ผู้เขียน หัวข้อ: คลังคุมเข้มค่ารักษา ขรก. เตรียมใช้มาตรการ 1 โรค 1 รพ.  (อ่าน 1381 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
คลังเตรียมใช้มาตรการหนึ่งโรคหนึ่งโรงพยาบาลสำหรับผู้มีสิทธิ์รักษาพยาบาลของราชการ ระบุ เพื่อให้เกิดการรักษาต่อเนื่องและช่วยป้องกันปัญหาการช็อปปิ้งยาเพื่อนำไปขายต่อ เชื่อช่วยประหยัดงบประมาณได้ถึง 8 พันล้านบาทในปีนี้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลังในฐานะกำกับดูแลกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างศึกษาถึงแนวทางการใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลของข้าราชการ และครอบครัว ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังและต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานถึงจะหาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันสูง เอดส์ และโรคเรื้อรังอื่นๆ โดยจะให้ผู้ป่วยที่เข้าข่ายลักษณะดังกล่าว ต้องระบุการใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลหนึ่งโรคในหนึ่งโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยสามารถเลือกโรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตาม หากการรักษาไม่ได้ผล หรือแพทย์ที่ดูแลคนไข้ เปลี่ยนโรงพยาบาลก็สามารถเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลได้ แต่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมบัญชีกลางว่า จะให้เปลี่ยนได้ใน 6 เดือน หรือ 1 ปีตามความเห็นของแพทย์ แต่สำหรับผู้ที่ป่วยโรคทั่วไป กล่าวคือ ไม่เรื้อรัง ก็ยังสามารถรักษาพยาบาลตามสิทธิ์ที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติแล้ว สำหรับที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังจะต้องแจ้งสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ที่เลือกนับตั้งแต่วันที่ต้องการรักษา โดยกรมบัญชีกลางจะเริ่มต้นโครงการนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป

นางสาวสุภา กล่าวต่อว่า เหตุที่กระทรวงการคลังต้องปรับแนวทางการมาเป็นหนึ่งโรคต่อหนึ่งโรงพยาบาล เนื่องจากต้อง การให้เกิดการรักษาโรคของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพราะแพทย์ที่รักษาจะรับทราบอาการของโรคและสามารถวิเคราะห์การรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมา มักจะประสบปัญหารักษาไม่หายขาด เนื่องจาก ผู้ป่วยเปลี่ยนโรงพยาบาลในการรักษาบ่อย นอกจากนี้ ยังป้องกันปัญหาการช็อปปิ้งยาเพื่อนำยารักษาโรคไปขายต่อของผู้ใช้สิทธิ์บางราย ซึ่งที่ผ่านมา ได้สร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่รัฐบาลค่อนข้างมาก

“การที่คนไข้เปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย ก็เท่ากับว่า เป็นหนูทดลองยาให้แก่โรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งบทวิจัยของหมอระบุชัดว่าโรคเรื้อรังที่รักษาก็จะไม่หายขาด จึงเห็นว่า คนไข้ควรจะมีหมอประจำตัวเพื่อทราบประวัติของคนไข้อย่างละเอียด ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาการช็อปปิ้งยาของผู้ที่ใช้สิทธิ์ ซึ่งที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางพบว่า มีการช็อปปิ้งยาตามโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อนำไปยาดังกล่าวไปขายต่อ หากนำมาตรการนี้มาใช้ ก็น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้”

นางสาวสุภา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ ปัญหาการช็อปปิ้งยาน้อยลง แต่ตนได้ให้นโยบายไปว่า ควรที่จะมีบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับผู้ที่กระทำการดังกล่าว โดยจะตัดสิทธิ์การรักษาพยาบาลกรณีที่คนในครอบครัวเป็นผู้กระทำและเพิ่มโทษ ให้จากปัจจุบันให้จ่ายเงินคืน เปลี่ยนเป็นโทษไล่ออกจากราชการ ซึ่งจะส่งผลตัดสิทธิ์ต่อบุคคลในครอบครัวด้วย โดยตั้งเป้าหมายว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของรัฐบาลได้ ประมาณ 8,000 ล้านบาท จากเป้าหมายรายจ่ายทั้งปีที่ 62,800 ล้านบาท ปี 2554 รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลจำนวน 601,000 ล้านบาท ส่วนปี 2553 มีค่าใช้จ่ายจำนวน 63,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขค่าใช้จ่ายจะมีแนวโน้มลดลง แต่ระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ยอดค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลปรับเพิ่มเฉลี่ย 20% ต่อปี

ไทยรัฐออนไลน์  23 มีค 2555

watesutt

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 26
    • ดูรายละเอียด
 
    นส.สุภา ปิยะจืตตื คงจะโชคดีที่อยู่กับครอบครัวได้ตลอดเวลา เลยไม่ได้นึกถึงกรณี ที่พ่อหรือแม่ ที่ต้องรับยาประจำตัวที่รพ.หนึ่ง และ จะต้องไปอยู่กับลูกหรือหลาน ในอีกที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นคนละจังหวัด ในช่วงเวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง ถ้าต้องเดินทางกลับมาเพียงแค่รับยา แล้วก็กลับไปอยู่กับลูกหลานอีก มันจะทรมานคนสูงอายุ หรือลูกหลานเกินไปหรือเปล่าครับ  ::) ::) ::)