ผู้เขียน หัวข้อ: เนื้อหาที่น่าจะนำเสนอความคิดเห็นกับร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายต่อสื่อมวลชน  (อ่าน 1742 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ข้อเสนอเนื้อหาที่น่าจะนำเสนอความคิดเห็นกับร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายต่อสื่อมวลชน

1.             แพทย์และบุคลากรทางด้านสาธารณสุขไม่ได้คัดค้านการที่ผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือเมื่อมีความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บ และจากกระบวนการรักษาพยาบาล

2.             บุคลากรทางด้านสาธารณสุขมีความเห็นว่าการช่วยเหลือเป็นเงินเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวเท่านั้น มิได้เป็นช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายในระยะยาว การช่วยเหลือที่ดีที่สุด คือ การทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุข หรือใกล้เคียงที่สุด ซึ่งการช่วยเหลือนี้ ได้แก่ การฟื้นฟูสุขภาพ การใช้กายอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์เทียม การฝึกอาชีพ เป็นต้น ซึ่งร่างพรบ.นี้เน้นการช่วยเหลือในรูปของเงินอย่างเดียวจึงไม่เหมาะสม

3.             นอกจากผู้ที่ได้รับความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บแล้วยังมีผู้ได้รับความเดือดร้อนและทุกข์ทรมานจากสาเหตุอื่นๆอีก ได้แก่ ผู้ได้รับบาดเจ็บจากภัยการจราจร ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอาชญากรรม จากการจราจร เป็นต้นซึ่งควรได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งการช่วยเหลืออาจเป็นการช่วยเหลือโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสังคมสงเคราะห์ โดยเป็นการช่วยครอบคลุมประชาชนผู้เดือดร้อนทุกคน ไม่เลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

4.             หากจะมีการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็ควรจะให้การช่วยเหลือโดยประเมินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น มิใช่ประเมินจากว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นหรือไม่ ความผิดร้ายแรงเพียงใดดังร่าง ถึงแม้ว่าร่างพรบ.นี้จะมีการเขียนว่าจะไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด แต่จริงๆแล้วเนื้อหาในร่างพรบ.นี้จะมีการจ่ายเงินให้ก็ต่อเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นเท่านั้นซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเพียงพอเพราะต้องใช้เวลาในการตัดสิน และอาจได้รับการช่วยเหลือไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

5.             คณะกรรมการที่จะตัดสินว่าบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทำผิดหรือไม่ตามร่างพรบ.นี้ส่วนใหญ่ จะไม่มีความรู้ทางด้านการแพทย์ และกฎหมาย ทำให้การติดสินไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและตามหลักกฎหมาย

6.             ดังนั้นถ้าตัดสินว่าบุคลกรทางด้านสาธารณสุขไม่ได้กระทำผิด ผู้ป่วยก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ แต่ถ้าตัดสินว่าบุคลากรทางด้านสาธารณสุขกระทำความผิดบุคลากรทางด้านสาธารณสุขก็ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะคณะกรรมการที่ตัดสินถูกผิดส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางด้านสาธารณสุข แต่ผลการตัดสินสามารถนำไปเป็นมูลฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลอาญา และอื่นๆได้

7.             กฎหมายนี้มีอคติต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุข เพราะแม้แต่ชื่อก็แสดงถึงการมองถึงบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในด้านอาฆาตมาดร้าย และเนื้อหาในร่างพรบ.นี้ก็มิได้ให้ความยุติธรรมต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุข

8.             บุคลากรทางด้านการแพทย์ซึ่งเสียสละตนเองเพื่อผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว มิควรถูกผลักภาระให้ต้องมารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ก่ออีกทั้งภาระทางด้านการเงินซึ่งต้องจ่ายให้กองทุนตามร่างพรบ.นี้ ภาระด้านความรับผิดชอบทางกฎหมาย ซึ่งการช่วยเหลือควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น

9.             บุคลากรทางด้านการแพทย์จะขาดขวัญและกำลังใจเพราะ ขาดความเชื่อมั่น ความมั่นใจ จนอาจไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ หรือแม้กระทั่งอาจลาออกจากราชการ หรือเปลี่ยนอาชีพจากทางด้านสาธารณสุขเลยก็เป็นได้

10.        ผู้ที่เสนอกฎหมายนี้อาจมีเงื่อนงำอย่างอื่นซ่อนอยู่ เพราะถ้าหากสามารถเข้าไปเป็นกรรมการในร่างพรบ.นี้ ซึ่งจะมีกองทุนอยู่จำนวนมหาศาล สามารถจะกำหนดเงินเดือน เงินตอบแทนอื่นๆ ได้เอง และสามารถนำเงินในกองทุนไปหาผลประโยชน์แอบแฝงอย่างอื่นได้

 พ.ภีศเดช