ผู้เขียน หัวข้อ: เภสัชฯจ.บุรีรัมย์สั่งซื้อยาซูโดฯเกินแจ้ง  (อ่าน 1997 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
"ดีเอสไอ"พบเภสัชฯจ.บุรีรัมย์สั่งซื้อยาซูโดอีเฟดรีนเกินแจ้ง อย.กว่า 9 หมื่นเม็ด -ชนิดน้ำอีก1,500 ขวด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ตรวจสอบเภสัชกร รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ อ้างชื่อโรงพยาบาลซื้อยาซูโดอีเฟดรีน มาจำหน่าย ยอดสั่งซื้อยาซูโดฯ ชนิดเม็ดเกินตัวเลขที่รายงาน อย. 90,000เม็ด และชนิดน้ำอีก 1,500 ขวด ขณะเภสัชกร ปฏิเสธไม่ขอให้การในชั้นพนักงานสอบสวน จะให้การในชั้นสอบสวนของดีเอสไอ

ความคืบหน้ากรณีที่มีการตรวจพบว่า นายสมพงษ์  ตีรถะ เภสัชกร ปฏิบัติการโรงพยาบาลหนองกี่  อ.หนองกี่  จ.บุรีรัมย์ แอบอ้างชื่อโรงพยาบาลสั่งซื้อยาซูโดอีเฟดรีน มาจำหน่ายที่ร้านขายยาของตัวเอง

ล่าสุด จากการตรวจสอบข้อมูลของพนักงานสอบสวน สภ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ หลังจากที่นายแพทย์บุญโฮม แก้วชนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองกี่  ได้เข้าแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน

จากการตรวจสอบยอดการสั่งซื้อยาซูโดอีเฟดรีน ในปี 2554 ที่ผ่านมา พบว่ายอดการสั่งซื้อยาของโรงพยาบาลหนองกี่ ที่ทางโรงพยาบาลรายงานกับทางองค์การอาหารและยา (อย.)รายงานไม่ตรงกัน คือ อย.รายงานว่า ส่งยาให้โรง

"ดีเอสไอ"แบ่งงานสอบสวนคดีลักซูโดฯผลิตยาเสพติด

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) , สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) , สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) , สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน (พฐ.) ,กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และสถานีตำรวจภูธร 7 แห่ง ร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางการสอบสวนคดีการลักลอบนำยาแก้หวัดที่มีส่วนประกอบของซูโดอีเฟดรีนออกจากโรงพยาบาลเพื่อนำไปสกัดเป็นยาเสพติด
 
 นายธาริต กล่าว ภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมมีมติที่จะแบ่งการทำงานประกอบด้วยชุดปฏิบัติการตรวจสอบแต่ละท้องที่เกิดเหตุ ชุดสอบสวนหลัก และชุดสืบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริงและชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ ซึ่งจะเริ่มทำงานทันทีและจะเร่งขยายผลการตรวจสอบไปยังสถานพยาบาลของเอกชน โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจสอบสถานพยาบาลเอกชน เบื้องต้นพบว่ามีสถานพยาบาลเอกชนหลายแห่งเข้าข่ายพบความผิดปกติ ทั้งนี้ ที่ประชุมนัดหารือกันอีกครั้งใน 2 สัปดาห์หลังจากนี้เพื่อสรุปผลการทำงานภาพรวม

นายธาริต กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาฐานความผิดที่เกี่ยวกับคดีดังกล่าว พบว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6 ฉบับ ประกอบพ.ร.บ.ยา พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ร.บ.ฟอกเงิน และพ.ร.บ.มาตรการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  2 เมษายน 2555