ผู้เขียน หัวข้อ: สปส.ขยายเพิ่ม6สิทธิประโยชน์ ค่าคลอด-ทำฟัน-สงเคราะห์ลูก ให้รักษาโรคจิตได้  (อ่าน 1973 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
คลังไฟเขียวขรก. รักษาร.พ.เอกชน

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนใน 6 เรื่อง ดังนี้
1.เพิ่มค่าคลอดบุตรจากครั้งละ 1.2 หมื่นบาทเป็น 1.3 หมื่นบาท
2.เงินสงเคราะห์บุตรจากรายละ 350 บาท เป็น 400 บาท
3.ค่าทันตกรรมจากครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง หรือ 500 บาท เป็นครั้งละ 300 บาท หรือปีละไม่เกิน 600 บาท
4.สิทธิในการให้บริการใส่รากฟันเทียม
5.เพิ่มสิทธิในกรณีรักษาโรคจิต
6.เพิ่มค่ารักษากรณีทุพพลภาพจากเดือนละไม่เกิน 2 พันบาท เป็น 4 พันบาท

 นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ได้สั่งการให้ สปส.พยายามทำให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงบริการให้มากที่สุด โดยดำเนินการจัดตั้ง "เคาเตอร์เซอร์วิส"ในสถานประกอบการ ซึ่งได้ขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการให้ส่งบุคลากรมาร่วมอบรมเพื่อให้บริการในเบื้องต้นเกี่ยวกับงานประกันสังคม เช่น การรับประโยชน์ทดแทน โดย สปส.จะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการครบวงจร โดยเริ่มต้นจากสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีลูกจ้าง 1 พันคนขึ้นไปก่อน ซึ่งจะดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 เดือน หลังจากนั้นจะขยายไปยังสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 500 คนภายใน 6 เดือน และสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 200 คนขึ้นไปให้เสร็จสิ้นในปีงบประมาณหน้า ซึ่งทั้งหมดจะครอบคลุมผู้ประกันตนกว่า 4 ล้านคน

 ด้านน.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนใน 6 เรื่อง ว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ทางกระทรวงแรงงานและ สปส.ให้ความสำคัญในการดูแลผู้ประกันตนด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ แต่หัวใจหลักที่ทางขบวนการแรงงานต้องการ คือ การปฏิรูป สปส.ให้เป็นองค์กรอิสระ มีการบริหารงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องให้แรงงานทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุน นอกจากนี้ ควรขยายความคุ้มครองให้กับแรงงานนอกระบบด้วย

 "ผ่านมาแล้ว 20 ปี แต่ สปส.ก็ยังคงมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการต้องทำให้เป็นที่ไว้วางใจของคนงาน เนื่องจากเป็นความหวังของผู้ประกันตน" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว และว่า สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ทาง สปส.เพิ่มให้นั้น ตนเห็นว่าในบางกรณีควรเพิ่มให้มากกว่านี้ เช่น เงินสงเคราะห์บุตร ควรเพิ่มเป็นรายละ 500 บาท และควรขยายความคุ้มครองจาก 6 ปี ให้เป็นลักษณะเดียวกับที่ให้ข้าราชการ

 ส่วนกรณีที่เพิ่มสิทธิในการรักษาผู้ป่วยโรคจิต ซึ่งเป็นโรคที่ยกเว้นการรักษาพยาบาลนั้น ตนเห็นว่า สปส.ควรยกเลิกการรักษาพยาบาลโรคต่างๆ ที่ได้รับการยกเว้น เนื่องจากสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกันตนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม สปส.ควรปรับการบริการรักษาพยาบาลให้มีคุณภาพด้วย

 ด้านนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส. เปิดเผยว่า การลงทุนในครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2553 กองทุนประกันสังคมมีผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 15,223 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลตอบแทน จากดอกเบี้ยเงินฝาก พันธบัตรและหุ้นกู้ จำนวน 12,380 ล้านบาท เงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์จำนวน 2,843 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรากฏว่ากองทุนมีผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 12,960 ล้านบาท มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2,263 ล้านบาท ทั้งนี้กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนที่ผ่านมารวม 707,730 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 567,010 ล้านบาท

 นายปั้น กล่าวต่อว่า ในปี 2553 นี้คาดว่าจะมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.4 แสนล้านบาท โดย คณะกรรมการประกันสังคมได้เห็นชอบให้คงสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ส่วนการลงทุนในหุ้นให้คงสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 10นอกจากนี้ ยังเตรียมปรับกรอบการลงทุนเพื่อรองรับการขยายการลงทุนในต่างประเทศ การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนทางเลือกอื่น เพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุนให้กับกองทุนประกันสังคมในระยะยาว

 วันเดียวกัน นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า คลังได้ขยายสวัสดิการรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากการเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลเอกชนได้มากขึ้น จากเดิมที่ต้องเป็นกรณีเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเท่านั้น โดยสวัสดิการที่ขยายเพิ่มขึ้นจะให้ครอบคลุมโรคร้ายต่างๆ ที่จะทำให้เป็นอันตรายจนถึงเสียชีวิตด้วย และจะเริ่มให้เบิกได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553 โดยทางกรมบัญชีกลางจะมีการกำหนดโรคว่ามีชนิดใดบ้างที่จะเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนได้ ซึ่งการเข้าการรักษาจะต้องรับการอนุมัติจากทางกรมบัญชีกลางก่อน และการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจะเป็นเหมาจ่ายต่อโรคที่ได้รับการรักษา หากค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กำหนด ทางข้าราชการต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

 นายพงษ์ภาณุ กล่าวต่อว่า การขยายสิทธิของข้าราชการดังกล่าว จะไม่กระทบทำให้การใช้งบประมาณมากขึ้น เนื่องจากเป็นระบบการเหมาจ่ายต่อโรค และการรักษาต้องได้รับการอนุมติจากกรมบัญชีกลางเสียก่อน โดยการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล 1 เดือนที่ผ่านมา มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 5.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าทั้งปีงบประมาณ 2553 จะมีการเบิกค่ารักษาพยาบาล 6.1 หมื่นล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณก่อนหน้า โดยปีงบประมาณ 2553 กรมบัญชีกลางได้รับการจัดสรรงบประมาณค่ารักษาพยาบาล 4.8 หมื่นล้านบาท และในปีงบประมาณ 2554 จะได้งบ 6.2 หมื่นล้านบาท

 นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ปัจจุบันข้าราชการที่ได้รับสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจำนวน 1.9 ล้านคน บุคคลในครอบครัวอีก 2.6 ล้านคน รวมเป็นบุคคลที่มีสิทธิเบิกค่ารักษาจำนวน 4.5 ล้านคน ในจำนวนนี้ปีที่ผ่านมาเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในประมาณ 7 แสนคน

แนวหน้า วันที่ 1/9/2010

Lyricliee02

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากๆครับ สำหรับสิ่งดีๆ

leemreem

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด