ผู้เขียน หัวข้อ: ทำความเข้าใจพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  (อ่าน 2120 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
เพื่อความเข้าใจ ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
http://www.thaitrl.org/
ก.สธ.เพื่อปฏิรูปและพัฒนาการสาธารณสุขไทย
กลุ่มเข้าชื่อเสนอกฎหมายเพื่อปฏิรูประบบสาธารณสุข
 
ขณะนี้ มีผู้เสนอร่างพ.ร.บ.นี้ เข้าระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นเรื่องด่วน ตามการนำส่งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนหรือวาระที่ 1 ของการเสนอกฎหมาย ซึ่งถ้าเสียงสส.ส่วนใหญ่ในสภาเห็นชอบในหลักการของกฎหมาย ก็จะมีการเสนอตั้งกรรมาธิการร่วม เข้าไปเป็นวาระ 2 กรรมาธิการก็จะไปแก้ไขรายละเอียดในแต่ละมาตรา ตัดทอนหรือเพิ่มเติม แล้วเสนอร่างเดียวที่แก้ไขแล้วนี้ เข้าสู่การพิจารณาอีกเป็นวาระที่ 3 ถ้าสส.ส่วนใหญ่ลงมติเห็นชอบ ก็จะเสนอเข้าสู่วุฒิสภาต่อไป
ถ้าวุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทน ก็จะนำทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไทย ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป  ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา รัฐสภาต้องมาลงมติใหม่ด้วยเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม
 ส่วนในกรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบก็จะส่งคืนไปยังสภาผู้แทน ถ้าวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ก็ให้ส่งไปยังสภาผู้แทนพิจารณาใหม่ ถ้าสภาผู้แทนเห็นชอบด้วย ก็ดำเนินการต่อไปเช่นเดิม หรืออาจตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อแก้ไขใหม่ (จากทั้งสองสภา) แล้วส่งคืนให้สภาผู้แทน
ถ้าสภาผู้แทน เห็นชอบกับร่างที่แก้ไขใหม่ ก็ดำเนินการต่อไปเช่นเดิม
แต่ถ้าสภาผู้แทนยืนยันร่างเดิม ก็ให้ถือว่าร่างพ.ร.บ.นั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว

สรุป ตอนนี้ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายฯนี้ อยู่ในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งคงจะผ่านขั้นตอนนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลที่มีเสียงข้างมาก ได้เสนอร่างพ.ร.บ.ของตนเข้าไปด้วย  และการที่รัฐมนตรีสธ.บอกว่า ให้พวกแพทย์รอไปแก้ไขในวาระ 2 คือ เป็นกรรมาธิการร่วมนั้น คงแก้ไม่ได้มากมายอะไร เพราะมีสส. และพวกที่เสนอพ.ร.บ.มีสิทธิเป็นกรรมาธิการอยู่แล้ว

ผู้ที่จะมีผลกระทบจึงต้องรีบตัดไฟแต่ต้นลม คือต้องขอให้ถอนออกมาจากระเบียบวาระก่อน
ส่วนการจะเอามาทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนผู้ที่จะมีส่วนได้ และส่วนเสียหรือไม่ หรือยุติการออกพ.ร.บ.นี้ เนื่องจากมีพ.ร.บ.อื่นที่เป็นทางออกอยู่แล้ว ก็เป็นเรื่องที่จะต้องฟังเหตุผลจากผู้มีส่วนได้และส่วนเสียทุกภาคส่วนต่อไป

 คำถาม ใครบ้างจะมีผลกระทบจากพ.ร.บ.นี้?
1.ประชาชนทั่วไป
2.ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล/โรงพยาบาล/คลินิก/สถานกายภาพบำบัด และสถานประกอบโรคศิลปะทั้งปวง
3.ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข
4.รัฐบาลผู้จ่ายงบประมาณให้โรงพยาบาลของรัฐ
5. พ.ร.บ.นี้จะช่วยลดการฟ้องร้องจริงหรือ?
6. ถ้าไม่มีพ.ร.บ.นี้ ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่?

คำตอบ โดยจะขออธิบายรายละเอียดดังนี้คือ
1.ประชาชน  จะเสียอะไรบ้าง
1.1 ประชาชนจะขาดโอกาสได้รับการชดเชย ถ้าความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนั้น เป็นไปตามมาตรา 6 (1,2,และ3) 
คำอธิบาย ความเสียหายที่กำหนดไว้ตามมาตรานี้ ได้แก่ โรคแทรกซ้อนหรืออาการอันไม่พึงประสงค์ ที่เกิดขึ้นจากการรักษาตามมาตรฐาน หรือความเสียหายที่ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามปกติ เช่น แพ้ยาจนใบหน้าเสียโฉมจาก อาการอันไม่พึงประสงชองยา ถ้าคิดตรงไปตรงมาตามม.6 ประชาชนจะไม่ได้รับการช่วยเหลือ ใบหน้าเสียโฉม ก็ จะได้รับความช่วยเหลือ โดยเจ้าหน้าที่ไม่ผิด ก็จะไม่ถูกไล่เบี้ย
 ฉะนั้นการอ้างว่าประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือโดยไม่พิสูจน์ถูกผิดนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
และการจะตั้งอนุกรรมการหรือกรรมการที่ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทางการแพทย์ มาตัดสินว่า ความเสียหายนั้นไม่อยู่ในมาตรา 6 จึงไม่สามารถทำได้ เพราะเอาคนที่ไม่มีความรู้มาชี้ขาดกับการประกอบวิชาชีพ ย่อมเป็นการทำลายมาตรฐานวิชาชีพแน่นอน และการอ้างว่าไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดนั้นจึงไม่เป็นความจริงแน่นอน
และประชาชนที่เสียหายและผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือหรือชดเชยตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ เสียหายนี้ จึงเป็นผู้เสียหายจากความผิดพลาดหรือผิดมาตรฐานจากการรักษาสถานเดียวเท่านั้น
ซึ่งพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 สามารถให้การชดเชยประชาชนที่ได้รับความเสียหายได้ และถือว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานสามารถไปไล่เบี้ยเอากับผู้กระทำผิดได้
ส่วนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯนี้ ไม่มีกำหนดตรงไหนเลยว่าห้ามไล่เบี้ย  จึงนับว่าพ.ร.บ.นี้ ไม่ได้คุ้มครองบุคลากรแพทย์และสาธารณสุขตามมาตรา 80(2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550
1.2 ประชาชนจะเสียโอกาสในการรักษา เนื่องจากคณะกรรมการมีอำนาจเรียกเอกสารและวัตถุพยานต่างๆจากโรงพยาบาลหรือสถานบริการต่างๆได้ ที่ใดไม่ส่งก็มีโทษทั้งปรับและจำคุก 6 เดือน
ฉะนั้นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพ ก็คงไม่กล้าเสี่ยงที่จะรักษาผู้ป่วยหนักที่มีความเสี่ยงว่าจะตายสูง หรือผู้ป่วยที่ตนเองไม่เชี่ยวชาญ ก็คงจะต้องส่งไปรักษาที่อื่น ประชาชนก็อาจจะเสียโอกาสในการรอดชีวิต  (มีผู้ถามว่า แล้วทำอย่างนี้ ถือว่าแพทย์มีจริยธรรมหรือเปล่า ก็ต้องตอบว่า ทำตามที่พระพุทธเจ้าสอน คือพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา ในกรณีที่ส่งผู้ป่วยไปก็คืออุเบกขา เพราะคิดว่า ช่วยไม่ได้แล้ว ก็ต้องทำใจ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการโหดร้ายแก่ตัวเอง) 
1.3 ประชาชนจะได้รับการรักษาด้วยงบประมาณจำกัดจำเขี่ย เพราะสำนักงบประมาณบอกว่าให้โรงพยาบาลรับภาระจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเอง โรงพยาบาลมีภาระต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนเพิ่มจากงบประมาณที่ขาดดุนอยู่แล้ว ฉะนั้นโรงพยาบาลคงต้องประหยัดเงินค่ายา และค่ารักษา ประชาชนก็จะได้รับยาและการบริการที่ด้อยค่าลง
ส่วนในโรงพยาบาลเอกชน ที่ต้องถูกบังคับจ่ายเงินสมทบนั้น ก็คงต้องเอาไปเก็บเพิ่มจากประชาชนแน่นอน ประชาชนที่ไปโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
3. ผู้ประกอบวิชาชีพจะเสียอะไร ก็เสียความมั่นใจในการประกอบวิชาชีพ เพราะไม่รู้ว่า จะทำตามมาตรฐานสภาวิชาชีพ หรือจะทำตามมาตรฐานคณะกรรมการ 
เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพ ก็คงต้องปรับตัวใหม่ เพื่อรองรับความเสี่ยงมากขึ้น ต้องคิดว่าทำอย่างไรเมื่อความเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหา/กล่าวโทษเพิ่มขึ้น
 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข ก็คงต้องปรับตัวดังนี้

3.1 ประกอบวิชาชีพด้วยความระมัดระวังเกินความจำเป็น เช่น ผู้ป่วยปวดหัวก็คงต้องตรวจละเอียด ส่งทำ x-rays, EEG, CT, MRI ,ultrasound ฯลฯ  สส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมหรือศัลยกรรมประสาท หรือแนะนำให้ไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เพราะถือเป็นสุดยอดโรงพยาบาลในประเทศไทย

3.2 ประกอบวิชาชีพโดยยึดหลักพรหมวิหารมากขึ้น คือเมตตา กรุณาแต่พอดี ถ้าไม่เชี่ยวชาญก็ต้องมีมุทิตา คือส่งผู้ป่วยไปที่อื่นเพราะหวังว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาดีกว่าเรารักษา หรือยึดหลักอุเบกขา คือต้องทำใจว่าช่วยไม่ได้แล้ว หมดความสามารถแล้ว ก็ต้องส่งไปที่อื่น

4. รัฐบาลนอกจากจะต้องจัดหางบประมาณมารักษาประชาชนแล้ว ก็ต้องจัดหาเงินมาคอยจ่ายสมทบกองทุนตามพ.ร.บ.นี้ แล้วรัฐบาลจะทำอย่างไร? ขึ้นอัตราภาษีทุกชนิด หรือไปกู้เงินมาอีก ประชาชนนั่นเองต้องรับกรรม คือต้องแบกภาษีอาน หรือแบกหนี้ไปชั่วลูกหลาน


5. การมีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ จะลดการฟ้องร้องจริงหรือ
ต้องตอบว่าไม่จริง เพราะต้องพิสูจน์ว่าผิดก่อน จึงจะได้เงิน เมื่อประชาชนได้รับเงินแล้ว ก็จะรู้ว่าไม่เข้าข่ายมาตรา6   คือมีความผิดเกิดขึ้น ประชาชนก็จะมีเงินทุนไปฟ้องศาลต่อไป
6. ถ้าไม่มีพ.ร.บ.นี้ประชาชนจะได้รับความคุ้มครอง หรือไม่?
 
ตอบ มีพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539   และยังมี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545    
และยังมีอีก 2 ศาลคือ ศาลแพ่ง  ศาลอาญา
 ในปัจจุบันนี้   ถ้าไปดูสถิติการร้องขอเงินช่วยเหลือตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ประชาชนไปใช้บริการปีละ 200,000,000 ครั้ง แต่มีการร้องขอเงินช่วยเหลือเพียง ไม่ถึง 2,000 ราย คิดเป็นอัตราการผิดพลาดจากการทำงานเพียง 1 ใน100,000 ครัง หรือเพียง 0.001% ในขณะที่การรักษาอีก 99.999 % ไม่ผิดมาตรฐาน
 
ประชาชนต้องพิจารณาว่า จำเป็นที่จะมีกฎหมายนี้หรือไม่?

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำความเข้าใจพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2010, 11:53:47 »
สรุปสุดท้าย พ.ร.บ.นี้ รัฐบาลอภิสิทธิ์จะไปเอาเงินจากมาตรา 41 ของพ.
ร.บ.หลัก ประกันมา แล้วไปเก็บเงินประชาชนจากโรงพยาบาลต่างๆมาแทน

1.ประชาชนจะไม่ได้รับการช่วยเหลือยกเว้น มีความผิดเกิดขึ้นตามม. 6 (1) และ (2) และ (3)
2.ประชาชนเสียโอกาสในการรักษาทันที เพระจะถูกส่งไปรักษาที่อื่น
3 รพ.ต้องจ่ายเงินสมทบ ก็จะขาดเงินในการซื้อยาและเวชภัณฑ์ ประชาชนก็ยิ่งได้การรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน
 ส่วนประชาชนที่ไปโรงพยาบาลเอกชนก็จะต้องจ่ายเงินแพงขึ้น
4.บุคลากรก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ก็ต้องหาทางป้องกันความเสี่ยง โดยการตรวจพิเศษมากขึ้น (Over investigation) หรือส่งไปรักษาที่อื่น ประชาชนก็อาจจะเสียโอกาสที่จะรอดชีวิต
5. พ.ร.บ.นี้จะลดการฟ้องร้องได้ไหม? ตอบ ไม่ได้ เพราะถ้าเริ่มจะมีการเจรจาเรื่องจำนวนเงิน ประชาชนก็จะรู้ว่า เกิดความผิดแน่นอน ก็จะไม่ตกลงเอาเงิน ลองเสี่ยงไปฟ้องศาล อาจจะเรียกเงินได้เยอะกว่า
6. ถ้าไม่มีพ.ร.บ.นี้ ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่? ได้แน่นอน มีทั้งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ศาลอีกทั้งศาลแพ่ง ศาลอาญา
 ส่วนบุคลากรนั้นไม่มีพ.ร.บ.ไหนให้ความคุ้มครองตามมาตรา 80(2)ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเลย