงเอยอยู่แล้ว เขาเล่าว่าเพราะมีหมอผู้ใหญ่จากกรุงเทพ ไปแนะนำว่าอย่าขอโทษ อย่าไปงานศพ เดี๋ยวจะแสดงว่าผิด
จนกระทั่งเกิดเป็นตราบาปในวงการแพทย์ และ เป็นบาปบริสุทธิ์ให้กับคนไข้ และแพทย์ รพ.จังหวัดที่ต้องรับการส่งต่อ
คนไข้จาก รพช. จำนวนมาก ไส้ติ่งอักเสบผ่ากันข้ามวันข้ามคืน จนไส้ติ่งแตกมากขึ้น  แทนที่ รพ. จังหวัดจะเอาเวลาไปผ่าคนไข้ยาก ๆ ผมเชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วไม่มีใครอยากขึ้นโรงขึ้นศาล ถ้าไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม และถ้ามีการชดเชยเยียวยาแล้วก็จะช่วยไม่ต้องไปฟ้องร้องต่อไปอีก เพราะฟ้องไปจะคุ้มเสียหรือไม่ เช่น เสียจากถูกมองแง่ลบ เวลาไปหาหมอ หมอก็จะหวาดระแวง เสียเวลาทำงานเสียค่าทนายแและก็เสียความรุ้สึก  ถ้าท่านเคยได้รับความไม่เป็นธรรมท่านจะซาบซึ่งได้ดีกว่าคำอธิบายใด ๆ
ในขณะที่ รพ. ขอนแก่น คนไข้ผ่าตา ตาบอดจำนวนมาก แต่กลับไม่โดนฟ้องอะไรเลยแถมเป็นข่าวครึกโครม
เราน่าจะเรียนรู้สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อมาสร้างความสัมพันธ์ที่ดี มากกว่าการสร้างภาพ ลบ ๆ ขึ้นมา
ถ้ามี พรบ นี้ คนไข้ ที่ รพ. ขอนแก่นก็จะได้รับการเยี่ยวยาจาก กม. ฉบับนี้ไปด้วย
เราสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมไม่ดีกว่าหรือครับ และสิ่้งนี้น่าจะจรรโลงเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของวิชาชีพได้ดีกว่าสิ่งใด
คนไข้ยังรู้สึกดีกับหมอ หมอก็รู้สึกดีกับคนไข้

ประการที่ 5. การ ที่แพทย์และวิชาชีพอื่น ๆ ร่วมกันประท้วงต่อเรื่องนี้จึงต้องดูว่า
เราประท้วงอะไร เราประท้วงหลักการ หรือ เนื้อหารายละเอียด
เราควรใช้วิธีการประท้วงและแต่งดำ หรือ มีวิธีการอื่นใดที่ดีกว่าหรือไม่
เพราะสุดท้ายต้องสู้กันด้วยเหตุผลมากกว่า
เราศึกษาประเด็นกันชัดเจนดีแล้วหรือ หรือเราเชื่อเพราะเล่าตาม ๆ กันมา เชื่อเพราะตรรกะ
หรือเชื่อเพราะคนที่พูดที่บอกน่าเชื่อถือ
เราใช้ evidence-based กันเพียงใด
เราศึกษาความเป็นมาเรื่องนี้กันมากน้อยเพียงใด เราได้ยินคนที่เขาสนับสนุนและคัดค้านเท่านั้น
แต่ก็น่าเห็นใจที่เรายุ่งจนไม่มีเวลาศึกษา จึงต้องอาศัยผู้รู้แทน ซึ่งผู้รู้ก็มีทั้งจิตบริสุทธิ์และที่ไม่ใช่

ประการที่ 6. เราใช้การให้คำปรึกษา (counseling) กันในเวชปฏิบัติเพื่อให้เกิดการสื่อสารสองทางกับคนไข้
เพื่อรับฟังปัญหาและทางเลือกของผู้ป่วย
แต่ตอนนี้เรากลับเลือก วิธีการปลุกระดมฝ่่ายเดียว เราไม่ฟังคนอื่นเลยหรือเปล่า
ทำไมไม่คุยกับ คนร่าง พรบ. ดี ๆ ว่าปัญหาคืออะไร ถ้าเราเห็นด้วยในหลักการว่า
เราต้องการให้ กม.นี้เป็นเครื่องมือในการชดเชยเยี่ยวยา   เพราะใน มาตรา 41 ใน พรบ หลักประกัน ฯ ไม่มีกลไกอันนี้
กม.ใหม่นี้ก็จะได้ทำให้เกิดการชดเชยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เราน่าจะแก้ปัญหาแบบที่มีวุฒิภาวะ ด้วยเหตุด้วยผล  และชี้ให้ตรงประเด็น
จากรายการดีเบทในทีวีมาสองสามรายการ แพทย์เราไม่สามารถทำประเด็นให้กระจ่างได้อย่างตรง ๆ เพียงพยายามพูดว่า
แพทย์ทำงานหนักแบบขอความเห็นใจ แต่ไม่ได้ตอบโจทย์ว่า เมื่อคนไข้เกิดความเสียหายขึ้นเราจะช่วยกัน
ช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร  ในเวทีสาธารณะ เราต้องสู้ด้วยเหตุและผลในประเด็็นมากกว่า
และ แสดงออกด้วยน้ำใจต่อกัน มากกว่าเอาชนะ
ถ้าคิดว่าวิชาชีพเรายังมีศักดิ์ศรี มีอำนาจบารมี ก็ควรใช้หลักเมตตากรุณาธรรม
เครือข่ายผู้ป่วยที่เกิดขึ้นก็คงไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นมาเองหรืออยู่ ๆ ก็ลุกขึ้นมาร้องเรียนแพทย์
ผมเชื่อว่าเขาได้รัีบความสูญเสียจริง แล้วพวกเราไม่สามารถให้ความกระจ่างกับเขาได้
และครั้้งนี้เขาก็ต้องการเรียกร้องที่จะมีระบบอะไรมารองรับ

ประการสุดท้าย เราจะหาทางออกร่วมกันอย่างไร
เราน่าจะมาใช้ใจคุยกันกับผู้ที่เรียกร้องต้องการ พรบ. ว่าหรือว่าที่ต่อสู้เรียกร้องเืพื่อผู้ป่วยต้องการอะไร
มีปัญหาอะไร และต้องการ พรบ. ออกมากอย่างไร ส่วนในมุมมองแพทย์ เรามีข้อจำกัดอย่างไร
เช่น  ในกรณีไม่ต้องจ่ายเงิน ในข้อ 6 (2)พูด เรื่องมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งในร่างที่ฝ่ายประชาชนเสนอไปไม่มีข้อนี้
และก็ให้ออกได้ เพราะฝ่ายผู้ต้องการ พรบ ไม่ได้ต้องการ แต่ แพทยสภา เป็นผู้เติมลงไปเอง
เราไม่ควรไปแสดงออกที่บ่งบอกถึงการตอกลิ่มความขัด แย้งระหว่างแพทย์กับคนไข้อีกต่อไปเลย   
คนไข้ส่วนใหญ่ก็ยังเคารพนับถือแพทย์และเพื่อนร่วมวิชาชีพทางการแพทย์อยู่  และสังคมส่วนใหญ่ก็ยังให้เกียรติพวกเราอยู่
เราควรรักษาต้นทุนทางสังคม ไว้ในยามที่สามารถช่วยเหลือสังคมได้จะดีกว่า
เรามาพูดคุยร่วมกัน แบบขอนแก่นโมเดล ที่คนไข้ต้องตาบอดจากการติดเชื้อระหว่างการรักษายังคงรักษากับแพทย์อยู่
ไม่ออกมาฟ้องร้องแม้จะเป็นข่าวดังทั่วประเทศ เราก็ควรมองว่านี่คือน้ำใจคนไข้เช่นกัน
ถ้าเราส่งเสริมสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น รู้จักการตอบสนองในทางบวกเหมือนที่ รพ.ขอนแก่น
เราก็จะได้ไม่ต้องทำ defensive practice
เราน่าจะพลิกวิกฤตินี้เป็นโอกาส
ในการสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่่วยในระดับภาพรวม
ในการสร้างความเข้าใจกันกับกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช. ในข้อจำกัดในทรัพยากรที่ได้รับ หรือระบบที่ไม่เื้อื้ออำนวยต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วส่งผลต่อการ บริการที่เสียงต่อความผิดพลาดเสียหาย
รวมถึงสื่อสารกับสังคมในข้อจำกัดของการ บริการทางการแพทย์ แม้ว่าประเทศที่เจริญแล้วก็เกิดขึ้น เพราะเมื่อใดที่เกิดปัญหา
กับผู้ป่วยทางสื่อ แพทย์ก็จะเป็นจำเลยไว้ก่อน
เวลานี้น่าจะเอาสรรพกำลังที่บริสุทธิ์มาสร้างสรร สิ่งดี ๆ ในวิชาชีพ มากกว่าการเอาชนะทางแง่กฎหมาย
อย่างไรเสียแพทย์กับคนไข้ก็ต้องอยู่ร่วมกันตราบเท่าที่ยังมีคนเจ็บป่วย และแยกกันไม่ออก

ในเมื่อเราเห็นด้วยว่าความเสียหายจากการบริการควรได้รับการเยียวยา เราก็ควรให้ กฎหมายนี้ผ่านเข้าสภา เพื่อรับหลักการ
เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้  เพราะเรื่องนี้ทำกันมานานแล้ว
เรื่องนี้ก็ยังไม่สายที่เราจะปรับแก้กันในวาระสองในสภาผู้แทนต่อไป
และเราควรได้พูดคุยกันแบบนั่งจับเข่าคุยกันมากกว่ายืนกอดอกคุยกัน
การประท้วงเอาชนะ ต่อไปก็อาจจะแพ้ทั้งหมอทั้งคนไข้ และสังคมก็แพ้เพราะแพทย์กับคนไข้ทะเลาะกัน
คนที่ได้กลับเป็นนักการเมืองและผู้บริหาร และฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์จากการยับยั้งกฎหมายนี้ครับ

หากเห็นว่าจดหมายนี้เป็นประโยชน์ โปรดส่งต่อไปยังเพื่อนร่วมวิชาชีพต่อไป ขอบคุณครับ

นพ.สุธีร์ รัตนมงคลกุล

อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
(จากเพื่อนของเราคนหนึ่ง)

การเคลื่อนไหว แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการเช่นนี้ แต่ผมก็มองว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มาจากกลุ่มคนที่แม้ดูจะไม่เข้าท่าแต่ก็เป็นธรรมชาติ คิดแบบธรรมชาติ
ไม่มีการจัดตั้ง ไม่มีขบวนการ ไม่มีการเคลื่อนไหวอย่างมืออาชีพ และยังเป็นการออกมาแสดงออกถึงตัวตนที่ผู้มีส่วนในการออกกฎหมายจะต้องสำเหนียกไว้ ว่า คุณจะออกฎหมายที่มีผลต่อเขาเหล่านั้น คุณถามเขาบ้างไหม? ด้วยเนื้อในกฎหมายนั้นต้องเอามาพูดกัน ไม่ใช่การพูดหลักการเหตุผลที่ดูดี แต่แฝงเร้นด้วยสิ่งที่
จะเป็นปัญหาแก่ส่วนรวมตามมาอีกมากมาย ไม่ใช่เพียงแพทย์ที่มองเห็น ทุกวิชาชีพ ทุกคนที่เกี่ยวข้องเขามองเห็น
และ ชัดเจนที่สุดคือ การที่เนื้อในไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังที่กล่าวอ้างในหลักการ และเหตุผลจึง เป็นเหตุผลในการเคลื่อนไหวครับ
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ คนที่จะเดือดร้อน คือ คนที่หมายมั่นปั้นมือว่า เมื่อกฎหมายออกมาแล้วตน/กลุ่มตน/ผู้สนับสนุนตน จะได้อะไร
 
ขอร้อง ว่าให้หยุดกล่าวร้ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่เขาเผชิญหน้ากับภารกิจดูแลประชาชนที่การสนับสนุนภารกิจมีความพิกลพิการ ครับ

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ประเด็นที่ 1

ในทางการแพทย์ก็บอกแล้วว่า มี medical error  เป็นความผิดพลาดที่มิได้เกิดจากเจตนา  คำว่าเยียวยาความหมายคือการช่วยเหลือ จริงในสังคมการช่วยเหลือผู้ที่ประสบเหตุทีมิได้คาดฝันก็มีอยู่แล้ว แต่จะให้ผู้ที่ได้รับผลเสียพึงพอใจทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ ความพึงพอใจเป็นนามธรรรม ทำไมต้องเขียนกฎหมายมาอีก คุณนึกเหรอว่ากฎหมายจะแก้ทุกสิ่งทุกอย่าได้

ประเด็นที่ 2

แพทย์ก็เป็นคน ผู้ป่วยก็เป็นคน ไม่มีความแตกต่าง มีรัก โลภ โกรธ หลง แต่มีบทบาทหน้าที่ในสังคมต่างกัน แพทย์มีหน้าที่รักษาอาการเจ็บป่วยของคนไข้ คนไข้มีหน้าที่อะไรต่อแพทย์ที่รักษา?
ขอบคุณ เฉยๆ ฟ้องร้อง มันขึ้นกับผลการรักษา บุคลิภาพผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย เจตคติของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ก็บอกแล้วว่ามันมี medical error เป็นผลการกระทำที่มิได้เจตนา  คาดการณ์ไม่ได้ แล้วทำไมเราเอาเรื่องที่คาดไม่ได้มาเขียนเป็นตัวหนังสือเป็นกฎหมายเพื่อจัด การกับเหตุการณ์แบบนี้ เหมือนกันฉะนั้นการดำเนินกิจกรรมใดถ้าอยู่บนทางสายกลางทุกคนจะพอใจ แต่เกียรติยศ ศักดิ์ศรี เป็นเรื่องที่สังคมอุปโลกให้คุณ ขึ้นกับว่าคุณจะสวมมันมัย

การประท้วงไม่ใช่เรื่องไม่มีวุฒิภาวะ ความจริงเป็นการแสดงออกทางระบบประชาธิปไตย การแต่งชุดดำเป็นการแสดงถึงความไม่พอใจต่อการกระทำของอีกฝ่าย ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นไม่เห็น

ประเด็นทำไมเพิ่งมาเดือดร้อนตอนนี้ ในมุมมองอีกด้านสิ่งใดที่เป็นทองแท้อย่างไรก็เป็นทองวันอย่างคำ ฉะนั้นถ้าร่างกฎหมายดีจริงเอาไว้ตีกรอบทางสังคม ก็อย่ากลัวไฟ   จริงๆถ้าพูดกันได้ก็ดี
   ขอแสดงความเห็นบ้าง
ทญ.นงลักษณ์ พงศ์ทวีบุญ