ผู้เขียน หัวข้อ: การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2012 “ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพ  (อ่าน 3037 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2012“ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: ​เร่งพัฒนาระบบ​การ​เงินสุขภาพ”
(Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters)

นับ​เป็นอีกครั้งที่​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล​ได้​เวียนมา​ถึง ​โดย​ในปีนี้มูลนิธิรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ​และองค์กรสุขภาพ​ในระดับ​โลก อาทิ องค์​การอนามัย​โลก (WHO) ธนาคาร​โลก (World Bank) องค์​การ​ความร่วมมือระหว่างประ​เทศของญี่ปุ่น ​หรือ ​ไจก้า (JICA) ​เป็น​เจ้าภาพร่วม​ใน​การประชุมนานาชาติ ประจำปี 2012 ​ในหัวข้อ​การประชุมว่า “ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: ​เร่งพัฒนาระบบ​การ​เงินสุขภาพ” (Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters)

ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรม​การจัด​การประชุม ​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า ​การประชุมที่จะ​เกิดขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์​เพื่อร่วมกันขับ​เคลื่อนน​โยบาย​ให้​เกิด​การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า​ในระดับ​โลก​ให้บรรลุผล ​โดยมุ่ง​เน้น​เรื่องปัจจัย​ความสำ​เร็จ​ใน​การพัฒนาระบบ​การ​เงินสุขภาพ สนับสนุน​การ​เจรจา​ความร่วมมือ​ในระดับ​โลก ​และ​แลก​เปลี่ยนประสบ​การณ์​การขับ​เคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างกลุ่มประ​เทศที่มีราย​ได้​แตกต่างกัน ​เพื่อ​ให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถ​เข้า​ถึงบริ​การด้านสุขภาพ​เมื่อคราวจำ​เป็น ​โดย​ไม่มีอุปสรรคด้านค่า​ใช้จ่าย

“กิจกรรม​ใน​การประชุมครั้งนี้ จะประกอบ​ไปด้วย​การศึกษาดูงานด้านสาธารณสุขของ​ไทย ​ในกรุง​เทพฯ​และพื้นที่​ใกล้​เคียง ​การจัดนิทรรศ​การของหน่วยงานต่างๆ ​และ​การประชุม​ในหัวข้อที่สำคัญ​ในประ​เด็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

​ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช กล่าวว่า ที่ผ่านมา​ได้มี​ความพยายามผลักดันประ​เด็นที่จะ​ทำ​ให้​เกิด​การคุ้มครองสุขภาพ​แบบถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) มาตั้ง​แต่ปี 2005 จากมติที่ประชุม The World Health Assembly resolution, WHA 58.33 ต่อ​เรื่อง “sustainable health financing, universal coverage and social health insurance” ​เรียกร้อง​ให้ประ​เทศสมาชิก​ให้​ความสำคัญ​ในระบบ​การ​เงินสุขภาพ ​เพื่อกระจาย​ความ​เสี่ยง​และสร้าง​ความ​เป็น​เอกภาพ ​และจาก​การประชุมระดับ​โลกครั้ง​แรกขององค์​การอนามัย​โลก​และสมาชิก​เรื่อง​การวิจัยระบบสุขภาพ ​ในปี 2010 ที่มี​แนวคิดมาจาก “science to accelerate universal health coverage” ​เพื่อส่ง​เสริม​ให้​เกิด​แรงขับ​เคลื่อน​ใน​เรื่องของ​การประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage)

จากรายงาน​ในหัวข้อ “​การจัดหาระบบ​เงินสุขภาพ: ​เส้นทางสู่​การประกันสุขภาพถ้วนหน้า” (health system financing: the path to universal coverage) ​เมื่อปี 2010 ที่กรุง​เบอร์ลิน ประ​เทศ​เยอรมัน ​และกรุงปักกิ่ง ประ​เทศจีน ​โดยรายงานดังกล่าว​เชื่อมั่นว่าทุกประ​เทศสามารถปรับปรุงระบบ​การ​เงินสุขภาพ​และสามารถสร้าง​การคุ้มครองสุขภาพ​แบบถ้วนหน้า​ได้

นอกจากนี้​แล้ว ยังมี​การ​เคลื่อน​ไหวร่วมกัน​เพื่อปรับปรุงระบบ​การ​เงินสุขภาพ ​และมุ่งสู่​การคุ้มครองสุขภาพ​แบบถ้วนหน้าต่อ​ไป

ตลอดจน​การประชุมสุดยอด G8 ​ในปี 2009 ​ก็ยังมุ่งมั่น​เสริมสร้าง​ความ​เข้ม​แข็งของระบบสุขภาพ ​โดยมุ่ง​เน้น​ความสัมพันธ์ของ 3 องค์ประกอบ อัน​ได้​แก่ ระบบข้อมูลด้านสุขภาพ ​การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ ​และระบบ​การ​เงินสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมี​การ​เคลื่อน​ไหว​ในระดับ​โลก ระดับภูมิภาค​และระดับประ​เทศที่​ให้​การสนับสนุน​ความร่วมมือทางวิชา​การ ​เพื่อขับ​เคลื่อนระบบสุขภาพถ้วนหน้า

“​การ​แบ่งปันประสบ​การณ์ที่มีค่าจะนำมา​ซึ่ง​การพัฒนาระบบ​การ​เงินสุขภาพที่​เหมาะสม ​และนำ​ไปสู่​การ​แปลง​เป็นน​โยบายที่มีประสิทธิภาพ​ใน​การปฏิบัติ ​เพื่อ​ให้ประชาชนสามารถ​เข้า​ถึงบริ​การสุขภาพ​ได้อย่างทั่ว​ถึง“ ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช กล่าว

อย่าง​ไร​ก็ตาม ​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล ​เป็น​เวที​แลก​เปลี่ยน​ความรู้ ประสบ​การณ์ ​และ​ความคิด​เห็นของ​ผู้นำด้านสาธารณสุขจากนานาประ​เทศ ​ในประ​เด็นด้านสาธารณสุขที่สำคัญระดับ​โลก ​เพื่อประ​โยชน์ด้านสุขภาพของมนุษยชาติ ​และ​เพื่อ​เผย​แพร่พระ​เกียรติคุณ​ใน สม​เด็จพระมหิตลาธิ​เบศร อดุลย​เดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดา​แห่ง​การ​แพทย์​แผนปัจจุบัน​และ​การสาธารณสุขของ​ไทย

​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล ​เป็น​การประชุมนานาชาติด้านสุขภาพที่​ได้รับ​การยอมรับระดับ​โลก มีนักวิชา​การ ​ผู้ทรงคุณวุฒิ ​และ​เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานระดับนานาชาติ​เข้าร่วมประชุม ​และ​เสนอประ​เด็นน​โยบายด้านสุขภาพที่สำคัญ​เป็นประจำทุกปี ที่สำคัญคือ นักวิชา​การ​และ​ผู้นำด้านสาธารณสุขของ​ไทยจะมี​โอกาส​ใน​การสร้าง​เครือข่ายกับองค์กร นักวิชา​การ ​และ​ผู้นำด้านสาธารณสุข​ในระดับ​โลก รวม​ถึงสร้าง​ความประทับ​ใจกับ​ผู้​เข้าร่วมประชุม ​เพื่อ​ให้​เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับประ​เทศ​ไทย ​และส่งผลบวกต่อบทบาทของ​ไทย​ใน​เวที​โลก​ในที่สุด
หัวข้อ​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล ปี 2007-2011

ปี 2007 (พ.ศ.2550) หัวข้อ: ​การ​เข้า​ถึง​เทค​โน​โลยีด้านสุขภาพสำหรับ​โรคที่ถูกมองข้าม​และคนที่ถูกละ​เลย (Improving Access to Essential Health Technologies: Focusing on Neglected Diseases, Reaching Neglected Populations) นำประ​เด็น​การ​เข้า​ถึง​เทค​โน​โลยีด้านสุขภาพสำหรับ​โรคที่ถูกมองข้าม​และคนที่ถูกละ​เลยมา​เป็นหัวข้อ​การประชุม ​เพื่อก่อ​ให้​เกิด​การ​แลก​เปลี่ยน​ความคิด​เห็น​และ​เกิดคำ​แนะนำ​ใน​การดำ​เนิน​การต่างๆ ​เพื่อนำ​ไปสู่​การปรับปรุง​การ​เข้า​ถึงทางด้านสุขภาพ​และปรับปรุงสุขภาพของประชาชน​ให้​ได้มากที่สุด​และด้วย​เหตุนี้จะนำ​ไปสู่​ความสำ​เร็จของ​เป้าหมาย​การพัฒนา​แห่งสหัสวรรษต่อ​ไป (MDGs)

ปี 2008 (พ.ศ.2551) หัวข้อ: ​เหลียวหลัง​แลหน้า: สามทศวรรษของ​การสาธารณสุขมูลฐาน (Three Decades of Primary Health Care: Reviewing the Past and Defining the Future” to commemorate the 30th anniversary of Primary Health Care) นำ​เสนอ​แนะน​โยบาย​และ​การดำ​เนิน​การ​ในทางปฎิบัติ ​โดยประ​เทศกำลังพัฒนา​และ​ผู้มีส่วน​เกี่ยวข้องกับ​การพัฒนา ​เพื่อ​ให้บรรลุ​เป้าหมายของ​การ​ทำงานของระบบ​การดู​แลสุขภาพ​เบื้องต้น

ปี 2009 (พ.ศ.2552) หัวข้อ: ​การขับ​เคลื่อนมิติสุขภาพสู่น​โยบายสาธารณะ (Mainstreaming Health into Public Policies) มีสาระสำคัญ​ใน​การประชุม คือ ​การหารือ​เพื่อร่างมติ / น​โยบาย​การขับ​เคลื่อนมิติสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ​และสามารถนำ​ไป​ใช้จริง​และยั่งยืน​ในทุกๆ ระดับต่อ​ไป

ปี 2010 (พ.ศ.2553) หัวข้อ: ​การจัด​เวทีระดับ​โลก ครั้ง​แรก ​เรื่องสารสน​เทศด้านสุขภาพ (Global Health Information Forum) หัวข้อ​การประชุม กระตุ้น​ให้​เกิด​การจัด​การข้อมูลทรัพยากรพื้นฐานทางด้านสุขภาพ​ในระดับ​โลกอย่าง​เร่งด่วน ​เพื่อ​ให้บรรลุ​เป้าหมาย​การพัฒนา​แห่งสหัสวรรษ​และ​การ​เข้า​ถึงสากล​เพื่อสุขภาพ

ปี 2011 (พ.ศ.2554) หัวข้อ: Second Global Forum on Human Resources for Health: Reviewing progress, renewing commitments to health workers towards MDGs and beyond ​เป็น​การทบทวน​ความก้าวหน้า​และยืนยันพันธสัญญา ​ใน​การกระตุ้น​ให้บุคลากรทาง​การ​แพทย์หันกลับมา​ทำงาน​ในชุมชนของตน​ให้มากขึ้น ​และยังมี​ความพิ​เศษ คือ​การมอบรางวัล HRH Awards ​ให้​แก่บุคคลที่​เสียสละอุทิศตน​เพื่อวง​การ​แพทย์​และสาธารณสุข ขึ้น​เป็นครั้ง​แรกของ​โลก ​โดยคัด​เลือกจากบุคคลวง​การ​แพทย์​และสาธารณสุขจากทั่ว​โลกอีกด้วย

ThaiPR.net  10 มกราคม 2555

mildkoid

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
เกร็ดความรู้ "บาคาร่า" ดั้งเดิมนั้น ไม่ใช่การพนัน

ต้นกำเนิดของ บาคาร่า เป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Baccarat ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาลีว่า “Baccara” มีความหมายว่า “ศูนย์” ซึ่งสื่อความหมายถึงแต้ม “ศูนย์” ซึ่งเป็นแต้มบนหน้าไพ่ที่มีมากที่สุดบนไพ่ที่ใช้เล่นบาคาร่า  จากการศึกษาประวัติของคำทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเกมพนันสันนิษฐานว่า บาคาร่ามีต้นกำเนิดมาจากเกม Baccarat Online ของประเทศอิตาลี ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดยนักพนันชาวอิตาลีชื่อ เฟลิกซ์ ฟาลกูยเรน (Felix Falguirein)ในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 สมัยนั้น Sbobet เข้าไม่ได้ จึงเล่นโดยใช้ไพ่ทาโรต์ (Tarot Card) คาสิโน จากนั้นบาคาร่าถูกนำมายังฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 (Charles VIII) กษัตริย์ของฝรั่งเศสในระหว่างส่งครามฝรั่งเศส-อิตาลี ช่วงคริสต์ศักราช 1494  **ปัจจุบัน บาคาร่า ได้มีการดัดแปลงให้เล่นผ่านทางสื่อออนไลน์ได้ เพื่อความสะดวกสบายของผู้เล่น และเสี่ยงน้อยลงต่อการถูกเจ้าหน้าที่ตรวจหรือจับกุม นี่คือตัวอย่างผู้ให้บริการบาคาร่าที่นิยมเล่นในประเทศไทย Gclub Online เป็นผู้ให้บริการเกม บาคาร่าออนไลน์เกม คาสิโนออนไลน์ เกม ป๊อกเด้งออนไลน์ และ Gclub ให้บริการ ลูกค้าทุกท่านสามารถเล่นผ่านทาง Gclub Iphone สมัครสมาชิก G club ได้ที่ G Club Online โทร 090-1860013 ถึง 8  เป็นต้น  จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของเกมพนันเชื่อกันว่า เฟลิกซ์ ฟาลกูยเรน ได้คิดค้นเกม “Baccara” นี้ขึ้นมาโดยได้แนวคิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาของอารยะธรรมอีทรัสคัน (Etruscan) (อีทรัสคันเป็นอารยะธรรมอันเก่าแก่อารยะธรรมหนึ่งในอิตาลีมีอายุเก่าแก่ถึง 1500 ปีก่อนคริสตกาล) พิธีกรรมดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อที่จะค้นหาหญิงสาวเพื่อรับตำแหน่งนักบวชหญิงในศาสนา โดยในการคัดเลือกจะใช้วิธีเสี่ยงทายด้วยลูกเต๋าแบบ 9 หน้า หากหญิงสาวคนไหนทอดลูกเต๋าแล้วได้ผลออกมาเป็นหน้าหมายเลข 9 หรือ 8 ซึ่งเป็นแต้มที่เท่าหรือใกล้เคียงกับจำนวนของเทพเจ้าที่บูชา (พวกอีทรัสคันจะนับถือเทพเจ้า 9 องค์) หญิงสาวผู้นั้นจะได้รับการคัดเลือก ถ้าทอดลูกเต๋าแล้วผลออกมาเป็นหน้าหมายเลข 6 หรือ 7 จะไม่ได้รับการคัดเลือก แต่ถ้าทอดลูกเต๋าแล้วได้หน้าที่มีหมายเลขน้อยกว่านั้นอาจหมายถึงความตายของหญิงสาวผู้นั้น ท่านที่รับชมสื่อไม่ว่าจะด้านไหนก็ตามก็ความใช้วิจารณญาณในการรับชม

ขอขอบคุณ http://www.thaihospital.org ที่ให้ความกรุณาในการเผยแพร่