ผู้เขียน หัวข้อ: พวกเราไม่ต้องการผู้ที่ยังมีปัญหา มาเป็นเลขา สปสช. คนใหม่  (อ่าน 6371 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด


จาก ๙ ผู้สมัครเป็นเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คนใหม่ แทนคนเก่าที่หมดวาระในวันที่ ๑ เมษายนนี้





ได้รับการคัดเลือกเหลือ ๓ คนแล้ว คือ




วันที่ ๑๑ เมษายนนี้ จะมีการเลือกให้เหลือเพียงหนึ่งเดียว
ชาวสาธารณสุขขอให้ย้ำชัดๆว่า พวกเราไม่ต้องการผู้ที่ยังมีปัญหา มาเป็นเลขา สปสช. คนใหม่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2012, 09:46:05 โดย seeat »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
จดหมายถึง รมว.สธ.จาก พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ

กราบเรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ฯพณฯ วิทยา  บุรณศิริ

              เนื่องจากมีแหล่งข่าวแจ้งมาว่าผู้สมัครเลขาฯ สปสช. ท่านหนึ่งได้กระทำการดังนี้ คือ ได้นัดพบนักการเมืองระดับสูงที่เชียงใหม่เมื่อเดือนที่ผ่านมานี้เพื่อตกลงจะจ่ายสามพันล้านบาท ให้ถูกเลือกเป็นเลขาฯ สปสช. คนใหม่ แล้วยังจะมีีตามมาอีกหลายก้อน ในเวลาต่อมา ขณะเดียวกัน ได้ให้นักกฎหมาย สปสช. ทำคำสั่ง สปสช. แต่งตั้งกรรมการสรรหาห้าคน เพื่อเลือกคู่แข่งเลขาฯ สปสช. จากเก้าคนให้เหลือสองคน นำเข้าคณะกรรมการ สปสช. ตัดสินเลือกหนึ่งคนเป็นเลขาฯ สปสช. แต่สิ่งที่ผิดปกติ คือ ได้มีคณะกรรมการสรรหาที่ผิดหลักเกณฑ์หนึ่งคน คือ นายนิมิตร เทียนอุดม เข้ามาด้วย เพื่อว่า ถ้าตนได้รับเลือกเป็นเลขาฯ สปสช. ก็จะเงียบไป แต่ถ้าไม่ได้ จะร้องเรียนประเด็นกรรมการสรรหาขาดคุณสมบัติ ป่วนเพื่อล้มการเลือกเลขาฯ คนใหม่ให้ได้ และระหว่างนั้น ก็อาจมีคลิปเสียงหรือภาพพร้อมเสียงของการต่อรองที่เชียงใหม่ออกมา เพื่อแบล็คเมล์นักการเมืองระดับสูงที่อยู่ในบอร์ด สปสช. ท่านนั้น เป็นขั้นที่สอง ทำให้ต้องล้มการเลือกเลขา สปสช. คนใหม่ครั้งนี้ จนกว่าตนจะได้เป็นเลขาฯ สปสช. รอบสองให้จงได้ ถ้าอยากทราบรายละเอียด ก็ถามได้จากคนสนิทรอบตัวอดีตเลขา สปสช. ซึ่งอาจจะอยู่ในก๊วนกอล์ฟเดียวกัน จึงขอเรียนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ทบทวนกรรมการสรรหาให้ถูกต้อง และระมัดระวังการเลือกเลขาฯ สปสช. ครั้งนี้ ต้องโปร่งใส เพราะขณะนี้ มีผู้ทราบข่าวได้จับตามองอยู่อย่างใกล้ชิด ถ้าพลาดพลั้ง อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ ลุกลามไปชนิดที่อาจคาดไม่ถึง
               จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดำเนินการต่อไป
                                                                                                                                                                                  ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
                                 แพทย์หญิงประชุมพร  บูรณ์เจริญ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
กระบวนการสรรหาเลขาธิการสปสช.คนใหม่ไม่โปร่งใส

เนื่องจากขณะนี้กำลังมีการ"สรรหา"ผู้ที่จะมาเป็นเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ" (เลขาธิการสปสช.) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่งมาแล้ว 4 ปี โดยเลขาธิการสปสช.เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการของสำนักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงาน
วิธีการคัดเลือกก็คือให้มีการจัดตั้งกรรมการ สรรหา 5 คน คัดเลือกผู้สมัครจากทั้งหมด 7 คน ให้เหลือ 3 คน แล้วให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 30 คนเป็นผู้ลงคะแนนว่าจะเลือกคนใดคนหนึ่งใน 3 คนนี้ มาเป็นเลขาธิการสปสช.

     ในการสมัครเข้ารับการสรรหาเพื่อเป็นเลขาธิการสปสช.ในครั้งนี้นพ.วินัย สวัสดิวร( ผู้ซึ่งเพิ่งพ้นตำแหน่งการเป็นเลขาธิการสปสช.เนื่องจากดำรงตำแหน่งมาครบ 4 ปีแล้ว)  ได้สมัครเข้ารับการสรรหาเพื่อเข้ารับตำแหน่งอีกเป็นสมัยที่ 2
และนพ.วินัยฯคนนี้ได้ประกาศกับคนใกล้ชิดว่า  เขามั่นใจ ถึง 95%ว่าจะได้เป็นเลขาธิการฯอีก 1 สมัย และนัดเพื่อนให้เตรียมเลี้ยงฉลองไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่นพ.วินัยฯคนนี้ มีความบกพร่องในการบริหารสปสช.มาตลอดและทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบการ สาธารณสุขอย่างใหญ่หลวง ตามที่เกิดขึ้นตลอด 4 ปีที่ผ่านมาดังนี้

1.มีพฤติกรรมการบริหารจัดการที่ผิดพลาด อย่างใหญ่หลวง 7 ประเด็น ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน((ที่เป็นสำนักงานการตรวจสอบของชาติ) ได้ชี้ประเด็นความผิดถึง 7 ประเด็น(ตามเอกสารที่ส่งมาด้วย)แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสธ.(นายวิทยา บุรณศิริ)ไม่ได้จัดการดำเนินการต่อเพื่อลงโทษตามที่ควร        และควรให้ออกจากตำแหน่งและตั้งกรรมการสอบสวนเอาโทษเพื่อไม่ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเสียหายมากไปกว่านี้ พฤติกรรมอันนี้ น่าจะบ่งชี้ได้ว่า นพ.วินัยฯคงนำเอาเงินกองทุนหลักประกันฯ(ซึ่งควรจะส่งให้โรงพยาบาลใช้ในการ รักษาผู้ป่วย)  เอาไปให้รัฐมนตรีใช้จ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ยอมส่งเงินเหล่านี้ไปให้โรงพยาบาลเต็มจำนวน ส่งผลให้โรงพยาบาลขาดเงินในการดำเนินการรักษาผู้ป่วย
   
2. ในการสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นเลขาสปสช.ครั้งนี้ นพ.วินัยฯได้พูดกับเพื่อนๆในวงก๊อล์ฟว่าได้เสนอเงิน 3,000 ล้านบาทให้แก่นายวิทยารมว.สธ. ถ้าเขาได้เป็นเลขาธิการในครั้งนี้ และได้สัญญาว่าจะมีเงินก้อนต่อๆ อีกหลายก้อน ให้นายวิทยาอีกต่อไป
               
3.นพ.วินัยฯได้ให้นายนิมิตร์  เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเป็นหนึ่งในกรรมการสรรหา ไปยื่นเรื่องให้กฤษฎีกาตีความว่า ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข 2คน      ที่สมัครเข้ารับการสรรหาคราวนี้ เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือในคุณสมบัติของผู้สมัครสองคนนี้ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า ทั้งสองคนนี้ไม่ได้มีคุณสมบัติที่เป็นการขัดต่อการเป็นเลขาธิการสปสช.เลย และกรรมการกฤษฎีกาก็ไม่รับตีความ แต่นายนิมิตร์ก็ไม่กล่าวถึงกรณีนี้อีกเลย
                 
4. นพ.วินัย สวัสดิวร เป็นคนสำคัญในการกำหนดวิธีการรักษาผู้ป่วย โดยใช้"เงินทุน" เป็นศูนย์กลางในการกำหนดรายการยาและวิธีการรักษาผู้ป่วย จนนำไปสู่ความเสียหายแก่ผู้ป่วยอย่างมากมายมหาศาล เช่นการกำหนดการรักษาโรคไตวายจนทำให้ผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษามีอาการ รุนแรงและแทรกซ้อน จนทำให้มีอัตราตายเฉลี่ย 40% ทั้งประเทศ และในบางศูนย์มีอัตราตายถึง 100% แต่นพ.วินัยฯและนพ.วิชัย โชควิวัฒน์(ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมในขณะนั้น) ได้ทำการทุจริตเรื่องการซื้อน้ำยาล้างไตที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ได้ส่วนแบ่งกำไรมหาศาลแต่เกิดผลเสียหายต่อผู้ป่วย โดยไม่เกรงกลัวบาปกรรม และยังไม่เคยแก้ปัญหาเกล่านี้ หรือตอบคำถามทางวิชาการแต่อย่างใด
             
5 การที่นายวิทยาฯสามารถให้การรับรองกับนพ.วินัยฯว่าจะได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสปสช.อีกสมัยนั้น เท่ากับนายวิทยาฯสนับสนุนให้คนที่ทุจริตคิดแสวงหาผลประโยชน์บนความเจ็บป่วย ทุกข์ยากของประชาชน ได้กระทำความผิดต่อไปอีก แสดงว่านายวิทยาฯคงหวังจะได้ "ส่วนแบ่ง" จำนวนมหาศาลจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ด้วย
               
6. ยังมีเรื่องความผิดอีกมากมายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่สมาชิกสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และบุคลากรสาธารณสุขในฐานะผู้ปฏิบัติงานมีความห่วงใยว่า ระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทย ที่องค์สมเด็จพระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งวงการแพทย์ไทย ได้ทรงอุปถัมภ์ค้ำชูและทรงส่งเสริมทะนุบำรุงมาอย่างยาวนาน จะถอยหลังเข้าคลอง ขาดมาตรฐาน ขาดการพัฒนาและทะนุบำรุง จนจะถึงกาลล่มสลาย เนื่องจากการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในรอบ 10ปีที่ผ่านมา มีแต่ปริมาณผู้ป่วยที่มากขึ้น แต่อัตราป่วยและอัตราตายไม่ได้ลดลงเลย ประชาชนไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการ ป้องกันโรคและอุบัติเหตุได้ เนื่องจากรัฐบาลมีแต่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไปรับการบริการฟรีตลอด เวลา แต่จัดสรรเงินให้โรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อการทำงานดูแลรักษาประชาชน ทำให้คุณภาพการรักษาของประชาชนในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องรับ ภาระการรักษาผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพเลวลง ทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนตกต่ำลง แต่ผู้บริหารกองทุนกลับฉ้อฉลเอาเงินที่ควรจะดูแลรักษาประชาชนไปเป็นผล ประโยชน์ส่วนตน

ช่างน่าเศร้าเสียใจแทนประชาชนคนไทยเป็นยิ่งนัก

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบยัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
6 เมษายน 2555


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
การสรรหาเลขาธิการสปสช.คนใหม่

ตามปกติแล้วการสรรหาเลขาธิการสปสช.มักจะไม่ตกเป็นข่าวใหญ่ที่อยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนเท่าใดนัก เนื่องจากเลขาธิการสปสช.คนแรกคือนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ก็เป็นคนที่เสนอโครงการให้นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงสุดารัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็รับมอบนโยบายและรู้ว่าจะต้องให้คนๆนี้แหละมาทำงานเป็นหัวหน้าบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  ซึ่งนพ.สงวนฯ เลขาธิการคนแรกก็ไม่ทำให้นายกฯและรมว.สธ.ผิดหวัง สามารถบริหารสปสช.ให้ประชาชนชื่นชอบจนทำให้พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงถล่มทะลายกลับมาเป็นรัฐบาลในสมัยที่ 2 อีก แม้ในเวลาต่อมาหลังการรัฐประหาร จะมีรัฐบาล
คมช.มาบริหารประเทศ แต่นพ.มงคล ณ สงขลารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นหมอในกลุ่มชมรมแพทย์ชนบท ก็ได้สนับสนุนให้นพ.สงวน ฯ เป็นเลขาธิการสปสช.เป็นสมัยที่ 2

  เมื่อนพ.สงวนฯเสียชีวิตในระหว่างดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 นพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสปสช.ก็ได้รับตำแหน่งต่อมา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการเต็มตัวจากการคัดเลือกของกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในสมัยนั้น  ซึ่งนพ.วินัย สวัสดิวร ก็ได้ดำรงตำแหน่งมาจนครบวาระ 5 ปี ในเดือนมีนาคมนี้ และได้มีการรับสมัครเพื่อสรรหาเลขาธิการคนใหม่

   นอกจากการสรรหาและแต่งตั้งเลขาธิการสปสช.จะไม่ได้เป็นข่าวใหญ่ในสังคมแล้ว การเลือกกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็ไม่ค่อยตกเป็นข่าวใหญ่เหมือนในปีนี้เช่นเดียวกัน เราจะได้ทราบข่าวก็ต่อเมื่อมีการประกาศแต่งตั้งกรรมการหลักประกันฯและเลขาธิการสปสช.แล้วเท่านั้น

   ถ้าเราไปตรวจดูรายชื่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่า เป็นกลุ่มของ “สมาชิกชมรมแพทย์ชนบท” และกลุ่ม NGO สาธารณสุขและกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค เป็นส่วนใหญ่ และกลุ่มคนเหล่านี้ต่างก็ร่วมมือประสานในการทำงานกันมาตลอดระยะเวลา 10ปี ในการมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  โดยการเป็นกรรมการและอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพฯคนละหลายๆคณะ
  เรียกว่าการบริหารสำนักงานและการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตกอยู่ภายใต้การ “กุมบังเหียน” ของกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทและกลุ่ม NGO สาธารณสุขมาตลอด 10ปีที่ผ่านมา

  แต่ในปีนี้เป็นปีครบวาระของการเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพมา 2 สมัยติดต่อกันของแพทย์กลุ่มเดิม คนกลุ่มนี้ไม่สามารถจะมาดำรงตำแหน่งกรรมการหลักได้อีก ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้มีข่าวใหญ่โตจากชมรมแพทย์ชนบท และกลุ่ม NGOสาธารณสุข ที่เคยเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติติดต่อกันมาตลอดว่า มีกลุ่มก๊วนต่างๆที่จ้องจะล้มหลักประกันสุขภาพ หรือมีกลุ่มที่จะยึดกุมอำนาจในการบริหารสปสช. มีข่าวการประท้วงการแต่งตั้งกรรมการหลักประกันอย่างต่อเนื่อง กว่าจะลงตัวได้ก็เสียเวลาทำงานไปหลายเดือน  และมีอดีตกรรมการหลักประกันคนหนึ่งคือนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ที่ได้รับยกย่องว่าเป็น “พี่ใหญ่ชมรมแพทย์ชนบท” ซึ่งเคยเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมา 2 สมัยติดต่อกันแล้ว ได้พยามยามที่จะรักษาสถานภาพของการเป็นกรรมการหลักประกันอีกครั้ง โดยการเปลี่ยนตำแหน่งจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มาเป็นกรรมการในกลุ่มผู้แทนองค์กรเอกชนแทน

  ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ควรจะต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบคุณสมบัติของกรรมการท่านนี้ว่าสามารถเป็นกรรมการได้อีกครั้งหรือไม่? เพราะถึงจะย้ายสังกัดที่มาของกรรมการแล้ว แต่ความจริงก็คือคนๆเดียวกันนั่นเอง

  ส่วนการสรรหาเลขาธิการสปสช.นั้น ก็มีผู้สนใจมาสมัครเป็นกรรมการถึง 9 คน  โดยมีข้าราชการระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขมาสมัครถึง 3 คน และที่สำคัญมีเลขาธิการคนปัจจุบันมาสมัครเข้ารับการสรรหาเพื่อจะกลับมาเป็นเลขาธิการสมัยที่ 2 ด้วย

  มีกรรมการสรรหาคนหนึ่งคือนายนิมิต เทียนอุดม ได้ไปยื่นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า ข้าราชการระดับสูง 3 คนที่มาสมัครเข้ารับการสรรหานั้น มีคุณสมบัติขัดกับกฎหมายที่จะมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช.หรือไม่ เพราะอ้างว่าเป็นคู่สัญญากับสปสช.

  ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว การที่กฎหมายห้ามไม่ให้ผู้จะมาเป็นเลขาธิการสปสช.ไม่เป็นคู่สัญญากับสปสช.ก้เพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ส่วนตนทับซ้อนกับสปสช.เพื่อป้องกันมิให้มาแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบจากสปสช. ซึ่งในตำแหน่งข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขระดับบริหาร คงไม่อยู่ในข่าย “คู่สัญญา” ซึ่งจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสปสช.อย่างแน่นอน จึงเชื่อว่าคณะกรรมการกฤษฏีกาคงจะมีมติไปในทางที่เป็นคุณกับผู้สมัครทั้ง 3 คนนี้อย่างแน่นอน

 แต่ประชาชนหลายคนที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสปสช.อย่างใกล้ชิดในระยะ 5-6เดือนมานี้ คงจะเกิดความสงสัยเหมือนผู้เขียนว่า นพ.วินัย สวัสดิวรได้ถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ชี้ความผิดในการบริหารสำนักงานและการบริหารกองทุน 7 ประเด็น และนายวิทยา บุรณะศิริได้ตั้งกรรมการสอบสวนตามที่สตง.ชี้มูลแล้ว ยังไม่ปรากฏผลการสอบสวนของคณะกรรมการชุดนี้ที่มีนายกายสิทธิ์  พิศวงปราการอดีตอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา นั่งประธานสอบทุจริต สปสช. ว่านพ.วินัย สวัสดิวร มีความผิดตามที่สตง.ชี้มูลหรือไม่ /อย่างไร

  นอกจากนี้ การบริหารกองทุนโรคไตที่สปสช.ได้กำหนดให้ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายทุกคนต้องเริ่มการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องก่อน จนทำให้มีข่าวว่าผู้ป่วยได้รับผลร้ายจากการรักษาด้วยวิธีนี้จนมีอัตราตายเฉลี่ย 40% และจากการไปชี้แจงต่อกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภาของนพ.ดำรัส โรจนเสถียร อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ได้กล่าวว่าในโรงพยาบาลบางแห่ง ผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาแบบนี้ตายหมดทุกคนในเวลาอันไม่สมควร(อัตราตาย 100%) เพื่อขอให้ยุติการ “กำหนดให้ผู้ป่วยไตวายทุกคน”ต้องเริ่มต้นรับการรักษาด้วยการล้างไตทางหน้าท้อง

  ฉะนั้นจึงมีคำถามว่า การจะเลือกนพ.วินัย สวัสดิวร ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช.ที่ยังมี “คำถาม” เรื่องประเด็นการบริหารสำนักงานและบริหารกองทุนที่ผิดพลาด ก่อให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดิน และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตผู้ป่วย กลับมาเป็นเลขาธิการสปสช.อีกสมัยหนึ่ง จะทำให้เกิดความผิดพลาดเสียหายแบบเดิมอีกหรือไม่?
 คณะกรรมการสอบสวนที่นายวิทยา บุรณะศิริตั้งขึ้นมา ควรจะเร่งการตรวจสอบให้ได้ผลโดยเร็ว และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ควรตรวจสอบการรักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่สปสช.กำหนดเช่นนั้นว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่/อย่างไร ก่อนที่จะมีการเลือกคนที่ยังมีข้อกล่าวหามาทำงานรับผิดชอบบริหารสปสช.อีกวาระหนึ่ง

เอกสารอ้างอิง:
1.ไม่จบง่ายๆ สตง.เล็งตรวจสอบขบวนการจัดซื้อจัดจ้างสปสช.
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1324794953   
2. ผ่าเม็ดเงินสปสช.54.2 ล้านจ้างที่ปรึกษา 6 แสน ชะนวนสตง.ฟัน “บริหารบกพร่อง”http://www.prasong.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/542-6/
3. วิทยาทาบ “กายสิทธิ์”. สอบทุจริตสปสช.
http://www.thaipost.net/news/101211/49413

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
20 มี.ค. 55

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีเรื่องการเลือกเลขาธิการสปสช.ไม่สุจริตเที่ยงธรรม

7 เมษายน 2555

เรื่อง ข่าวการเจาะจงเลือกนพ.วินัย สวัสดิวร มาเป็นเลขาธิการสปสช.เป็นสมัยที่ 2
เรียน นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
สิ่งที่ส่งมาด้วย    1. จดหมายจากพญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ถึงนายวิทยา บุรณะศิริ
                    2.บทความเรื่องการสรรหาเลขาธิการสปสช.คนใหม่ไม่โปร่งใส

  เนื่องจากดิฉันได้ทราบข่าวจากกรรมการสรรหาเลขาธิการสปสช.คนหนึ่งใน 5 คนว่า รมว.สธ.ได้สั่งให้กรรมการสรรหาทุกคนเลือกนพ.วินัย สวัสดิวร มาเป็นเลขาธิการสปสช.คนใหม่ ทั้งๆที่นพ.วินัยฯเป็นผู้บริหารสำนักงานและรับผิดชอบการบริหารกองทุนที่เกิด ความเสียหายเป็นที่ประจักษ์ กล่าวคือ ไม่ส่งเงินกองทุนให้แก่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขอย่างครบถ้วน ส่งเงินล่าช้าแบ่งเอาเงินไปทำโครงการรักษาโรคเฉพาะ และเอาเงินไปซื้อยาและเวชภัณฑ์เอง (ทั้งๆที่ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของสปสช.)  โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากองค์การเภสัชฯเป็นเงินหลายร้อยล้านบาท  นอกจากนี้แล้วนพ.วินัยฯยังเป็นคนที่คอยรับคำสั่งจากนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ กรรมการหลักประกันสุขภาพคนหนึ่ง ในการสั่งซื้อยา เครื่องมือแพทย์และน้ำยาล้างไต ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยจนทำให้ผู้ป่วยที่ต้องรับน้ำยาล้างไตจาก สปสช.ได้รับผลเสียหาย เกิดโรคแทรกซ้อนมากมายและทำให้ผู้ป่วยมีอัตราตายเฉลี่ยสูงถึง 40 % และบางศูนย์(การรักษา)ก็ทำให้ผู้ป่วยตายถึง 100% ซึ่งเอกสารเกี่ยวกับอัตราตายของผู้ป่วยนี้ นพ.ดำรัส โรจนเสถียรได้ยื่นให้แก่กรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 แล้ว ท่านสามารถไปหาดูได้

  นอกจากนี้กลุ่มของนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ได้แก่กลุ่มเอ็นจีโอสาธารณสุขที่เคยเป็นและยังเป็นกรรมการหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ  รวมทั้งกลุ่มชมรมแพทย์ชนบท ยังได้ออกมา"ป่วน"การทำงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพชุดนี้ที่นายวิทยา บุรณะศิริ เป็นประธานคณะกรรมการตลอดมา เช่นการตั้ง "กลุ่มรักหลักประกันสุขภาพ" ออกมากล่าวหารัฐมนตรีว่าเป็นกลุ่มการเมืองที่จ้องหาผลประโยชน์ จ้องจะล้มหลักประกันสุขภาพ และโจมตีไม่ให้เก็บเงินประชาชน 30 บาท ตามที่รัฐมนตรีประกาศในตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่ รวมทั้งกรรมการหลักประกันหลายคนในกลุ่มนี้ เช่นนายนิมิตร์ เทียนอุดม ประท้วงไม่เข้าประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพหลายครั้ง เพื่อไม่ให้รัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ และโจมตีผู้ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งป็นกรรมการจนต้องลาออก หรือไม่ยอมรับตำแหน่ง เช่นนางวารุณี หงส์ประภาส และนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ และมีเรื่องอื่นๆต่อเนื่องอีกมากมาย ทำให้รัฐมนตรีไม่สามารถนำนโยบายที่พรรคเพื่อไทยประกาศไว้มาดำเนินการได้

  แต่บัดนี้ นายวิทยา บูรณะศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่วงชาติ ยังจะเลือกนพ.วินัย ลูกน้องในโอวาทนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ มาเป็นเลขาธิการสปสช.ต่ออีก 4 ปี จึงน่าสงสัยว่ารัฐมนตรีกำลังวางแผนที่จะรับสินบนจากเงินกองทุนหลักประกัน สุขภาพตามที่มีข่าวว่า นพ.วินัยฯไปปล่อยข่าวว่าเขามีความมั่นใจ 95%ว่าจะได้เป็นเลขาธิการสปสช.อีก 1 สมัย เพราะได้สัญญาว่าจะให้เงินรัฐมนตรี 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจยิ่งนัก ที่คนเหล่านี้หาผลประโยชน์จากเงินที่ควรจะเอาไปให้การดูแลรักษาประชาชนผู้ เจ็บป่วยและเดือดร้อน เป็นการทำร้ายประชาชนที่บริสุทธ์โดยไม่ละอายแก่บาป เนื่องจากเงินเหล่านี้ควรจะส่งให้โรงพยาบาลที่ทำการดูแลรักษาประชาชนผู้ เดือดร้อน
นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ยังเคยมีประวัติทุจริตน้ำมันหลวหลายร้อยครั้ง ยังเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์การเภสัชกรรมที่มีการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ด้างคามาจนถึงปี 20012 แล้วก็ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนได้ แต่เบิกเงินงบประมาณแผ่นดินไปกี่ร้อยกี่พันล้านแล้ว?และประเด็นอื่นๆอีกมาก

   จึงขอให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการยับยั้งการกระทำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขโดยด่วน และเร่งรัดให้สอบสวนเรื่องความเสียหายแก่ประชาชนจากการบริหารกองทุนหลัก ประกันสุขภาพโดยด่วน ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งเลขาธิการคนเดิมที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ความสุจริตและ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน จนทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขขาดสภาพคล่องทางการเงิน ขาดอาคารสถานที่และเตียงที่จะรองรับผู้ป่วย และขาดมาตรฐานในการทำงานจนเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและสุขภาพของประชาชนดัง ที่ยกตัวอย่างมาและที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอีกมากมาย โดยที่ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  การแก้ไขปัญหานี้ เท่ากับเป็นการทำกุศลแก่ประชาชน 48 ล้านคน ที่จะได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน มีสุขภาพดี ไม่เกิดผลเสียหายหรือตายจากการรักษาที่ขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ที่เหมาะสมทั้งนี้เนื่องจากการฉ้อฉลเงินกองทุนหลัก ประกันสุขภาพ  ถ้าไม่มีการฉ้อฉลก็จะมีเงินเพียงพอมารักษาประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ขอแสดงความนับถือ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติของกรรมการสรรหาเลขาธิการสปสช.ด่วน

29 มี..ค.. 2555
เรื่อง ขอให้พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของกรรมการสรรหาเลขาธิการสปสช.
เรียน นายวิทยา บุรณะศิริ ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สิ่งที่ส่งมาด้วย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.20/2545 หมายเลขแดงที่ อ.4/2546

  ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการตั้งกรรมการสรรหาเลขาธิการสปสช.คนใหม่ ทั้งนี้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ตั้งคณะกรรมการสรรหาจำนวน 5 คน ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 31 ซึ่งกรรมการสรรหาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32(1) (3) (4) (5) (6) (9) (10) (11) (12) นั้น

   จากการตรวจสอบรายชื่อกรรมการสรรหา พบว่ามีกรรมการสรรหา 1 คน คือนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเช้าถึงเอดส์ น่าจะมีคุณสมบัติขัดแย้งกับมาตรา 32 (12) กล่าวคือนายนิมิตร์ เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลและอาจเป็นคู่สัญญากับสำนักงานเลขาธิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยการได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิ หรือมีประโยชน์ได้เสียกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันอาจเข้าข่ายเป็นกรรมการสรรหาที่มีเหตุซึ่งมีสภาพร้ายแรง หรือมีผลประโยชน์(ส่วนตน)ทับซ้อนจากการได้รับเงินสนับสนุนจากสปสช. หรือเป็นคู่สัญญากับสปสช. ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาคัดเลือกเลขาธิการสปสช.ซึ่งเป็นการพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง และก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ผู้สมัครเข้ารับการสรรหา และผู้สมัครเป็นเลขาธิการสปสช.ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก อาจนำผลการคัดเลือกนี้ไปฟ้องร้องศาลปกครอง เพื่อให้ยกเลิกเพิกถอนมติกรรมการสรรหาได้ ตามคดีตัวอย่างดังที่ส่งมาด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ภาระหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเกิดความล่าช้าต่อการทำงานบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันจะส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อประชาชนและโรงพยาบาลที่ต้องรักษาประชาชนต่อไป

   จึงเรียนมาให้ประธานและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของนายนิมิตร์ เทียนอุดม ว่าขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32(12) หรือไม่/อย่างไร และรีบชี้แจงความจริงให้กระจ่างโดยเร็ว เพื่อความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม ในการดำเนินการสรรหาเลขาธิการสปสช.ต่อไป
ขอแสดงความนับถือ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา (ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์พลเมือง)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 เมษายน 2012, 18:40:59 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
“รพ.-แพทย์” สังกัดกระทรวงสาธารณสุขขึ้นป้าย เรียกร้องเลือกเลขาสปสช.คนใหม่ 11 เมษา “ไม่เอาคนมีปัญหา”

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2555 ซึ่งเป็นวันจักรีและเป็นหยุดราชการ แต่มีการประชุมคณะกรรมการสรรหาเพื่อคัดเลือกเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปรากฏว่ามี 3 คนที่ผ่านการคัดเลือกได้แก่ 1. นพ.วินัย สวัสดิวร(อดีตเลขาสปสช.คนล่าสุด) 2.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล 3.นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ ล่าสุดนายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ระบุว่าจะมีการคัดเลือกให้เหลือเพียง 1 คน ในวันที่ 11 เมษายน 2555 นี้

ก่อนและหลังจากที่มีข่าวนี้ออกมาทางกลุ่มสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. และกลุ่มประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์พลเมืองได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการถึงนายวิทยา บูรณศิริ เพื่อให้มีการคัดเลือกเลขาสปสช.คนใหม่ อย่างรอบคอบ เลือกคนดี มีจริยธรรม คุณธรรมและมีคุณภาพ อย่าเลือกคนที่ทุจริตคดโกง และไร้คุณธรรม เพราะเลขาสปสช.เป็นผู้บริหารเงินกองทุนสปสช.กว่า 1 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตามหนังสือร้องเรียนดังกล่าวได้มีข้อท้วงติงในหลายประเด็นสำหรับผู้สมัครเลขาธิการสปสช. โดยเฉพาะกรณีนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาสปสช.ที่เพิ่งหมดวาระไป ซึ่งถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ได้สรุปการตรวจสอบประเมินผลสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2554 ระบุจากผลการตรวจสอบการใช้งบบริหารของสปสช.เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 พบว่าการบริหารจัดการยังไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมในหลายประเด็นได้แก่

1.การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้องและไม่ประหยัด

2.การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์กำหนด

3.การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงินสวัสดิการเป็นการไม่เหมาะสม

4.การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานไม่เป็นไปตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545

5.ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

6.การใช้จ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในพ.ร.บ.หลักประกันสุภาพแห่งชาติ และ

7.การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รายงานงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เป็นไปตามคู่มือที่กำหนด(อ่านเพิ่มเติม สตง.ตรวจสอบการดำเนินงานสปสช.ระบุไม่โปร่งใส ใช้งบสุขภาพถ้วนหน้า เหมาจ่ายรายหัวผิดประเภทเกือบ 100 ล้าน)

จากที่สำนักข่าวไทยพับลิก้าได้ติดตามเรื่องนี้ทางเลขาธิการสปสช.ได้ทำหนังสือชี้แจงไปยังสตง.แล้วและได้เดินทางไปหารือกับผู้อำนวยการสตง.( อ่านเพิ่มเติม)แต่ในกระบวนการสอบสวนของหัวหน้างานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด ซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินพ.ศ.2542 มาตรา 46

ทั้งนี้ทางพญ. ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์ รพศ./ รพท. แห่งประเทศไทยกล่าวถึงสาเหตุที่ออกมาร้องคัดค้านเรื่องนี้ว่า “เราไม่ต้องการคนมีปัญหามาเป็นเลขาฯ สปสช.” และประโยคนี้จะถูกขึ้นป้ายหน้าโรงพยาบาลทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 10 เมษายน 2555 นี้ เพราะนี่คือสิ่งที่ผู้ให้การรักษาคนไข้ ทั้งกระทรวงสาธารณสุขเห็นตรงกันเป็นเอกฉันท์ และต้องการให้ท่านประธาน(รมต.สาธารณสุข)และกรรมการ สปสช.ได้ทราบและพิจารณาให้รอบคอบ โปร่งใส เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้สมัครทั้ง 3และให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ถือบัตรทอง และผู้ให้การรักษาทั้งประเทศ เพราะพวกเราต้องรับผลจากการกระทำของเลขาฯ แต่ละคนถึง 4 ปี จึงขอร้องคณะกรรมการ โปรดให้ความเป็นธรรมพวกเราด้วย กรุณาเลือกเลขาฯ สปสช. อย่างรอบคอบ ไม่รีบร้อน เพราะการรีบร้อนอาจจจะพลาด มีปัญหายืดเยื้อเรื้อรังในอนาคตได้”

ส่วนพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.) ได้ทำหนังสือถึงนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอีกฉบับ โดยระบุว่าตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่าคณะกรรมการสปสช.มีการตั้งกรรมการสรรหาเลขาธิการสปสช.คนใหม่ จำนวน 5 คน ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 31 ซึ่งกรรมการสรรหาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32(1) (3) (4) (5) (6) (9) (10) (11) (12) นั้น

จากการตรวจสอบรายชื่อกรรมการสรรหา พบว่ามีกรรมการสรรหา 1 คน คือนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ น่าจะมีคุณสมบัติขัดแย้งกับมาตรา 32 (12) กล่าวคือนายนิมิตร์ เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลและอาจเป็นคู่สัญญากับสปสช. โดยการได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิ หรือมีประโยชน์ได้เสียกับสปสช. อันอาจเข้าข่ายเป็นกรรมการสรรหาที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการได้รับเงินสนับสนุนจากสปสช. หรือเป็นคู่สัญญากับสปสช. ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาคัดเลือกเลขาธิการสปสช. เป็นการพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง และก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาและผู้สมัครเป็นเลขาธิการสปสช.ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก อาจนำผลการคัดเลือกนี้ไปฟ้องร้องศาลปกครอง เพื่อให้ยกเลิกเพิกถอนมติกรรมการสรรหาได้ ตามคดีตัวอย่างดังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.20/2545 หมายเลขแดงที่ อ.4/2546 ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ภาระหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเกิดความล่าช้าต่อการทำงานบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันจะส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อประชาชนและโรงพยาบาลที่ต้องรักษาประชาชนต่อไป

จึงขอให้ประธานและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของนายนิมิตร์ เทียนอุดม ว่าขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32(12) หรือไม่/อย่างไร และรีบชี้แจงความจริงให้กระจ่างโดยเร็ว เพื่อความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม ในการดำเนินการสรรหาเลขาธิการสปสช.ต่อไป

แหล่งข่าวจากรรมการสปสช.กล่าวว่าต่อเรื่องนี้ทางนายวิทยาได้สั่งการให้ฝ่ายกฏหมายตรวจสอบข้อมูลแล้ว ซึ่งฝ่ายกฎมายได้แจ้งว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามูลนิธิเข้าถึงเอดส์ไม่ได้ทำสัญญาใดๆกับสปสช.

“จากข้อมูลที่ทราบกันในสปสช.ว่ามูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ได้รับการสนับสนุนเงินจากสปสช.มาต่อเนื่อง แต่ตอนนี้ทางกรรมการสปสช.ไม่สามารถขอดูเอกสารหรือข้อมูลใดๆจากเจ้าหน้าที่สปสช.ได้เลย หากจะให้ดูก็ไม่มีรายละเอียดตามที่ขอ และมีข้ออ้างมากมาย โดยเฉพาะตัวเลขการใช้จ่ายต่างๆ กรณีของนายนิมิตร์ก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นที่ทราบกันดีกว่ามูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ที่นายนิมิตร์เป็นผู้อำนวยการอยู่นั้นได้รับการสนับสนุนจากสปสช. ทางผู้ท้วงติงจึงมองว่าน่าจะขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสรรหาตามมาตรา32(12)”แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ในหนังสือดังกล่าวยังกล่าวถึงกระแสข่าวลือที่ว่านายวิทยาได้รับการเสนอเงินจำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อเลือกคนที่มีปัญหาการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาเป็นเลขาธิการอีกวาระหนึ่ง

นอกจากนี้หนังสือร้องเรียนดังกล่าวได้ระบุถึงรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขและรายงานจากการสัมมนาของกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภาเมื่อวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2554 ได้ระบุว่าโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมีปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข ได้แก่

1.ขาดแคลนงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขประสบภาวะขาดทุนมากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนโรงพยาบาลทั้งหมด และมีอีกหลายโรงพยาบาลที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนไม่มีเครดิตพอที่บริษัทยาจะยอมส่งยามาให้ใช้ในการรักษาประชาชน และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข แทบจะไม่ได้รับงบประมาณในการพัฒนาอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย ยกตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ ผู้ป่วยต้องตระเวนหาเตียงนอนในโรงพยาบาลต่างๆจนเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ

2.ขาดกำลังคนในทุกสาขาวิชาชีพในด้านการแพทย์และสาธารณสุข ขาดบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทางในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย จนทำให้เกิดปัญหาในโรงพยาบาลระดับศูนย์การแพทย์/รพ.ทั่วไป/รพ.ชุมชน กล่าวคือจำนวนบุคลากรที่มีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วย ทำให้บุคลากรต้องทำงานหนัก จนเกิดความท้อถอยและลาออกไปหางานอื่นที่ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ส่งผลให้ภาระงานของบุคลากรที่เหลืออยู่ทำงานรับใช้ประชาชนยิ่งหนักหน่วงยิ่งขึ้นจนส่งผลให้บุลากรต้องทำงานมากเกินกำลัง เช่น พยาบาลทำงานติดต่อกัน 16 ชั่วโมง แพทย์ทำงานติดต่อกัน 24-32 ชั่วโมงจึงจะได้พัก ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้า ความเครียด และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และความเสียหายต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุคลากรเอง

3..ขาดงบประมาณในการพัฒนาอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้มีจำนวนเพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย ยกตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ ผู้ป่วยต้องตระเวนไปตามโรงพยาบาลต่างๆ เนื่องจากโรงพยาบาลหลายๆแห่ง มีผู้ป่วยนอนเต็มจนล้นเตียง ต้องนอนเตียงเสริม เตียงแทรก ปูเสื่อนอนตามหน้าบันได ที่ระเบียง หน้าห้องส้วม เป็นที่น่าอนาถยิ่งนัก

นี่คือข้อมูลต่างๆที่นำเสนอเพื่อให้นายวิทยา บูรณศิริ พิจารณาก่อนตัดสินเลขาธิการสปสช.คนใหม่

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ทางสปสช.ได้จัดงานครบรอบ 10 ปีสปสช.และการก้าวสู่ทศวรรษที่สอง ได้จัดให้มีการสัมมนา 2 วัน ในหัวข้อสัมมนา“หนึ่งทศวรรษหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: คนไทยได้อะไร” นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ รองเลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHOSNET) ได้เปิดเผยข้อมูลว่าจากการบริหารจัดการของสปสช.ที่ผ่านมา ส่งผลให้โรงพยาบาลรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขขาดทุนเป็นส่วนใหญ่ และหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่ความอ่อนแอของระบบบริการสาธารณสุขไทยในอนาคต เพราะโรงพยาบาลไม่มีเงินสร้างตึกใหม่ ซื้ออุปกรณ์ใหม่ รวมทั้งโรงเรียนแพทย์เองขาดการพัฒนาเพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยี่ใหม่ๆทางการแพทย์ รวมทั้งการเข้าถึงยาใหม่ๆด้วย

http://thaipublica.org  10 เมษายน 2012