ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการยัน สปส.คำนวณDRGรักษาโรคร้ายผิดพลาดหลอกผู้ประกันตนจ่ายแพงรับบริการห่วย  (อ่าน 1082 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
นักวิชาการ ชี้ สนับสนุนวิธีจ่ายเงินผู้ป่วยในสปส.แต่ยันการจ่าย RW 15,000 บ.ไม่ถูกต้อง คำนวณผิดพลาด ไม่แยกสิทธิผู้ป่วย ย้ำ ชัดสปส.หลอกและผู้ประกันตนเสียเปรียบ ซื้อของแบบเดียวกับบัตรทองและข้าราชการแต่จ่ายแพงกว่า
       
       ดร.นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า การที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ปรับระบบการจ่ายเงินค่ารักษาโรคร้ายแรงจากเหมาจ่ายรายหัวเป็นการจ่ายตามกลุ่มโรคร่วม (DRG) นั้น เป็นเรื่องที่ดี เห็นด้วยและสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างยิ่ง ซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องกว่า 10 ปีของฝ่ายวิชาการและภาคประชาชนที่ต้องการให้ สปส.ปรับวิธีการจ่ายเงิน เพื่อแก้ปัญหา รพ.ไม่ยอมรักษาผู้ป่วย เพราะต้องการประหยัดเงินที่ได้จากงบเหมาจ่ายรายหัวมาทั้งก้อน แต่การที่ สปส.ใช้อัตราจ่าย RW ละ 15,000 บาท ซึ่งสูงกว่าอัตราจ่ายของสวัสดิการข้าราชการและบัตรทอง ทั้งที่ได้รับบริการเหมือนกันแต่สปส.กลับจ่ายแพงกว่า แถมได้รับบริการด้อยกว่าข้าราชการ ส่งผลให้ต้องควักเงินผู้ประกันตนไปจ่ายให้โรงพยาบาลฟรีๆ โดยไม่จำเป็นกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปีนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเอื้อประโยชน์รพ.มากกว่าผู้ประกันตน ประการสำคัญ
       
       ดร.นพ.พงศธร กล่าวต่อว่า วิธีการที่ สปส.ใช้คำนวณต้นทุนนั้นไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีข้อผิดพลาด คือ การคำนวณต้นทุนโดยไม่ได้แยกประเภทผู้ป่วยตามสิทธิต่างๆ ว่า เป็นผู้ป่วยจ่ายเงินเอง สิทธิข้าราชการ บัตรทอง หรือประกันสังคม เพราะแต่ละสิทธิมีความแตกต่างกันในแง่การจ่ายเงินให้รพ. งบประมาณต่อหัว รวมเงินเดือนหรือไม่รวม ขณะที่การคำนวณต้นทุนโดยการแบ่งสัดส่วนน้ำหนักกิจกรรมบริการทางการแพทย์ระหว่างผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในนั้น สปส.ก็คำนวณจากฐานข้อมูลที่ไม่เพียงพอ โดยข้อมูลผู้ป่วยนอก ใช้ข้อมูลต้นทุนรวมของผู้ป่วยทั้งหมดที่มารับบริการที่ รพ.เท่านั้น ไม่ได้คิดผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่คลินิกเครือข่ายด้วย ทำให้ต้นทุนผู้ป่วยนอกสูง สิ่งที่ควรจะเป็น คือ ต้องใช้ข้อมูลผู้ป่วยนอกที่มาใช้บริการที่คลินิกเครือข่ายของ รพ.มาคิดรวมด้วย เพราะนี่เป็นจุดแข็งของ สปส.ที่สามารถไปใช้บริการที่คลินิกเอกชนที่เป็นเครือข่ายของ รพ.ที่เข้าร่วม สปส.ได้ด้วย ประการสำคัญ ในส่วนการคำนวณจากรพ.เอกชน แม้สปส.จะใช้ข้อมูลจาก รพ.เอกชน 46 แห่ง เป็นตัวแทนของ รพ.เอกชน 92 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งถือเป็นครึ่งหนึ่ง แต่กลับไปใช้ราคาอ้างอิงจาก รพ.เอกชนเพียงแห่งเดียวมาคิดคำนวณ และยังเป็น รพ.เอกชนที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าต้องเป็นรพ.เอกชนระดับไฮคลาส ซึ่งทุกคนตระหนักดีว่ามีเป้าหมายเพื่อการแสวงหากำไรเป็นหลัก ดังนั้น ค่ารักษาพยาบาลย่อมมีราคาแพงกว่าแน่นอน สิ่งที่ถูกต้อง คือ จะต้องใช้ข้อมูลราคาเฉลี่ยของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้จากทุกโรงพยาบาลอยู่แล้ว
       
       “ดังนั้น เมื่อไม่ได้แยกประเภทของผู้ป่วย ไม่ได้เอาข้อมูลการใช้บริการที่คลินิกเครือข่ายมาคิด และการใช้ข้อมูลราคาอ้างอิงจากรพ.เอกชนระดับไฮคลาสที่มีราคาสูง แล้วนำมาคิดรวมกันทั้งหมด โดยเอาค่าใช้จ่ายของทั้ง รพ.เช่น ค่าตอบแทนแพทย์ ค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ไปหารกับผู้ป่วยทุกสิทธิ์เท่ากัน จึงทำให้ค่าที่ได้ออกมาผิดพลาด ทำให้ต้นทุนที่ได้ไม่ใช่ต้นทุนที่แท้จริงของผู้ป่วยประกันสังคม และเป็นต้นทุนที่มากเกินความเป็นจริงด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการที่ สปส.บอกว่า RW เพิ่มมากหมายถึงการกันเงินของโรงพยาบาลไว้มาก ก็สะท้อนถึงความไม่เข้าใจ เพราะต้นทุนกับการจัดสรรเงินให้รพ.ไม่เกี่ยวกัน งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของผู้ประกันตนเพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว ถึง 17.1% ขณะที่มีสิทธิประโยชน์เพิ่มไม่กี่อย่าง รวมกับการเปลี่ยนวิธีจ่ายเงินเป็นแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ทำให้ผู้ประกันตนต้องเสียเงินเพิ่มอีก กว่า 4,000 ล้านบาท โดยไม่มีอะไรการันตีว่าได้สิ่งที่ดีกว่าเลย ผู้ประกันตน 10 ล้านคน ควรตรวจสอบการ สปส.ที่ใช้เงินของผู้ประกันตนอย่างไม่คุ้มค่าด้วย” ดร.นพ.พงศธร กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 กุมภาพันธ์ 2555