ผู้เขียน หัวข้อ: ถึงไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ประชาชนได้รับความคุ้มคร  (อ่าน 3044 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ความเห็นของนายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธ์ ที่ปรึกษากฎหมายของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย แพทยสภา ที่มีต่อคำถามว่า ถ้าไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขแล้ว ประชาชนยังจะได้รับความคุ้มครองอยู่หรือไม่?

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
กฎหมายในปัจจุบัน

ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์

มาตรา ๔๒๐  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

มาตรา ๔๒๕  นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น

มาตรา ๔๒๖  นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิด อัน ลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น

มาตรา ๔๔๘  สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหาย รู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วัน

 

พระราชบัญญัติหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕

มาตรา ๔๑  ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้ หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษา พยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร  ทั้ง นี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๔๒  ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก การรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ตามมาตรา ๔๑ เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ไปแล้ว สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดได้

 

พระราชบัญญัติความ รับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙

มาตรา ๕  หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้า ที่ ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้

ถ้าการ ละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่า กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๖  ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้า หน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้

มาตรา ๗  ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้อง หน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือ ต้องร่วม รับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็น เรื่องที่ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจาร ณาคดีนั้น อยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี

ถ้าศาล พิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูก ฟ้องมิใช่ผู้ ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามา ในคดีออกไป ถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด

มาตรา ๘  ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้า หน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทด แทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้าย แรง

สิทธิเรียก ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้คำนึงถึง ระดับความร้าย แรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้อง ให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้

ถ้าการ ละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบ การดำเนินงาน ส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย

ในกรณีที่ การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมา ใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

มาตรา ๙  ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนด อายุความ หนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนนั้น แก่ผู้เสียหาย

มาตรา ๑๐  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ว่าจะ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากเจ้า หน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่ง ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สิทธิเรียก ร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับ แต่วันที่ หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๑  ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็น ว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา ๕ ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสิน ไหมทดแทนสำหรับ ความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและ พิจารณาคำขอ นั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจ ในผลการ วินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้อง ทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับ แต่วันที่ตน ได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

ให้หน่วย งานของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน หนึ่งร้อยแปด สิบวัน หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหา และอุปสรรคให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น ทราบและขอ อนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรีดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ ไม่เกินหนึ่ง ร้อยแปดสิบวัน

มาตรา ๑๒  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา ๘ หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้า หน้าที่ผู้นั้น ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐ ประกอบกับมาตรา ๘ ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ ผู้นั้น ชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด

มาตรา ๑๓  ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับ ผิดตาม มาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึง รายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย

หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไป ตามหลัก กฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม ก่อให้เกิด ความเข้าใจผิดว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำต่าง ๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ทำไปทำให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพียงใดก็จะมี การฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจำนวนนั้น ทั้งที่บางกรณีเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียง เล็กน้อยในการ ปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนั้น ยังมีการนำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นด้วย ซึ่งระบบนั้นมุ่งหมายแต่จะได้เงินครบโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม ที่จะมีต่อ แต่ละคน กรณีเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็น การบั่นทอน กำลังขวัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาในการบริหารเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้า ตัดสินใจดำเนิน งานเท่าที่ควร เพราะเกรงความรับผิดชอบที่จะเกิดแก่ตน อนึ่ง การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ยังมีวิธี การในการบริหารงานบุคคลและการดำเนินการทางวินัยกำกับดูแลอีก ส่วนหนึ่ง อันเป็นหลักประกันมิให้เจ้าหน้าที่ทำการใด ๆ โดยไม่รอบคอบอยู่แล้ว ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงาน ในหน้าที่ เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคนมิให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้ บังคับ  ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของรัฐ  จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้

 

 


ข้อพิจารณาใน พรบ.คุ้มครองฯ

๑.     การ พิจารณาค่าเสียหาย  ใช้หลักความรับผิดทางละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามเดิมทุกประการ ยกเว้นเป็นการขยายอายุความจาก 1 ปี เป็น 3 ปี

๒.     คณะ กรรมการฯ จะต้องพิจารณาในเนื้อหาของการกระทำ เพื่อประกอบการจ่ายเงินชดเชย    แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการ มิได้บังคับว่าคณะกรรมการทั้งหมดจะ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการสาธารณสุข  และตัดสินโดยการลงมติ  จะมีปัญหาในเรื่องการยอมรับ  เพราะไม่จำต้องยึกถือตามหลักวิชา******* 

๓.     ไม่ มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้กองทุนเรียกร้องหรือไล่เบี้ยจาก บุคลากรทางสาธารณสุข และหน่วยงานที่สังกัด  เมือกองทุนได้จ่าย ค่าสินไหมให้แก่ผู้เสียหายแล้ว   แต่อย่างใด

๔.     บุคลากร ต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ  ใน ฐานะเป็นคำสั่งทางปกครอง    หากไม่เห็นด้วยต้องใช้สิทธิฟ้องคดี ต่อศาลปกครอง ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้เสียหายไม่เห็นด้วย  ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเช่นกัน      ปริมาณ การฟ้องร้องจะไม่ลดลง     

๕.     บุคลากร ทางการแพทย์ยังต้องรับผิดทางอาญาเช่นเดิม ตามขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

๖.     อำนาจ การแต่งตั้งผู้ปฎิบัติงานมีครอบคลุมมากเกินไป โดยไม่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของผู้ปฎิบัติงานนั้ๆอย่างชัดเจน

๗.     โค รงสร้างทางกฎหมายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการในส่วน เกี่ยวกับการออกคำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่ง เงินค่าชดเชย  มีปัญหาทางเทคนิค 

๘.     กฎหมาย ฉบับนี้ ออกมาโดยเกินความจำเป็น สร้างความสับสนและบันทอนกำลังใจบุคคลากรด้าน สาธารณสุขและซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว   เป็นการ สร้างภาระให้กับสถานพยาบาล.

๙. อาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายว่าด้วยการเงิน การคลัง และวิธีการงบประมาณ ในกรณีให้กองทุนมีอำนาจเรียกเก็บเงินจาก หน่วยงานของรัฐ และเอกชน มาเข้ากองทุนและบริหารจัดการเองโดยเอกเทศ

สาระสำคัญของกฎหมาย เป็นการให้เจ้าหน้าที่สั่งให้จ่ายเงินช่วยเหลือ เบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑  ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕    และให้เจ้าหน้าที่มีอำ นาจสั่งให้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดของผู้ให้ บริหาร เข้าด้วยกัน             ขณะที่องค์ประกอบ ของคณะกรรมการผู้มีอำนาจพิจารณา มิได้มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสาธารณสุขทั้งหมด       ทำ ให้ไม่ได้การยอมรับจากบุคลากรสาธารณสุข และเป็นช่องทางให้เกิดการต่อสู้ทางคดีได้ง่าย  ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความคุ้มครอง (ออกคำสั่งมา  ก็ มีการไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งว่าไม่ชอบ เพราะผู้ออกคำสั่งไม่มีความรู้ความสามารถที่จะพิจารณาเรื่องการ สาธารณสุข อันเป็นกรณีเฉพาะทางวิชาชีพ ได้โดยง่าย)   พรบ.ฉบับนี้ จะสร้างปัญหาความสับสนในการบังคับใช้กฎหมาย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน


***  การอธิบายเรื่องนี้ จำเป้นต้องมีความรู้พื้นฐานในกฎหมายอย่าง น้อย 4 เรื่องคือ รัฐธรรมนูญ  /ละเมือดทางแพ่ง/ละเมิดตามพรบ.ความรับผิดทางละเมือดของเจ้าหน้าที่/เงิน ช่วยเหลือเบื้งต้น ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.*****

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เราต้องร่วมกันคัดค้าน พรบ.มหาภัยนี้