ผู้เขียน หัวข้อ: สัมมนาเรื่องพ.ร.บ.ผู้เสียหายนวุฒิสภา  (อ่าน 2061 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ได้ไปร่วมสัมมนาเรื่อง "ผลกระทบของพ.ร.บ.ค้มครองผู้เสียหาย ฯและการเตรียมความพร้อม" จัดโดยคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา
สรุปการประชุมสั้นๆดังนี้

1.เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.นี้

2.มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ ได้แสดงความเห็นว่า กฎหมายนี้ ควรให้แพทย์ที่จะถูกกระทบมากที่สุด ร่วมร่างด้วย หรือตอนนี้ก็ควรเอามาให้แพทย์แก้ด้วย (แปลว่าน่าจะทำประาพิจารณ์ คือรับฟังเสียงแพทย์ผู้ปฏิบัติงานที่จะถูกกระทบด้วย)

3. ผู้อำนวยการรพ.รามาบอกว่า จะเก็บเงินจากรพ.ก็ได้ รามามีจ่าย คิดซะว่าจ่ายแทนลูกศิษย์ที่ออกไปทำงานทั่วประเทศ

4.โรงพยาบาลอื่นๆบอกว่า ยังไม่ได้เตรียมตัวรับพ.ร.บ.นี้

5.รพ.เอกชนบอกว่า เขารับผิดชอบผู้ป่วยของเขาเองได้ ไม่ต้องลากเขาไปจ่ายเงินเข้ากองทุนด้วย

6.นายสรรค์ชัย ชญานิน ที่ปรึกษากฎหมาย คณะกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภาได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจดังนี้
   6.1 พ.ร.บ.นี้ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ม. 29 ที่ว่าการเสนอกฎหมายต้องคำนึงถึงหลักสัดส่วนให้พอสมควรแก่เหตุ คือเสนอกฎหมายเท่าที่จำเป็น กฎหมายอ้างว่าจะสร้างความสัมพันธ์มี่ดี แต่ในเมื่อบุคลากรทางการแพทย์ มีความไม่สบายใจแล้ว จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยได้อย่างไร ฝ่ายหนึ่งตั้งใจรักษา แต่มีแนวโน้มจะถูกกล่าวโทษ
   6.2 แล้วเงินตามพ.ร.บ.ม.41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เคยมีอยู่ รัฐบาลเอาไปทำอะไร ทำไมจึงมาเรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาล ถือว่ารัฐบาลมาเรียกเก็บภาษีจากหน่วยงานของรัฐบาลเอง เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กระทรวงการคลังต้องมีหน้าที่จ่ายเงินแทนโรงพยาบาลของรัฐ
   6.3 เจตนารมณ์เขียนว่าต้องการให้ประชาชนได้ค่าชดเชยเร็ว แต่ดูแล้วจะมีกระบวนการยืดยาวหลายขั้นตอนกว่า ม.41
   6.4 เขียนว่าต้องการลดคดีฟ้องร้อง แต่ผลน่าจะเป็นตรงกันข้าม
   6.5 เป็นการผลักภาระของรัฐบาลให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งๆที่พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ก็มีอยู่แล้วและสามารถใช้ได้ ไม่ต้องมาร่างพ.ร.บ.ใหม่
   6.6 การเขียนพ.ร.บ.นี้มีวัตถุประสงค์แอบแฝงเรื่องผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มหรือเป ล่า?
   6.7การให้บริการของเอกชน เป็นเหมือนสัญญาการรับจ้างทำของ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลเลย ต้องให้ภาคเอกชนเขารับผิดชอบจัดการของเขาเอง รัฐบาลไม่ต้องออกกม.ไปบังคับเขาเลย( น่าเอาไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ)  
   6.8 ต้องชั่งประโยขน์สาธารณะและเอกชน
   6.9 การออกกฎหมายนี้ ผู้ที่คิดว่าจะได้รับผลกระทบสามารถไปร้องทุกข์ได้ตามมาตรา 59 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีเจตนารมณ์ ให้บุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากการกระทำของบุคคลใดหรือหน่วยงานของ รัฐย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องร้องทุกข์ เพื่อขอให้มีการทบทวนการกระทำหรือคำสั่งใดๆของเจ้าพนักงานของรัฐ

มีแพทย์หลายคนที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.นี้ โดยเฉพาะในภาครัฐบาลกระทรวงสาธารณสุข ที่บอกว่า เขาถูกบังคับให้ทำงานหนัก ภาระเยอะมากๆๆๆโดยเฉพาะหลังนโยบาย 30 บาท แต่ขาดแคลนสิ่งจำเป็น 3 อย่าง คือ คน เงิน ของ(ยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยี) แทนที่รัฐบาลจะพัฒนาสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาประชาชนมีมาตรฐานและประชาชนปลอดภัย แต่รัฐบาลกลับทำสิ่งตรงข้าม คือปล่อยให้ขาดคนทำงาน ขาดเงินซื้อยา ขาดเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีสภาพดี เพื่อป้องกันความเสียหาย แต่รัฐบาลกลับปล่อยให้เกิดความเสียหายเพราะความขาดแตลน แล้วออกกม.มาเอาโทษเจ้าหน้าที่ (เห็นว่า จะเริ่มมาตรการตรวจละเอียด และ defensive medicine กันมากขึ้น หรือลาออกจากวิชาชีพนี้) เป็นรัฐบาลที่สมควรจะไว้วางใจหรือเปล่า
 
นพ.อนันต์ อริยชัยพานิช ประธานกรรมาธิการสาธารณสุช วุฒิสภา บอกว่า วุฒิสภาเป็นหน่วยสุดท้าย ที่จะผ่านกฎหมาย และบอกว่า วันนี้ดีใจที่มีคนมาช่วยแบ่งปันความเห็นและความรู้มากมาย Cry Cry
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กรกฎาคม 2010, 14:43:13 โดย somnuk »

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
Re: สัมมนาเรื่องพ.ร.บ.ผู้เสียหายนวุฒิสภา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2010, 15:50:14 »
แล้ววุฒิสภาจะช่วยพวกเราหรือเปล่า