ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค - Patients are not Consumers  (อ่าน 2303 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด


By Dr.Paul Krugman ( Nobel Prize Economist 2008)
Professor of Economics and International Affairs Princeton University
(From the New York Times - April 21,2011)

จากรายงานของนิตยสารไทม์ก่อนหน้านี้ว่ารัฐสภาได้ตีกลับคณะกรรมการที่ปรึกษาอิสระด้านการใช้จ่ายซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของรัฐ ซึ่งการตีกลับนี้เป็นที่คาดการณ์ได้อยู่แล้วและถือว่าขาดความรับผิดชอบเป็นอย่างมากด้วย ดังที่ผมจะอธิบายต่อไป

สิ่งที่สะดุดตาผมในขณะที่ผมพิจารณาดูที่เหตุผลข้อโต้แย้งของ พรรครีพับลิกันที่มีต่อคณะกรรมการฯซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับความเข้าใจว่า สิ่งที่เราต้องทำตามข้อเสนอของกรรมาธิการงบประมาณของสภาอย่างแท้จริงก็คือ “ทำให้นโยบายของรัฐในการรักษาพยาบาลตอบสนองต่อทางเลือกของผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น”และนี่คือคำถามของผมว่าทำไมมันถึงกลายเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับกันได้ที่ไปกำหนดให้“ผู้ป่วย”กลายเป็น“ผู้บริโภค”ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์นั้นเคยเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบพิเศษซึ่งบางครั้งเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นความยกย่องนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกันโดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันนี้บรรดานักการเมืองหรือพวกที่อ้างว่าเป็นนักปฏิรูปมักกล่าวถึงงานทางด้านการรักษาพยาบาลในลักษณะที่ไม่ต่างไปจากการทำธุรกรรมในเชิงพาณิชย์ เช่นการซื้อรถยนต์สักคันหนึ่ง และคิดว่าสิ่งเดียวที่พวกเขายังไม่พอใจก็คืองานทางด้านการรักษาพยาบาลยังไม่เป็นธุรกิจได้เพียงพอตามที่พวกเขาต้องการเท่านั้น

#มันเกิดความผิดพลาดอะไรกับพวกเราหรือ ?

สำหรับคณะกรรมการที่ปรึกษาฯนั้น: เราต้องทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับรายจ่ายด้านสุขภาพซึ่งหมายถึงว่าเราต้องหาทางที่จะเริ่มต้นการปฏิเสธการจ่ายบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะที่นวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ระบบMedicare จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ถ้าจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับทุกๆอย่างที่แพทย์แนะนำ และมันยิ่งเป็นความจริงยิ่งขึ้นเมื่อระบบที่เหมือนการเซ็นเช็คเปล่าได้ถูกรวมเข้ากับระบบซึ่งเปิดโอกาสแก่แพทย์และรพ.(ซึ่งไม่ใช่นักบุญ)จะให้การรักษาพยาบาลที่เกินพอดีโดยมีแรงจูงใจทางด้านการเงิน

ดังนั้นคณะกรรมการที่ปรึกษาฯที่จะต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูปสุขภาพเมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมการที่ปรึกษาฯซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขจำนวนมากได้ถูกกำหนดเป้าหมายของอัตราการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายของMedicareโดยการพยายามทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพให้เท่ากับหรือต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้โดยคณะกรรมการฯจะต้องยอมและเสนอข้อแนะนำแบบเร่งด่วนที่เรียกว่า“Fast-tract”เพื่อที่จะควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งวิธีนี้จะมีผลบังคับโดยอัตโนมัติทันที ยกเว้นว่าจะถูกคัดค้านโดยรัฐสภา

ก่อนที่พวกคุณจะเริ่มต้นร้องโวยวายเกี่ยวกับ “นโยบายการแบ่งสันปันส่วน”และ “Death panels”(คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการแนะนำว่าผู้ป่วยรายใดสมควรปล่อยให้เสียชีวิต) พึงระลึกไว้เสมอว่าเราไม่ได้หมายความถึงการจำกัดสิทธิของคุณในการรับการรักษาพยาบาลที่จ่ายด้วยเงินตัวเองหรือจ่ายโดยบริษัทประกันของคุณ แต่เรากำลังพูดถึงเฉพาะประเด็นว่าเราจะใช้จ่ายเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนไปเพื่อประโยชน์อะไรบ้าง  และเมื่อย้อนไปดูถึงคำประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา(Declaration of Independence)ก็ไม่ได้ประกาศว่า “เราทุกคนมีสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุขที่มีผู้จ่ายค่าใช้จ่ายให้แล้ว”

ประเด็นอยู่ที่ว่าเมื่อต้องมีการตัดสินใจเลือกไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ค่าใช้จ่ายของรัฐเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะต้องถูกจำกัดลง

ปัจจุบันข้อเสนอของผู้แทนจากฝ่ายรีพับริกัน (House Republican) ก็คือให้รัฐบาลผลักปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆไปที่ผู้สูงอายุ โดยการเปลี่ยนระบบ Medicare ไปเป็นระบบการใช้ใบรับรองค่าใช้จ่าย(Vouchers)  ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำไปใช้กับบริษัทประกันภัยเอกชน(private insurance)ได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการใดก็ตาม ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าน่าจะดีกว่า ระบบที่ต้องผ่านการทบทวนหรือพิจารณาจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (expert review )เพราะว่ามันจะเป็นการนำเรื่องการรักษาพยาบาล(health care)เข้าไปสู่ความมหัศจรรย์ของระบบทางเลือกของผู้บริโภค(consumer choice)

ความคิดนี้ผิดพลาดอย่างไร(นอกเหนือจากข้อด้อยของระบบใบรับรองค่าใช้จ่ายที่ได้เสนอมาแล้ว:proposed vouchers) คำตอบหนึ่งก็คือมันจะไม่ได้ผล  “การรักษาพยาบาลที่ใช้ผู้บริโภคเป็นหลัก (Consumer-based Medicine) ได้กลายเป็นความล้มเหลวในทุกที่ที่มีการลองใช้ ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจนก็คือ การนำระบบMedicare Advantage มาใช้แทนระบบ Medicare+Choice ซึ่งคาดว่าจะช่วยประหยัดงบประมาณแต่สุดท้ายก็จบลงด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบดั้งเดิมของ Medicare (Traditional Medicare)

ประเทศสหรัฐอเมริกา มีระบบการรักษาพยาบาลที่ถูกผลักดันจากผู้บริโภคมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว มีค่าใช้จ่ายสูงสุดแต่คุณภาพของการดูแลไม่ได้ดีไปกว่าระบบที่ถูกกว่าในประเทศอื่นๆ

แต่ความเป็นจริงที่ฝ่ายรีพับลิกันกำลังต้องการก็คือกำลังผูกติดระบบสุขภาพหรือแม้แต่ชีวิตของเราไว้กับระบบที่ล้มเหลวไปเรียบร้อยแล้วซึ่งก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความผิดพลาดนี้

ตามที่ผมได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าถือเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์กับความเห็นที่ว่า “คนไข้คือผู้บริโภค”และว่า “การรักษาพยาบาลคือการทำธุรกรรมทางการเงินธรรมดาๆ”

ถึงที่สุดแล้ว การรักษาพยาบาลเป็นอะไรที่ต้องมีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเกี่ยวกับความเป็นความตาย การจะเกิดการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเช่นว่านั้นได้ต้องอาศัยภูมิความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างมากมายมหาศาล นอกเหนือจากนั้นก็คือการตัดสินใจดังกล่าวต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขพิเศษเช่นผู้ป่วยอยู่ในภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้(Incapacitate) หรืออยู่ในภาวะที่มีความเครียดอย่างรุนแรง(severe stress)หรือต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนทันทีทันใด โดยไม่มีเวลาที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยนกันหรือแม้แต่มีเวลาที่จะหาทางเลือกอื่นเพื่อการเปรียบเทียบเลย(let alone comparison shopping)

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่เราต้องมี “Medical Ethics” “หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณทางการแพทย์” ทำไมแพทย์ถึงต้องมีวิถีประเพณีปฏิบัติที่ดูแล้วเป็นพิเศษ เป็นที่คาดหวัง ในมาตรฐานที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆโดยเฉลี่ย และนั่นคือเหตุผลที่เรามี รายการTV ที่เกี่ยวกับ แพทย์วีรบุรุษ(Heroic Doctor)แต่ไม่มีใครทำรายการ TV เกี่ยวกับ ผู้จัดการวีรบุรุษ (Heroic middle Managers)

แนวความคิดที่ว่าสิ่งต่างๆทั้งหมดนี้สามารถทดแทนได้ด้วย “เงิน” โดยคิดว่า “แพทย์”เป็นเพียง “ผู้ขายบริการ”(selling service) หรือ “ผู้ให้บริการ”(provider) การรักษาพยาบาล ให้กับ “ผู้ป่วย”ที่เป็น “ผู้บริโภค”(Consumers) แล้วละก็ นอกจากจะถือว่าเป็นความคิดที่แสนจะแย่และพิกลพิการแล้ว การใช้คำพูดในลักษณะนี้บ่อยๆครั้ง ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความไม่ถูกต้องเป็นอย่างมากไม่เฉพาะแต่ประเด็นที่กำลังถกเถียงกัน แต่ยังชี้ให้เห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงได้เกิดขึ้นกับคุณค่าทางสังคมของเราแล้ว…

แปลและเรียบเรียงโดย - Dr. Sue Kantha. Ph.D (University of Florida)
นพ. วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี วท.บ.,พบ., วว.(ศัลยศาสตร์)
นบ.(เกียรตินิยมอันดับ2), บ.ปค.(บัณฑิตทางกฎหมายปกครอง), ป.วิชาว่าความ สภาทนายความ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มีนาคม 2012, 23:15:46 โดย story »

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
Re: ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค - Patients are not Consumers
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 11 มีนาคม 2012, 02:00:49 »
ผมเห็นด้วยว่าบทความที่ส่งมามีเนื้อหาที่น่าสนใจ และเป็นมุมมองที่คงมีประเด็นที่คนจำนวนหนึ่งเห็นด้วย (ว่า Patients are not consumers)  ในขณะที่คนอีกจำนวนหนึ่ง คงเห็นว่า ก็มีอยู่หลายมุมที่ระบบการดูแลสุขภาพ ควรมีองค์ประกอบของ "Consumer-driven" อยู่ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงบอกว่าเป็นเรื่องของวิชาชีพเป็นผู้กำหนด

ส่วนบริบทที่แตกต่างกันระหว่างประเทศของเรา กับสหรัฐอเมริกา นั่นย่อมเป็นอุปสรรคต่อการนำสาระหลายส่วนในบทความดังกล่าวมาอ้างอิงได้โดยตรง

อย่างไรก็ตาม ในมุมของการจะนำแนวคิด "คุ้มครองผู้บริโภค" มาใช้ในเรื่องการดูแลรักษาพยาบาล และบริการทางการแพทย์อื่นๆ มีประเด็นที่ควรพิจารณาให้ครบถ้วน อันมาจากธรรมชาติของเรื่องนี้ตามหลักวิชาการสำคัญอยู่อย่างน้อย 3 ประเด็นครับ

1) การรักษาพยาบาลต่างจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการอื่นๆ ในองค์ประกอบสำคัญที่เรียกว่า "Co-production"  ซึ่งเช่นเดียวกับลักษณะความเป็นบริการอื่นๆ ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตหรืออีกนัยหนึ่งกระบวนการรักษาพยาบาลโดยตรง  แต่ในการรักษาพยาบาลมีความพิเศษประการสำคัญ คือผลสัมฤทธิ์ของการรักษา ขึ้นกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก  หรือที่ทางแพทย์เราใช้คำว่า "Compliance" หรือ "Self-care"  ซึ่งจะแตกต่างมากจากสิ่งที่เกิดขึ้นในธุรกิจบริการอื่นๆ   จึงเป็นเรื่องซับซ้อนยิ่งขึ้นที่จะระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากฝั่งผู้ให้บริการ หรือฝั่งผู้รับบริการ

2) ตรงกันข้ามกับประเด็นแรก  การรักษาพยาบาลที่ต้องมีการดำเนินการจริงๆ นั้นผู้ป่วยมักไม่ได้เป็นผู้กำหนดหรือสามารถตัดสินใจได้โดยลำพัง ไม่ใช่ทุกอย่างจะดำเนินการตามอำนาจเงินของผู้ซื้อ  แม้อยากได้แต่แพทย์ก็อาจไม่ดำเนินการให้ เพราะขัดต่อหลักวิชาการหรือจริยธรรม    เช่นเดียวกันในอีกมุมหนึ่งที่แพทย์อาจทำอะไรที่เกินจำเป็น หรือไม่ความเหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยก็ได้ หากเป็นผู้ที่ขาดจริยธรรม หรือขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องดังกล่าว  เพราะผู้ป่วยมีความรู้และ Insight ในความซับซ้อนของโรค น้อยกว่าแพทย์มาก

3) ความซับซ้อนของการรักษาพยาบาลทำให้เมื่อเกิดความเสียหายกับผู้ป่วยขึ้น ความเสียหายดังกล่าวอาจเกิดจากตัวโรคที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยเอง  อาจเกิดจากการปฏิบัติของผู้ป่วย  หรือจากการรักษาพยาบาลที่ได้รับก็ได้   หากเกิดจากการรักษาพยาบาล อาจเกิดจากข้อผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนของบุคคลหรือไม่ก็ได้  ยิ่งไปกว่านั้น ความคลาดเคลื่อนของการปฏิบัติของบุคคล อาจไม่ได้เป็นความผิดของเขาก็ได้ ด้วยข้อจำกัดของระบบบริการที่แวดล้อมการทำงานอื่นๆ

ด้วยเหตุข้างต้น การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวโยงกับ "การคุ้มครองผู้บริโภค" ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วๆไปกับสินค้าหรือบริการอื่นๆ จึงไม่น่าจะสามารถใช้กับใช้ในเรื่อง "การคุ้มครองผู้ป่วย" ได้โดยตรง แต่ก็คงไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องมีการคุ้มครอง ครับ   ทางออกที่ดีคงจะมีอยู่แน่นอน

จิรุตม์
Jiruth Sriratanaban, M.D., Ph.D.
Associate Professor
Department of Preventive and Social Medicine
Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
Bangkok 10330, THAILAND