ผู้เขียน หัวข้อ: ยักษ์ใหญ่รพ.ผนึกกำลัง หวั่นคนไทยรับกรรมค่ารักษาแพงขึ้น  (อ่าน 1132 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ภายใน 2-3 ปี ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยคงจะเหลือกลุ่มใหญ่เพียง 1-2 กลุ่มเท่านั้น หลังจากที่มีกระแสข่าวระบุว่าบริษัท ดุสิตเวชการ

 ซึ่งเป็นผู้บริหารกิจการกลุ่ม รพ.กรุงเทพ ได้รุกคืบเข้าไปถือหุ้นเพิ่มใน รพ.บำรุงราษฎร์ประมาณ 6% ซึ่งหากเป็นไปตามนั้นหมายความว่ากลุ่มรพ.กรุงเทพก็จะถือหุ้นในบำรุงราษฎร์ไม่ต่ำกว่า 20% และจากนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากกลุ่ม รพ.กรุงเทพจะรุกเข้าถือหุ้นเพิ่มถึงจุดที่จะต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์

 กลุ่มดุสิตเวชการ จะกลายเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ  สามารถตั้งรับสู้กับทุนนอกที่จะหลั่งไหลเข้ามาในช่วงเปิดเสรีอาเซียนได้อย่างสบาย เพราะกลุ่ม รพ.กรุงเทพได้ครอบครองฐานลูกค้าได้ทุกตลาดผ่านการเข้าไปถือหุ้นในโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ๆ ของประเทศ ทุนนอกที่จะเข้ามาบุกตลาดในเมืองไทย คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกลุ่ม รพ.กรุงเทพมีทั้งเงินและเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ไม่เว้นแม้แต่เครือข่ายในภูมิภาค

 แต่ในทางกลับกันประชาชนคนไทย อาจจะต้องเผชิญกับชะตากรรมในการเสียค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพที่แพงขึ้นหรือไม่  เพราะหากดูจากเครือข่ายและส่วนแบ่งการตลาดของกลุ่ม รพ.กรุงเทพ เมื่อแยกออกจากโรงพยาบาลในเครือข่ายของรัฐบาล แทบจะเรียกว่าเป็นรายใหญ่ที่ผูกขาดธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน

 แม้ในทางกฎหมายอาจจะตัดสินได้ยากว่า กลุ่ม รพ.กรุงเทพผูกขาดธุรกิจ เพราะปัจจุบันจำนวนเตียงของโรงพยาบาลเอกชน มีสัดส่วนเพียง  1 ใน 3 ของทั้งระบบ  ที่เหลือจะเป็นจำนวนเตียงของโรงพยาบาลรัฐทั้งหมด ซึ่งในสัดส่วนของเอกชนกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนมีจำนวนเตียงรวมทั้งหมดเพียง 4.6 พันเตียงเท่านั้น

 สอดคล้องกับมุมมองของนายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหาร กลุ่ม รพ.กรุงเทพ ยืนยันว่ากลุ่ม รพ.กรุงเทพไม่ได้ผูกขาดตลาดโรงพยาบาลในเมืองไทย เพราะมีจำนวนเตียงน้อยมากเมื่อเทียบกับภาพรวมอุตสาหกรรม และเมื่อยิ่งเปรียบเทียบกับจำนวนเตียงของโรงพยาบาลรัฐแล้ว เทียบกันไม่ติดเลย

   แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงประชาชนที่พอจะมีเงินมีทอง ก็จะเลือกเข้าไปรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนมากกว่า แม้ค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลรัฐบ้าง แต่ก็ได้รับความสะดวกสบายในการรับบริการมากกว่า

  กลุ่มดุสิตเวชการ ยึดตลาดระดับบนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ด้วยแบรนด์ของกลุ่ม รพ.กรุงเทพ พญาไท สมิติเวช บีเอ็นเอช หรืออาจจะนับรวมบำรุงราษฎร์เข้าไปเป็นหนึ่งในเครือข่ายก็ไม่ผิด  ส่วนระดับกลางที่ใช้เงินสดและประกันสังคม ก็จะใช้ รพ.เปาโล เป็นหัวหอก  หรืออาจจะนำกลุ่ม รพ.เกษมราษฎร์ เข้ามานับรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันก็ไม่ผิด เพราะอย่าลืมว่า รพ.บำรุงราษฎร์ ก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 25% ใน รพ.เกษมราษฎร์ นอกจากจากนี้กลุ่ม รพ.กรุงเทพ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โรงพยาบาลรามคำแหงสัดส่วน 38.24%

         ขณะที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีบทบาทในการกำหนดยุทธศาสตร์หลักของกลุ่ม รพ.กรุงเทพ คือ กลุ่มนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ กลุ่มนายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยาการ และนายวิชัย ทองแตง ที่เพิ่งจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 12% หลังจากที่นำกลุ่ม รพ.พญาไท เปาโล  ควบรวมเข้ามาอยู่ภายใต้ชายคาการบริหารของกลุ่ม รพ.กรุงเทพ

 เห็นได้อย่างชัดเจนว่าอาณาจักรของกลุ่ม รพ.กรุงเทพ ได้กินพื้นที่การให้บริการธุรกิจสุขภาพในประเทศ จนเรียกได้ว่าเป็น "เมดิเคิลฮับ" ของเมืองไทย  สามารถให้บริการฐานลูกค้าต่างชาติได้อย่างมีคุณภาพ และตั้งรับการเข้ามาของทุนนอกได้อย่างสบาย แต่สิ่งสำคัญที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ควรมองข้ามก็คือการดูแลฐานลูกค้าคนไทย ที่ยังต้องการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับลูกค้าต่างชาติ ภายใต้มาตรฐานราคาที่คนไทยรับได้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  14 มีนาคม 2555