ผู้เขียน หัวข้อ: สถิติการแพทย์ไทยที่น่าสนใจ  (อ่าน 1728 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สถิติการแพทย์ไทยที่น่าสนใจ
« เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2010, 22:53:27 »
สถิติการแพทย์ไทยที่น่าสนใจ
ในการวางแผนจะคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการไปโรงพยาบาลอย่างไรดี

ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์และสาธารณสุขไทย กำลังมีประเด็นร้อนเรื่องการที่รัฐบาลและสส.รวมทั้งประชาชน ได้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและมีข่าวว่า ประชาชนอยากให้มีกฎหมายนี้ แต่ฝ่ายแพทย์ที่ออกมาให้ความเห็นว่า ยังไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนี้ ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ กลุ่มแพทย์เหล่านี้ ก็อาจจะถูกมองว่า ไม่อยากให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ผู้เขียน ได้ออกมาแสดงความ “ไม่เห็นด้วย” กับร่างพ.ร.บ.นี้ แต่ไม่ใช่ว่า พวกแพทย์ไม่อยก คุ้มครองประชาชน” แต่การคุ้มครองประชาชนก็ควรจะคุ้มครองทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ให้การรักษา และฝ่ายได้รับการรักษาด้วย

 ก่อนอื่นก็ขอทำความเข้าใจกับประชาชนว่า บุคลากรทางการแพทย์นั้น ทุกสาขาวิชาชีพ ต่างก็มีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพกำกับดูแลมากกว่าวิชาชีพอื่นๆ และมีสภาวิชาชีพ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของวิชาชีพนั้นๆ คอยกำกับดูแล และบังคับให้บุคลากรในการกำกับนั้น ปฏิบัติวิชาชีพอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพนั้นๆ ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ไม่ปฏิบัติตามกรอบของคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพแล้ว ก็ต้องได้รับโทษทัณฑ์จากสภาวิชาชีพ โดยไม่มีข้อยกเว้น  แต่ทำทในปัจจุบัน ในระยะแปดปีมานี้ มันเกิดอะไรขึ้นในวงการแพทย์ จึงทำให้มีการฟ้องร้อง /ร้องเรียนแพทย์เกิดขึ้นมากมาย ก็จะขอทบทวนว่า “เกิดอะไรขึ้นในวงการแพทย์บ้านเรา

  ภายในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา เกิดสิ่งใหม่ในวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย คือพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ที่ให้สิทธิแก่ประชาชน 46.9 ล้านคน ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกชนิด โดยจ่ายเงินเพียงครั้งละ 30 บาท และต่อมาในยุครัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ยกเลิกการเก็บเงินครั้งละ 30 บาท โดยนพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สธ.ในยุคนั้น อ้างว่า เสียเวลาลงบัญชี

แต่ผลพวงของระบบ 30 บาท(0 บาท) รักษาทุกโรคนี้ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย คือประชาชนไม่ต้องจ่ายเงินหรือมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างสุขภาพเลย แต่ไปเรียกร้องสิทธิ์การรักษามากขึ้น ประชาชนมีความคาดหวังสูง และเมื่อไม่ได้ตามคาดหวัง ก็มีการร้องเรียน/ฟ้องร้องมากขึ้น (เรียกร้องตามสิทธิ์ที่รัฐบาลบอกไว้)
จากสถิติของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)ซึ่งพอ.(พิเศษ)ผศ.นพ.กิฎาพล วัฒนะกุล ได้บรรยายที่จังหวัดขอนแก่น  ได้แสดงตัวเลขที่น่าสนใจว่า ในปีงบประมาณ 2553 (ตค.52-มีค. 53)ประชาชนมีการร้องเรียน388,493 เรื่อง  แต่เป็นเรื่องสอบถามข้อมูล 381,680 เรื่อง(98.25%) เป็นเรื่องการส่งต่อผู้ป่วย 1,550 เรื่อง(0.39%) และเป็นเรื่องความเสียหายจากการรักษาเพียง 1,978 เรื่องหรือ 0.51%ของเรื่องร้องเรียน

แต่ถ้าดูจำนวนครั้งที่ประชาชนไปรับการตรวจรักษาแล้ว ในแต่ละปี จะพบว่า ในจำนวนประชาชนทั้งหมด 63 ล้านคนนี้ ไปโรงพยาบาลทั้งสิ้น 200 ล้านครั้ง โดยแบ่งออกเป็นผู้ป่วยนอก 2.7 ครั้งต่อคนต่อปี รวมเป็น 140 ล้านครั้ง เป็นผู้ป่วยใน(นอนรักษาในโรงพยาบาล) อีก 11%ของประชาชนทั้งหมดคือ 6.9 ล้านคน/ปี ถ้าคิดว่าประชาชนนอนรพ.เฉลี่ยครั้งละ 3 วัน เป็นจำนวนที่แพทย์ต้องตรวจวันละอย่างน้อย รวมการผ่าตัดและรักษาอื่นๆวันละ 3 ครั้ง รวมแล้วเท่ากับแพทย์ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยในอีก62.1 ล้านครั้ง รวมแล้วแพทย์ต้องรับภาระตรวจรักษาผู้ป่วย 200,000,000 ครั้งต่อปี แต่เกิดการฟ้องร้องเรื่องความเสียหายแค่ ไม่ถึง 2,000 ครั้ง เท่ากับอัตราการเกิดความเสียหายเพียงไม่ถึง 1 ครั้งต่อการรักษา 100,000 ครั้ง หรือคิดเป็นเพียง 0.001%

  ทีนี้มาดูสถิติแพทย์ไทยบ้าง พบว่าประเทศไทยมีแพทย์ทั้งหมด37,598 คน ในจำนวนนี้ รับราชการในกระทรวงสาธารณสุขเพียง 12,000 คน แต่ในจำนวน 12,000 คนนี้ เป็นผู้บริหารตั้งแต่ระดับสูง กลาง ล่าง เสียเกือบ 4,000 คน ยังเหลือแพทย์ที่ทำงานดูแลรักษาผ่าตัดผู้ป่วยเพียงประมาณ 8,000 คนเทียบกับภาระการดูแลรักษาผู้ป่วยปีละ200,000,000 ครั้ง ทำให้แพทย์เหล่านี้ต้องทำงานสัปดาห์ละ 80-120 ชั่วโมง และมีเวลาในการตรวจผู้ป่วยนอก 2-4 นาที่ต่อผู้ป่วย 1 คน ความเสี่ยงต่อความผิดพลาดจากการตรวจรักษาผู้ป่วยก็คงจะเพิ่มขึ้น และความเสี่ยงต่อการที่จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจก็คงมากขึ้นเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่จะเกิดการฟ้องร้อง/ร้องเรียนมากขึ้น

  ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไต้หวัน (ไม่ต้องไปเปรียบกับประเทศทางยุโรป ที่เก็บภาษีแพงมาก) ที่มีประชาชนเพียง 23 ล้านคน แต่มีแพทย์จำนวน 50,000 คน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แพทย์ไทยต้องรับภาระมากกว่าแพทย์ไต้หวันอย่างเห็นได้ชัด
 
 จะเห็นได้ว่า คนไทยป่วยมากๆแล้วจึงไปหาหมอ ทำให้อัตราผู้ป่วยในมากกว่าไต้หวันถึง 10 เท่า ในขณะที่อัตราผู้ป่วยนอกของไต้หวันมีถึง 14 ครั้งต่อคนต่อปี มากกว่าอัตราผู้ป่วยนอกของไทยประมาณ 5 เท่า แสดงว่าเขารีบไปหาหมอ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่านอนโรงพยาบาลแพง เนื่องจากไต้หวัน เขากำหนดให้ประชาชนร่วมจ่ายเงินในการไปใช้บริการโรงพยาบาล อัตราการจ่ายเงินก็แตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ทันตกรรม หรือค่ายา ยกเว้นกลุ่มโรคที่มีอาการรุนแรง ผู้มีรายได้น้อย ผู้อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ทหารผ่านศึก และเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่ต้องจ่ายเงิน

ในขณะที่ไต้หวัน มีงบประมาณการประกันสุขภาพ 400,000 ล้านบาทสำหรับหระชาชน 23 ล้านคน แต่ประเทศไทยมี 3 กองทุน สำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพมี 120,000 ล้านบาท สำหรับประชาชน 46.9 ล้านคน ฟรีหมด แล้วยังไปจ่ายเงินเดือนบุคลากรอีกส่วนหนึ่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่ งบประมาณไม่พอใช้

  จากการสัมมนาแปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดโดยแพทยสภา ได้สรุปว่า
การที่ประชาชนไทยได้สิทธิฟรี ทำให้ไม่ดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ไปใช้บริการโรงพยาบาลเหมือนโรงเจ แต่คนจนจริงๆ อาจไม่สามารถไปรับบริการที่โรงพยาบาลได้ เพราะไม่มีค่ารถเดินทางไปโรงพยาบาล

เมื่อคนไปโรงพยาบาลมาก แพทยพยาบาลรับภาระงานมากเกินไป ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงอันตรายเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีความคาดหวังสูง ทำให้การฟ้องร้องสูง เพราะไม่เป็นไปตามความคาดหวัง และยังสมาารถร้องเรียนได้เงินชดเชยอีก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์แย่ลง

  มีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการแพทย์เกิดขึ้น 1,978 เรื่อง ในปีพ.ศ. 2553 โดยแยกเป็นเรื่องร้องเรียนจากเขตต่างๆของสปสช.ดังนี้คือ
1.เขตกรุงเทพมหานคร 61.9%
2.เขตเชียงใหม่ 8.4%
3. เขตสระบุรี 7.1%
4.เขต สงขลา 3.2%
5.เขตสุราษฎร์ธานี 3.2%
6.เขตขอนแก่น 2.6%
7. เขตพิษณุโลก 1.3%
8.เขตนครสวรรค์ 1.3%
9.เขต นครราชสีมา 1.3%

 เป็นเรื่องน่าคิดมากที่เขตกทม.มีศูนย์การแพทย์ที่มีศักยภาพสูงสุดอยู่มากกว่าเขตอื่นๆในประเทศไทย ทำไมจึงเกิดการร้องขอเงินช่วยเหลือมากกว่าเขตอื่นๆอย่างโดดเด่นเช่นนี้ น่าที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขของสปสช.จะไปศึกษาวิเคราะห์ในเชิงลึกต่อไป ว่า มันเป็นเพราะกทม. มีประชาชนอาศัยอยู่มากกว่าที่อื่น (หมายถึงคนต่างจังหวัดและต่างด้าวอพยพมาทำงาน โดยไม่มีทะเบียนบ้าน) ผู้ป่วยอาการวิกฤติถูกส่งต่อมาจากต่างจังหวัดเยอะ ทำให้มาถึงแล้ว แพทย์ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ หรือคนในกรุงเทพมีความคาดหวังสูงเกินไป

 มีการวิเคราะห์ของคณะกรรมการควบคุมมาตรฐานหน่วยบริการสาธารณสุขได้มาคุยเป็นการส่วนตัวกับผู้เขียนว่า โรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) หลายแห่งไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีบุคลากรน้อยเกินไป เช่นหมอ 1 คน ต่อผู้ป่วย 30,000 คน พยาบาล 1 คน ต่อผู้ป่วย 10,000-20,000 คน และที่PCU แห่งนี้ มีเรื่องร้องเรียนมากว่าพยาบาลไม่ยิ้มเลย


 ผู้เขียนก็อึ้งกิมกี่ไปเลย (จะหัวเราะก็มิออก จะร่ำไห้ก็มิได้!) แต่ได้ข่าวว่า ผู้บริหารจะไปจ้างประชาสัมพันธ์ให้มาทำหน้าที่ยิ้มแทนบุคลากร ! และกำลังจะออกพ.ร.บ.มาคุ้มครองผู้เสียหายและทำร้ายบุคลากรพ.ศ. ....

มีข่าวว่าพวกหมอต่อต้านกฎหมายคุ้มครองประชาชน  เพราะหมอไม่รักประชาชนหรือเปล่า? หมอไม่อยากให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองให้ปลอดภัยหรือเปล่า?

ขอตอบตามความเป็นจริงว่า หมอแทบทุกคน ส่วนใหญ่แล้วต้องรักประชาชนยิ่งกว่าตัวเองอยู่แล้ว  หมออยากรักษาประชาชนให้หายป่วย ไม่ต้องตายโดยไม่สมควรตายทุกคน เพราะถ้าหมอรักษาดี ก็จะมีชื่อเสียงขจรขจาย ถ้าหมอรักษาไม่ดี ก็จะมีชื่อเสีย เน่าเหม็นไปทุกวงการ และหมอส่วนมาก ย่อมต้องเสียสละเวลาที่ควรจะเป็นเวลาส่วนตัวกับครอบครัว ทำงานสัปดาห์ละ 80-120 ชั่วโมง เวลากินก็ไม่ได้กิน เวลานอนก็ไม่ได้นอน หวังเพียงช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปลอดภัย  โดยมีมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพกำกับอยู่แล้ว มีสภาวิชาชีพคอยลงโทษ มีกฎหมายหลายฉบับที่ลงโทษได้อยู่แล้ว
ประชาชนล่ะ จะให้กำลังใจให้หมออดทนทำงานต่อไปได้แค่ไหน?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา